ที่สุดของการปฏิบัติธรรม

09 ก.ค. 2563 | 01:29 น.

ทำมา..ธรรมะ โดย ราช รามัญ

Facebook ราช รามัญ
 

สัมมาสติเป็นแนวทางที่นำเรามาฝึกปฏิบัติตลอดชีวิต พระพุทธเจ้าได้สอนวิธีปฏิบัติเอาไง้หลายวิธีและพระองค์จะเริ่มคำอธิบายด้วยคำว่า “ดูกรภิกษุ” พระองค์ทรงหมายถึงว่าความคิดนี้ให้นำไปปฏิบัติ พระองค์ได้ตรัสเอาไว้อย่างชัดเจนว่า ผู้ใดฝึกสติด้วยวิธีนี้จงมั่นใจได้เลยว่าต้องบรรลุความสุขของการตรัสรู้ พระองค์ทรงได้สั่งสอนเอาไว้อยู่หลายวิธี 

จะมีผู้ที่ไม่เข้าใจในศาสนาพุทธเท่านั้นที่มีความรู้สึกเกรงกลัว ต่อวิธีสอนของพระพุทธเจ้า การฝึกฝนปฏิบัตินี้ขึ้นอยู่กับกิจกรรมที่เราทำทุกวัน แต่วิธีของพระพุทธเจ้านั้นขึ้นอยู่กับความเข้าใจว่าจิตมนุษย์ดำเนินไปอย่างไร

เราเริ่มจับวัตถุปฏิบัติสมาธิ ลมหายใจ ความรู้สึก สภาวะจิต นิวรณ์หรือโซ่ตรวนที่ละข้อ เราจะเลือกเอาอย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้เพราะทุกสิ่งมีการเปลี่ยนแปลง เมื่อเรารู้ว่าจิตของเราจับอยู่กับสิ่งที่เป็นอกุศลเราจงรีบเปลี่ยนให้จิตมาจับสิ่งที่ดีกว่า

ทุกสิ่งที่เกิดขึ้นมาในจิตใช้เป็นวัตถุฝึกสติ เราใช้วัตถุอื่นช่วยให้เราเกิดความเข้าใจนำไตรลักษณ์ ทุกสิ่งคือความไม่เที่ยง ความทุกข์ และความไม่มีตัวตนที่คงทนถาวรหรือวิญญาณ เมื่อสิ่งที่เราคิดจางหายไป เราก็นำจิตกลับมาจับที่วัตถุเดิมที่เราใช้เพ่ง หรือถ้าหากมีวัตถุอื่นที่ผุดขึ้นมาในจิตแล้วคุณนำมาใช้เป็นตัวพิจารณาเพื่อเห็นไตรลักษณ์ของสัจธรรมได้ก็คงไม่มีปัญหา การปฏิบัติสมาธิวิธีใดที่ทำให้คุณเห็นสัจธรรมย่อมที่จะใช้ได้ทั้งหมด อย่าให้จิตของคุณไปจดจ่ออยู่กับสิ่งนั้นสิ่งนี้เพราะจิตมีธรรมชาติเคลื่อนไหวจะกระโดดวัตถุหนึ่งไปอีกวัตถุหนึ่งเสมอ แต่คุณอย่าพยายามที่จะเปลี่ยนจากวัตถุนี้ไปวัตถุนั้น เริ่มจากวัตถุที่เลือกในการปฏิบัติ เช่นลมหายใจ จะเปลี่ยนก็ต่อเมื่อมีสิ่งอื่นที่ผุดขึ้นมาเอง

วิธีปฏิบัติสมาธิของพระพุทธเจ้าเปรียบเหมือนตู้เย็นที่เก็บยาไว้เต็ม เพราะคุณไม่สามารถที่จะกินยาทั้งหมดในตู้เย็นภายในครั้งเดียวได้ ก็เหมือนกับว่าคุณไม่สามารถที่จะฝึกทุกสิ่งในสติปัฏฐานสี่ทีเดียวไม่ได้ คุณเริ่มวิธีใดที่คุณชอบแล้วใช้สิ่งอื่นที่ผุดขึ้นมาขณะที่คุณตามวิธีที่เลือก จิตคุณอาจเกิดความสับสนขณะนี้แต่ต่อไปจิตของคุณก็จะสงบลงได้ เมื่อสติแข็งกล้าและแหลมคมจิตของคุณก็จะกลับมาพิจาณาคำสั่งสอนที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้นของพระพุทธเจ้าเองตามธรรมชาติ  จงใช้สติเพื่อให้อยู่ตัวเองในปัจจุบันนี้แล้วจะมีความสุขที่สุด