เซ็นทรัลฯ ยก “สุรินทร์โมเดล” เยียวยาเกษตรกร

30 มิ.ย. 2563 | 11:45 น.

เซ็นทรัล ฟู้ด รีเทล จัดใหญ่ “ตลาดจริงใจ Farmers' Market”  ยกสุรินทร์โมเดลต้นแบบ ช่วยเกษตรกรอย่างยั่งยืน

หลังจากประกาศจับมือกับหน่วยงานภาครัฐ  เอกชน ภาคการเกษตร และประชาชน ผนึกกำลังจัด ตลาดจริงใจ Farmers’ Market เพื่อเพิ่มศักยภาพกลุ่มเกษตรกรไทย ขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานราก ผ่านสาขาทั้ง 29 แห่งครอบคลุม 27 จังหวัด  ล่าสุด “เซ็นทรัล ฟู้ด รีเทล” พร้อมเดินหน้าอย่างเป็นรูปธรรมใน 3 จังหวัด ได้แก่ กาญจนบุรี  สุรินทร์ และ ลำปาง โดยมีตลาดจริงใจ Farmers’ Market จังหวัดสุรินทร์ เป็นโมเดลต้นแบบ ยกระดับมาตรฐานสินค้าสู่เกษตรอินทรีย์

เซ็นทรัลฯ ยก “สุรินทร์โมเดล” เยียวยาเกษตรกร

นางสาวเมทินี พิศุทธิ์สินธพ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ เซ็นทรัล ฟู้ด รีเทล ผู้บริหารกลุ่มธุรกิจฟู้ดในเครือเซ็นทรัล รีเทล เปิดเผยว่า   กลุ่มเซ็นทรัลและท็อปส์เปิดตลาดจริงใจ Farmers’ Market แห่งแรกเมื่อปี 2561 ในศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซาอุดรธานี เป็นตลาดชุมชนรูปแบบใหม่ให้เกษตรกรมาจำหน่ายสินค้า มุ่งเน้นผักผลไม้ปลอดภัย ปลอดสารพิษ และเกษตรอินทรีย์ รวมถึงอาหารพร้อมรับประทาน ปัจจุบันเปิดตลาดไปแล้ว 18 สาขา ใน 16 จังหวัด 

เซ็นทรัลฯ ยก “สุรินทร์โมเดล” เยียวยาเกษตรกร

ตั้งเป้าสิ้นปี 2563 จะขยายตลาดจริงใจ Farmers’ Market  ครบ 29 สาขา ครอบคลุม 27 จังหวัด โดยเฉพาะเมื่อเกิดวิกฤติการณ์แพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ส่งผลกระทบให้เกษตรกรขาดรายได้และขาดช่องทางจำหน่ายสินค้า โดยตลาดจริงใจ Farmers' Market ได้เปิดพื้นที่ให้เกษตรกรนำสินค้ามาจำหน่ายเพื่อบรรเทาความเดือดร้อน  และในเดือนมิถุนายนเปิดตลาดอย่างเป็นทางการพร้อมกัน  3 สาขา ได้แก่ สาขาโรบินสัน ไลฟ์สไตล์ จ.กาญจนบุรี, สาขาโรบินสัน ไลฟ์สไตล์ จ.สุรินทร์, และสาขาเซ็นทรัลพลาซา จ.ลำปาง

 

โดยเฉพาะตลาดจริงใจ Farmers’ Market  จังหวัดสุรินทร์ ได้ถูกหยิบยกเป็นโมเดลต้นแบบรับยุทธศาสตร์จังหวัด ยกระดับมาตรฐานสินค้าสู่เกษตรอินทรีย์ ซึ่งได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากหน่วยงานรัฐและเกษตรกรในพื้นที่ โดยเปิดตลาดจริงใจที่ สาขาโรบินสัน ไลฟ์สไตล์ จ.สุรินทร์ มาแก้ปัญหาได้ตรงจุด เป็นการเปิดพื้นที่ให้ฝึกค้าขาย แลกเปลี่ยนประสบการณ์ความรู้

เซ็นทรัลฯ ยก “สุรินทร์โมเดล” เยียวยาเกษตรกร

อย่างไรก็ดี บริษัทมีแผนพัฒนาตลาดจริงใจ Farmers’ Market  ให้เป็นศูนย์เรียนรู้ด้านการตลาดแก่เกษตรกรในพื้นที่ ตลอดจนส่งเสริมให้มีการผลิตพืชผักที่มีมูลค่าสูง เป็นที่ต้องการของตลาดในวงกว้าง และพืชผักอินทรีย์เพื่อผลดีทั้งตัวเกษตรกร สิ่งแวดล้อม และผู้บริโภค พร้อมสนับสนุนด้านการขนส่งสินค้าผ่านโครงการ “รับซื้อสินค้าตรงจากเกษตรกรและชุมชน บริหารการขนส่งผ่านเครือข่ายรถส่งสินค้า (Backhaul)” ด้วย