“ไทรอัมพ์” ยันไม่เกี่ยวข้อง “บอดี้ แฟชั่น” ปลดพนักงาน 800คน

01 ส.ค. 2563 | 05:31 น.

ไทรอัมพ์ ยันไม่เกี่ยวข้อง “บอดี้แฟชั่นฯ” สั่งปลดคนงานกว่า 800 คน ที่นครสวรรค์ ย้ำชุดชั้นใน Triumph ไม่มีฐานผลิตในไทย หลังปรับห่วงโซ่การผลิตทั่วโลก ส่งมอบเครือข่ายการผลิต “บอดี้ แฟชั่น" ในไทยตั้งแต่ปี 59

   บริษัท ไทรอัมพ์ ยันไม่เกี่ยว “บริษัทบอดี้แฟชั่นฯ” สั่งปลดคนงานกว่า 800 ชีวิต กะทันหัน ย้ำ ชุดชั้นใน Triumph ไม่มีฐานผลิตในไทย หลังปรับห่วงโซ่การผลิตทั่วโลก ส่งมอบเครือข่ายการผลิต “Body Fashion Thailand” (BFT) ในไทยตั้งแต่ปี 59 แล้ว

    กรณีพนักงานบริษัท บอดี้ แฟชั่น (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งเป็นผู้ผลิตเสื้อชั้นในและชุดว่ายน้ำยี่ห้อดังในพื้นที่ อ.เมือง จ.นครสวรรค์ ถูกเลิกจ้างกะทันหันกว่า 800 ชีวิต ต้องตกงานทันทีตั้งแต่วานนี้ (31 ก.ค.)

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

กสร. สั่งช่วยลูกจ้างบอดี้ แฟชั่น นครสวรรค์

พิษโควิด โรงงานในจังหวัดนครสวรรค์เลิกจ้าง 800 คน

พรุ่งนี้ "พนักงานสกสค."ฟ้องศาลปกครอง ปมระงับเลิกจ้าง

ซัดเลิกจ้าง "สกสค." ไม่เป็นธรรม สหภาพจี้ "บิ๊กตู่" ยกเลิกคำสั่ง

“ไทรอัมพ์” ยันไม่เกี่ยวข้อง “บอดี้ แฟชั่น” ปลดพนักงาน 800คน

    ล่าสุด น.ส.วันอาสาฬ์ ทีปังกร ผู้อำนวยการฝ่ายพาณิชย์ บริษัท ไทรอัมพ์ อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) จำกัด ผู้นำเข้าแบรนด์ชุดชั้นในไทรอัมพ์ ได้ส่งหนังสือชี้แจงว่า ทางบริษัทไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ กับบริษัท บอดี้ แฟชั่น (ประเทศไทย) จำกัด ตามที่เป็นข่าวอยู่ในขณะนี้

    Triumph Holding AG (Bad Zurzach) - “Triumph” ขอยืนยันว่าบริษัทไม่มีฐานการผลิตในประเทศไทย และไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ ทั้งสิ้นกับการปลดพนักงานตามที่เป็นข่าว บริษัทไทรอัมพ์ได้ขายการผลิตให้แก่ “Body Fashion Thailand” (BFT) ในประเทศไทยให้แก่ผู้ประกอบการสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม นายโรเบิร์ต อึ้ง ตั้งแต่เดือนมกราคม ปี 2559

 

        นายโรเบิร์ต อึ้ง เป็นเจ้าของกลุ่มบริษัทสิ่งทอระดับสากลประกอบไปด้วยบริษัทในเครือกว่า 30 บริษัท และแบรนด์ เช่น Hanro หรือ Huber Trikot ซึ่งในขณะนั้นเครือข่ายของนายโรเบิร์ต อึ้ง เป็นผู้ผลิตหลักที่มีความน่าเชื่อถือให้แก่ไทรอัมพ์เป็นเวลาต่อเนื่องหลายปี โดยเครือข่ายมีโรงงาน 2 แห่งตั้งอยู่ที่อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ
และจังหวัดนครสวรรค์

     การตัดสินใจถอดศูนย์การผลิตในประเทศไทยเมื่อปี 2559 ของไทรอัมพ์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์ระยะยาวในการปรับโครงสร้างห่วงโซ่การผลิตทั่วโลกของบริษัท เพื่อให้บริษัทสามารถมุ่งเน้นไปที่ลูกค้าและความท้าทายทางการตลาดต่างๆ ได้มากขึ้น และด้วยมาตรการเดียวกันนี้ ไทรอัมพ์ได้ถอนฐานการผลิตในแถบทวีปยุโรปทั้งหมดออกเช่นเดียวกัน

       สำหรับประเทศไทย พนักงาน และผู้บริหารทั้งหมด 2,757 คน ถูกเข้าถือช่วงกิจการต่อโดยไม่มีการปลดพนักงาน หรือผู้จัดการใดๆ ออก
       ไทรอัมพ์ประสบความสำเร็จกับธุรกิจการขายชุดชั้นในในประเทศไทยเนื่องจากมีการจัดกิจกรรมการขายและการตลาดผ่านสำนักงานในกรุงเทพฯ ทำให้เกิดการประสานงานกิจกรรมทั้งหมดที่เกี่ยวเนื่องสำหรับตลาดในประเทศไทย
       ไทรอัมพ์ครองตำแหน่งผู้นำตลาดชุดชั้นในด้วยกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่เหนือระดับมีความทันสมัย การตลาดระดับโลก และการบริการลูกค้าที่ยอดเยี่ยม

“ไทรอัมพ์” ยันไม่เกี่ยวข้อง “บอดี้ แฟชั่น” ปลดพนักงาน 800คน