ไทยยุค “นิวนอร์มอล” ปักหมุดตลาดโลก

17 ก.ค. 2563 | 06:10 น.

“กลินท์” พร้อมร่วมมือทุกมิติ บอสซีพีเอฟ แนะถอดโมเดลญี่ปุ่นพลิกชีวิตเกษตรกรสำเร็จ ควบรณรงค์คนไทยบริโภคเพิ่มแค่วันละ 10 บาท เงินสะพัด 2.2 แสนล้าน “พจน์” เผยโลกคืบสู่ขาดแคลนทั่วโลกหันมองไทย “มั่นคงอาหาร”

จากที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกระทรวงพาณิชย์ ได้ร่วมกันคิกออฟวิสัยทัศน์ “เกษตรผลิต พาณิชย์ตลาด” ภายใต้ยุทธศาสตร์ “ตลาดนำการผลิต” ไปเมื่อวันที่ 10 มิถุนายนที่ผ่านมา มีเป้าหมาย “1 สร้าง” คือสร้างให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางสินค้าเกษตรและอาหารคุณภาพของโลก และ “3 เพิ่ม” คือ 1.เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับประเทศ 2.เพิ่มจีดีพีประเทศ และ 3.เพิ่มรายได้เกษตรกรและผู้ประกอบการทุกระดับ

ไทยยุค “นิวนอร์มอล” ปักหมุดตลาดโลก

ทั้งนี้ทั้ง 2 กระทรวงมี 4 พันธกิจสำคัญที่จะต้องร่วมกันผลักดันให้สำเร็จในเบื้องต้น ได้แก่ 1.สร้าง Single Big Data เพื่อใช้ข้อมูลจากฐานเดียวกัน 2.สร้างแพลตฟอร์มกลาง “เกษตรผลิตพาณิชย์ตลาด” 3.สร้างความเชื่อมั่นด้วยคุณภาพ มาตรฐาน ความปลอดภัย และการตรวจสอบย้อนกลับ และ 4.พัฒนาคนและผลิตภัณฑ์ให้ตรงกับความต้องการของตลาด โดยมีเป้าหมาย การจัดงาน“อาหารไทย อาหารโลก”เกษตรผลิต พาณิชย์ตลาด”  มีเป้าหมายหลายประการ ได้แก่ การถ่ายทอดและสร้างการรับรู้ถึงความร่วมมือระหว่างกระทรวงพาณิชย์และกระทรวงเกษตรฯเพื่อสร้างความแข็งแกร่งให้กับประเทศในฐานะผู้ผลิตอาหารชั้นนำของโลก

 

สร้างการรับรู้ถึงการเชื่อมโยงระหว่างภาคการผลิตทางการเกษตรและอาหารสู่ช่องทางการตลาดใหม่ๆ ที่มีศักยภาพ,สร้างความเชื่อมั่นในมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารของไทยให้เป็นที่ยอมรับในตลาดโลก,สนับสนุนการพัฒนาศักยภาพช่องทางการกระจายสินค้าเกษตร สร้างโอกาสการขายสินค้าให้กลุ่มเกษตรกรในทุกกลุ่มสินค้า และเพื่อตอกย้ำให้เห็นว่าประเทศไทยพร้อมเป็นครัวโลกด้วย “อาหารปลอดภัย”

ไทยยุค “นิวนอร์มอล” ปักหมุดตลาดโลก

นายกลินท์ สารสิน ประธานกรรมการหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย กล่าวในงาน “Live Town Hall "อาหารไทย อาหารโลก" เกษตรผลิต พาณิชย์ตลาด (16 ก.ค.63) กล่าวว่า ดีใจมากที่เห็น 2  กระทรวง “พาณิชย์ -เกษตรฯ” มีความร่วมมือกัน สอดรับประสานในการออกนโยบายที่เห็นเป็นรูปธรรม “ตลาดนำการผลิต” เป็นครั้งแรกที่ได้ยินรัฐบาลพูดแบบนี้ ตรงความต้องการของตลาดเป็นอย่างไร

 

โดยเฉพาะนโยบายการเพิ่มมูลค่าของเกษตรเป็นอาหาร เป็นแนวทางที่ถูกต้องแล้ว เกี่ยวข้องกับจำนวนคนมาก ตั้งแต่การปลูก ผู้บริโภคอาหารดี สถานะปัจจุบันไทยอยู่ในอันดับ10 เพื่อยกระดับชีวิตเกษตรกรมีรายได้ดีขึ้น ชีวิตดีขึ้น มีความปลอดภัย ผมคิดว่าเป็นจุดมุ่งหมายหลักของรัฐบาลนี้ก็ว่าได้ เป็นเรื่องที่ดีมากทางหอการค้าและเครือข่ายยินดีที่จะร่วมมมือเต็ม

ไทยยุค “นิวนอร์มอล” ปักหมุดตลาดโลก
 

ด้านนายประสิทธิ์  บุญดวงประเสริฐ ประธานคณะผู้บริหาร บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหารจำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอฟ กล่าวว่า รู้สึก ตื่นเต้นกับโยบาย และมีความคาดหวังในอนาคต อยากจะแปลงสิ่งที่เป็นคอนเซปต์ในวันนี้เข้ากับการทำงานของบริษัท ผมคิดว่าการที่รัฐมนตรี 2 ท่าน นำเสนอ “Live Town Hall "อาหารไทย อาหารโลก"เกษตรผลิต พาณิชย์ตลาด  ถ้าอยู่ในบริษัทซีพีเอฟ เรียกว่า “ทลายไซโล คือไม่มีไซโลในการทำงานก็คือเชื่อมโยงระหว่างผลิตกับขายเข้าด้วยกัน เป็นมิติที่ยอดเยี่ยมมาก ถ้าแปลจากวัตถุประสงค์วันนี้ ก็คือ สร้างรายได้ ลดค้าใช้จ่าย มี 2 มุม

ไทยยุค “นิวนอร์มอล” ปักหมุดตลาดโลก

“ข้อเสนอแนะเล็กๆ ผมคิดว่าโมเดลธุรกิจต้องออกแบบไปดูประเทศญี่ปุ่นว่าทำอย่างไร ความจริงต้นทุนการผลิตของประเทศญี่ปุ่น ใช้เทคโนโลยีราคาก็ดีด้วย ผมว่าวัตถุประสงค์พูดจะคล้ายกับสิ่งที่ประเทศญี่ปุ่นทำสำเร็จ อาทิ องุ่นญี่ปุ่น พวงเดียวราคา 1 พันบาท หรือ สตรอว์เบอร์รี่ และ อาหารญี่ปุ่นก็กระจายทั่วโลกด้วยมาตรฐานที่ดีมาก”

 

สำหรับข้อคิดเห็น 3 ข้อ 1.คนไทยในประเทศจะต้องช่วยก่อน ต้องมีความภาคภูมิใจในอาหารไทยก่อน ในสินค้าไทย ในเกษตรกรไทย เป็นเรื่องการโปรโมทแบรนด์ดิ้ง (Branding)ของเกษตรไทย เพราะความจริงในการทำธุรกิจต้องมีความสมดุลกับการส่งออกกับในประเทศ เพราะตลาดไม่ได้เล็ก จำนวนประชากร 60-70 ล้านคน เป็นกำลังซื้อที่ใหญ่มาก ซึ่งบริษัททำทั้งส่งออกและตลาดในประเทศต้องมีความสมดุลทั้งสองขาให้ได้ เพราะจะทำให้ต้นทุนต่ำ แล้วนำตรงนี้ไปสู้กับตลาดส่งออก ดังนั้น การสร้างความสมดุล เป็นสิ่งสำคัญ

ไทยยุค “นิวนอร์มอล” ปักหมุดตลาดโลก

นายประสิทธิ์ กล่าวว่า ต้นทุนการผลิตอาหารประเทศไทยต่ำที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ค่าอาหารจ่ายรายได้ของคนไทยต่ำมาก หากให้คนไทยจ่ายเพิ่มแค่ 10 บาท คูณวัน คูณจำนวนประชากรทั้งหมด 60 ล้านคน จะมีเงินสะพัดหมุนเวียนถึง  2.2 แสนล้าน จะนำเงินดังกล่าวนี้ไปช่วยเกษตรกรไทย ดังนั้นจะต้องเริ่มการสร้างแบรนด์ก่อนเมื่อยอดขายเพิ่มขึ้น ก็จะทำให้ต้นทุนต่ำลง จะทำให้มีรายได้ที่เพิ่มขึ้น ช่วยทำให้เกษตรกรไทย บริษัทไทย ไปสร้างความสามารถในการแข่งขันในต่างประเทศได้ดีขึ้นเมื่อสินค้าไทยเริ่มมีแบรนด์ดีในเมืองไทยก็ขยายผลไปแบรนด์ต่างประเทศ อยากจะสร้างแบรนด์จ้างบริษัทเอเจนซี่เก่งในการวางแผนการตลาด มาสร้าง ทำอย่างไร ส่งออกทำอย่างไร คาดว่างานของกระทรวงจะง่ายขึ้น เพราะใช้มืออาชีพ

 

++โลกกำลังเข้าสู่ภาวะการขาดแคลนอาหารรุนแรง

ไทยยุค “นิวนอร์มอล” ปักหมุดตลาดโลก

ด้านนายพจน์ อร่ามวัฒนานนท์ รองประธานสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ในฐานะนายกสมาคมอาหารแช่เยือกแข็งไทย กล่าว่า วันนี้เพิ่งเห็นนิมิตใหม่ที่เกิดขึ้นจริง กระทรวงพาณิชย์และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ทำงานเป็นทีม ไม่มีวันที่จะประสบความสำเร็จในการแก้ปัญหาสินค้าเกษตรได้เลย ถ้าการตลาดไม่นำการผลิต หรือทำงานร่วมกับการผลิต ความคิดเห็นและข้อเสนอของผม เที่ยวนี้โควิด นิวนอลมอล เป็นโอกาสดีอย่างหนึ่ง ที่ได้มีการล้างไพ่ของเก่าในอดีตที่เราทำกันมา เริ่มเห็นแล้วว่าวันนี้ ศักยภาพของไทยจริงๆ ที่อยู่ด้วยตัวเองได้ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ที่ในหลวง ร.9 ทิ้งไว้

 

“ก็คือสินค้าเกษตร เพราะทุกอย่างติดล็อกดาวน์หมด แต่โลกต้องการอาหารเกษตรของไทย นี่คือสิ่งชัดเจน ตัวเลขส่งออกทะยานได้อีกแน่นอนเพราะโลกกำลังตื่นตัว เรื่องความมั่นคงอาหาร และการขาดแคลนอาหาร ไทยจึงมีโอกาส”

ไทยยุค “นิวนอร์มอล” ปักหมุดตลาดโลก

2.รื้อระบบความคิดทุกฝ่าย ภาคเกษตรกร ภาคเอกชนที่แปรรูป พ่อค้า และภาครัฐ แม้แต่เกษตรกรที่ปลุกไว้เพื่อรับประทาน ถ้าเหลือค่อยขาย ดังนั้นสิ่งที่ รัฐมนตรีออกมาจะทำให้ทุกคนเปลี่ยนแปลงความคิด และต้องสนับสนุนให้ทำได้ด้วยในทุกปัจจัยทั้งเรื่องเงินทุน เทคโนโลยีและโนว์ฮาว ปัจจุบัน “สมาร์ทฟาร์มเมอร์” มี แค่ชื่อเกิดขึ้นน้อยมาก วัยรุ่นเข้ามาอยู่ในวงการเกษตรน้อยมากออกไป ต่างจังหวัดเจอแต่ผู้สูงอายุ กับแรงงานต่างด้าว เป็นการบ้านฝากให้ว่าจะจูงใจให้กลับมาได้อย่างไร

“แนวทางการลดต้นทุน ถูกต้องแล้ว เพิ่มมูลค่าสินค้า เกษตรอัจฉริยะ ปัญหาก็คือ ต้องดูความพร้อมของภาคเกษตรกรกับเอกชน เราต้องปรับ และผลักดันทันที”