ชงนมเสาร์-อาทิตย์แลกโควตา "นมโรงเรียน" เท่ากัน 20 ตัน/วัน

27 มิ.ย. 2563 | 06:10 น.

แฉเล่ห์ผู้ประกอบการ แบกน้ำนมดิบเกินเอ็มโอยู เพราะความละโลภ ทั้งที่รู้ว่าไม่มีโควตาเสี่ยงขาดทุน ชี้นมเพิ่ม เสาร์-อาทิตย์ เป็นการระบายสต็อกเดิมเท่านั้น

จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา หรือโควิด-19 ที่ส่งผลกระทบอย่างหนักต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศในหลายด้านอย่างรุนแรง อันมีผลกระทบต่อตลาดนมพาณิชย์ด้วย เพราะผู้บริโภคมีแนวโน้มลดการบริโภคผลิตภัณฑ์ลงอย่างต่อเนื่องจึงเกิดการชะลอตัวของตลาดนมพาณิชย์ภายในประเทศจึงเกิดสถานการณ์ที่ตามมาคือการรับซื้อน้ำนมดิบจากเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมลดลง ทำให้เกิดปัญหาน้ำนมที่เหลือไม่มีที่จำหน่ายเป็นสถานการณ์น้ำนมดิบล้น ทางชุมนุมสหกรณ์ฯ จึงได้เรียกร้องขอให้รัฐบาลมีมติคณะรัฐมนตรีเพิ่มงบประมาณวันดื่มนมโรงเรียนชนิด ยู.เอช.ที ในวันเสาร์-อาทิตย์ เพิ่มขึ้น โดยเริ่มตั้งแต่ปีการศึกษา 2563 นั้น

ชงนมเสาร์-อาทิตย์แลกโควตา "นมโรงเรียน" เท่ากัน 20 ตัน/วัน

นายนพดล เจริญกิตติ อดีตผู้ทรงคุณวุฒิคณะกรรมการโคนมและผลิตภัณฑ์นม หรือมิลค์บอร์ด เผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” นมพาณิชย์พร้อมดื่มไม่มีผลกระทบการขายลดลงจากโควิด-19ยกเว้นการส่งออกไปสิงค์โปร์ทำได้น้อยลง แต่เห็นด้วยกับการเพิ่มนมโรงเรียน ในวัน เสาร์-อาทิตย์ให้เด็กดื่มเพราะจะไม่เพิ่มภาระงบประมาณมากเกินไป

“ปัญหาเกิดจากนมโรงเรียนผู้ประกอบการจะทำเอ็มโอยูไว้เกินมากกว่าสิทธิ์พึงได้และไม่สามารถทำเป็นนมพาณิชย์ได้(ประสบการณ์)ไม่มีไม่พร้อมแบกรับความเสี่ยงการตลาดจะเห็นได้ว่าถึงแม้จะมีนม 365 วัน ก็ยังคงมีนมส่วนเกินจากความละโมภนี้อยู่เพราะทุกคนจะทำ mou เกินไว้ตลอด

การใช้นมดิบจริงในโครงการฯถูกหลอกมาตลอดตั้งแต่ปี 2552 เพราะเอานม 7 วันมาขาย 5 วัน ตัวเลขจึงต่ำกว่าความเป็นจริง ความจริงเด็กในโครงการวันนี้มีประมาณ 7.1 ล้านคนดื่มนมคนละ 200cc. เป็น น้ำหนัก 206 กรัมต่อหน่วยนมมีค่าความถ่วง จำเพาะสูงกว่าน้ำจะต้องใช้นมจริง 1,462.6 ตันต่อวัน บวกความสูญเสีย2% เป็นยอดนมต้องใช้จริง 1,465.5 ตันต่อวัน แต่ปีนี้ทำมีการทำเอ็มโอยู 1,500 ตันต่อวันจะมีนมเกินอยู่ประมาณ 35 ตันต่อวันแล้ว

“แต่หวยไปออกที่ใครที่น้ำนมดิบเกินไม่มีที่ไป ที่สำคัญอย่าคิดว่าการเพิ่มนมเสาร์-อาทิตย์แล้วจะแก้ปัญหานมล้นได้มันเป็นเพียงการระบายนมยูเอชที  เก่าออกไปเท่านั้นเพื่อเอานมใหม่เข้าสต๊อกรอวันเรียกร้องใหม่”

ชงนมเสาร์-อาทิตย์แลกโควตา "นมโรงเรียน" เท่ากัน 20 ตัน/วัน

นายนพดล กล่าวว่า การแก้ปัญหา 1.เพิ่มนมโครงการเป็น 365 วันใช้นมทั้งหมดวันละ 1,500 ตันเศษ 2.ให้ผู้ประกอบการ 72 รายได้รับสิทธิ์เท่ากันรายละ 20 ตันต่อวันไม่ว่าโรงเล็กหรือใหญ่ การควบคุมคุณภาพต้องเข้มข้น ความไม่เป็นธรรมจะหมดไปโรงงานเล็กก็สามารถทำได้โดยสามารถจ้างโรงงานผลิตนมยูเอชที ความโปร่งใสจะมีมากกว่าเดิมการอ้างความเป็นสหกรณ์ต้องได้มากกว่าเอกชนก็หมดไปผู้ประกอบการนมพานิชย์มีความมั่นคงในการวางแผนน้ำนมดิบข้ออ้างเรื่องตลาดลดลงจะหมดไป นี่เป็นเพียงข้อคิดเห็น