ชมสด สัมมนา ธปท. วิเคราะห์เศรษฐกิจหลังยุคโควิดภิวัตน์

20 ก.ค. 2563 | 01:55 น.

รับชมถ่ายทอดสด สัมมนาวิชาการ ธปท. วิเคราะห์ทิศทางเศรษฐกิจหลังยุคโควิดภิวัตน์ ชวนคุยชวนคิด ปรับวิถีธุรกิจท้องถิ่นในโลกใหม่อย่างยั่งยืน

ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) จัดสัมมนาวิชาการ “ชวนคุยชวนคิด ปรับวิถีธุรกิจท้องถิ่นในโลกใหม่อย่างยั่งยืน” ในวันจันทร์ที่ 20 กรกฎาคม 2563 เวลา 09.00 – 12.00 น. ซึ่งปีนี้เป็นปีแรกที่ธปท. จัดสัมมนาผ่านทาง facebook live

การสัมนาครั้งนี้จะมีหัวข้อที่สำคัญ ดังนี้

  • สนทนากับผู้ว่าการ หัวข้อ “ก้าวต่อไป...ทิศทางเศรษฐกิจหลังยุคโควิดภิวัตน์”  โดย ดร.วิรไท สันติประภพ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย

 

  • Talk ในหัวข้อ “ชวนท้องถิ่น พลิกมุมคิด...มองโลกใหม่หลังโควิด” โดย ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI)

 

  • เสวนา “ชวนคุยชวนคิด ปรับวิถีธุรกิจท้องถิ่นในโลกใหม่อย่างยั่งยืน”  โดย คุณรวิศ หาญอุตสาหะ (ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บจก. ศรีจันทร์สหโอสถ) คุณยอด ชินสุภัคกุล (ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร Wongnai) และคุณมารุต ชุ่มขุนทด (ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร Class Café)
     

สามารถรับชมการถ่ายทอดสดงานสัมมนาวิชาการ “ชวนคุยชวนคิด ปรับวิถีธุรกิจท้องถิ่นในโลกใหม่อย่างยั่งยืน” ได้ตามลิงค์ข้างล่าง

ก่อนหน้านี้เมื่อ วันที่14 กรกฎาคม 2563 นายวิรไท สันติประภพ ผู้ว่าการธปท. นายเมธี สุภาพงษ์ รองผู้ว่าการด้านเสถียรภาพการเงิน ธปท. นายดอน นาครทรรพ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายเศรษฐกิจมหภาค  ธปท ร่วมชี้แจงภาวะเศรษฐกิจไทยที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของไวรัสโควิด-19 ในการประชุมสัมมนานักวิเคราะห์ (Analyst meeting) ว่าเศรษฐกิจไทยผ่านจุดต่ำสุด ณ ไตรมาสที่ 2 ปี 2563 ซึ่งมีมาตรการควบคุมการระบาดแล้ว โดยสามารถควบคุมโควิด-19 ได้เป็นผลสำเร็จ และเริ่มทยอยผ่อนคลายมาตรการควบคุมการระบาดตั้งแต่เดือนมิถุนายน กิจกรรมทางเศรษฐกิจจึงทยอยปรับเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ ทั้งการเดินทาง การจับจ่ายใช้สอย และการผลิต

 

โดยในการประชุมครั้งล่าสุด (24 มิ.ย. 2563) กนง. คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ร้อยละ 0.50 ต่อปี ซึ่งต่ำที่สุดเป็นประวัติการณ์ และเห็นว่านโยบายการเงินที่ผ่อนคลายมากตั้งแต่ต้นปี รวมทั้งมาตรการการคลังของรัฐบาลและมาตรการด้านการเงินและสินเชื่อที่ออกมาเพิ่มเติม ช่วยบรรเทาผลกระทบที่เกิดขึ้นและจะสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจได้หลังการระบาดของโควิด-19 คลี่คลาย

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ธปท.ชี้ 3ปัจจัยเสี่ยงกดเศรษฐกิจไทย

การใช้จ่ายภาครัฐความหวังเดียวเคลื่อนจีดีพีปี 2563

มติกนง.คงดอกเบี้ยนโยบาย 0.5% ต่อปี ปรับเป้าเศรษฐกิจปีนี้ -8.1%

นอกจากนี้ กนง. เห็นว่าจะต้องมีนโยบายด้านอุปทานเพิ่มเติมเพื่อสนับสนุนการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ (economic restructuring) ให้สอดคล้องกับบริบทใหม่หลังจากการแพร่ระบาดของ โควิด-19 คลี่คลายลงด้วย ได้แก่

 

1.มีกลไกการบริหารกำลังการผลิตส่วนเกินในภาคอุตสาหกรรม อาทิ เอื้อให้เกิดการควบรวมกิจการในสาขาที่มีกำลังการผลิตส่วนเกินอยู่มาก หรือปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำธุรกิจให้สอดคล้องกับบริบทใหม่หลังจากการระบาดคลี่คลายลง

 

2.สนับสนุนและเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมกลุ่มเป้าหมายที่มีศักยภาพและมีโอกาสฟื้นตัวเร็ว

 

3.เร่งรัดการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ ตลอดจนโครงสร้างพื้นฐานที่รองรับเศรษฐกิจดิจิทัล

 

4.สนับสนุนการพัฒนาทักษะแรงงาน (reskill and upskill) เพื่อรองรับการจ้างงานในอุตสาหกรรมเป้าหมายและปรับตัวเข้าสู่บริบทใหม่

 

5.เร่งปฏิรูปกฎเกณฑ์ภาครัฐที่เป็นอุปสรรคต่อการปรับตัวของภาคธุรกิจให้สอดคล้องกับบริบทใหม่

 

การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจข้างต้น ควบคู่กับการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ (debt restructuring) จะช่วยเสริมสร้างให้เศรษฐกิจมีความเข้มแข็งและช่วยรักษาระดับศักยภาพการเติบโต (potential growth) ให้เศรษฐกิจไทยสามารถกลับมาเติบโตได้ในระยะต่อไป