ส่งออกรายตลาดติดลบต่อเนื่อง แนะรัฐเร่งสร้างภูมิคุ้มกันลดผลกระทบ

24 มิ.ย. 2563 | 07:33 น.

พาณิชย์ชี้ส่งออกไทยไปตลาดหลักยังติดลบต่อเนื่อง เหตุจากพิษโควิด-19 มาตรการจำกัดกิจกรรมทางเศรษฐกิจเพื่อควบคุมโรค แนะภาครัฐควรเร่งสร้างภูมิคุ้มกันและลดทอนผลกระทบจากรายได้ที่ลดลงในช่วงที่เศรษฐกิจโลกชะลอตัว ในภาคการค้าและการส่งออก ชี้มีจีนตลาดเดียวที่ขยายตัวเป็นบวก

น.ส.พิมพ์ชนก วอนขอพร ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า(สนค.)  เปิดเผยว่าการแพร่ระบาดของโควิด-19 การส่งออกไทยจะได้รับผลกระทบผ่าน 4 ช่องทาง ได้แก่ 1. ราคาน้ำมันที่ปรับลดลงอย่างรวดเร็ว 2. ความชะงักงันของการผลิต จากมาตรการล็อกดาวน์ทั่วโลก ซึ่งขณะนี้เริ่มคลี่คลายบ้างแล้วจากการผ่อนคลายมาตรการในหลายประเทศ 3. ระบบขนส่งโลจิสติกส์ที่ยังไม่คล่องตัว และ 4. ผลกระทบด้านรายได้ของประเทศคู่ค้า (Income Effect) ซึ่งขึ้นกับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของต่างประเทศ โดยในระยะนี้ ภาครัฐควรเร่งสร้างภูมิคุ้มกันและลดทอนผลกระทบจากรายได้ที่ลดลงในช่วงที่เศรษฐกิจโลกชะลอตัว ในภาคการค้าและการส่งออก

ส่งออกรายตลาดติดลบต่อเนื่อง  แนะรัฐเร่งสร้างภูมิคุ้มกันลดผลกระทบ

โดยตลาดส่งออกไปตลาดสำคัญส่วนใหญ่ปรับตัวลดลงเนื่องจากผลกระทบของการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 และมาตรการจำกัดกิจกรรมทางเศรษฐกิจเพื่อควบคุมโรค ที่ส่งผลให้อุปสงค์จากประเทศคู่ค้าลดลงซึ่งภาพรวมการส่งออกไปยังกลุ่มตลาดต่างๆ   โดยภาพรวมการส่งออกไปตลาดหลัก ติดลบ 25.9% เป็นการส่งออกไปสหรัฐฯ ติดลบ 17.3%  ญี่ปุ่น ติดลบ 24.2% และสหภาพยุโรป (15)ติดลบ40%  

ส่วนการส่งออกไปตลาดศักยภาพสูง พบว่าติดลบ 21.3%  เนื่องจากการลดลงของการส่งออกไปอาเซียน (5) ลดลง 27.9%  กลุ่มประเทศ CLMV  ลดลง 28 % และเอเชียใต้ ลดลง71.5%  ในขณะที่การส่งออกไปตลาดรอง พบว่าภาพรวมติดลบ 36.3% ซึ่งเป็นติดลบตามการลดลงของการส่งออกไปทวีปออสเตรเลีย (25)  -18.0%  ตะวันออกกลาง (15) -30.6%  ลาตินอเมริกา  -59.4%  รัสเซียและกลุ่มประเทศ CIS  -49.9%  และทวีปแอฟริกา  -47.9%

อย่างไรก็ตาม 5 เดือนแรกของปีนี้(ม.ค.-พ.ค.) พบว่าตลาดส่งออกไทย ไม่ว่าจะเป็น  ตลาดสหรัฐอเมริกา ติดลบ 17.3%  ซึ่งสินค้าสำคัญที่หดตัว ได้แก่ อัญมณีและเครื่องประดับ ผลิตภัณฑ์ยาง เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ เครื่องนุ่งห่ม และโทรทัศน์และส่วนประกอบ ด้านสินค้าที่ขยายตัว ได้แก่ อุปกรณ์กึ่งตัวนำ ข้าว เฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน และอาหารทะเลแปรรูป ขณะที่ 5 เดือนแรกของปี 2563 ขยายตัว 0.3%

ส่งออกรายตลาดติดลบต่อเนื่อง  แนะรัฐเร่งสร้างภูมิคุ้มกันลดผลกระทบ

 ตลาดสหภาพยุโรป (15) ติดลบ 40%  สินค้าสำคัญที่หดตัว ได้แก่ รถยนต์และส่วนประกอบ เครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องปรับอากาศ อัญมณีและเครื่องประดับ และแผงวงจรไฟฟ้า ด้านสินค้าที่ขยายตัว ได้แก่ ข้าว แผงสวิทซ์และแผงควบคุมกระแสไฟฟ้า และอาหารสัตว์เลี้ยง ขณะที่ 5 เดือนแรกของปี 2563 ติดลบ 16.3%

 ตลาดญี่ปุ่น ติดลบ 24.2%  สินค้าสำคัญที่หดตัว ได้แก่ รถยนต์และส่วนประกอบ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ เครื่องรับวิทยุ โทรทัศน์ และส่วนประกอบ และเครื่องใช้ไฟฟ้า ด้านสินค้าที่ขยายตัว ได้แก่ โทรศัพท์และอุปกรณ์ฯ และไก่แปรรูป ขณะที่ 5 เดือนแรกของปี 2563 ติดลบ 6.8%

ส่งออกรายตลาดติดลบต่อเนื่อง  แนะรัฐเร่งสร้างภูมิคุ้มกันลดผลกระทบ

  ตลาดอาเซียน (5) ติดลบ 27.9% สินค้าสำคัญที่หดตัว ได้แก่ รถยนต์และส่วนประกอบ น้ำมันสำเร็จรูป และเคมีภัณฑ์ ด้านสินค้าที่ขยายตัว ได้แก่ อากาศยานและส่วนประกอบ อัญมณีและเครื่องประดับ และเครื่องยนต์สันดาป ขณะที่ 5 เดือนแรกของปี 2563 ขยายตัว 0.2 %ตลาด CLMV ติดลบ 28% สินค้าสำคัญที่หดตัว ได้แก่ รถยนต์และส่วนประกอบ น้ำมันสำเร็จรูป และเม็ดพลาสติก ด้านสินค้าที่ขยายตัว ได้แก่ ผลไม้สด แช่แข็ง และแห้ง สินค้าปศุสัตว์อื่นๆ และน้ำตาลทราย ขณะที่ 5 เดือนแรกของปี 2563 ติดลบ 10.4%

 ตลาดเอเชียใต้ ติดลบ 71%  สินค้าสำคัญที่หดตัว ได้แก่ อัญมณีและเครื่องประดับ เคมีภัณฑ์ รถยนต์และส่วนประกอบ เม็ดพลาสติก และเครื่องจักรกล ด้านสินค้าที่ขยายตัว ได้แก่ น้ำมันสำเร็จรูป อาหารสัตว์เลี้ยง และเมล็ดที่ใช้ในการเพาะปลูก ขณะที่ 5 เดือนแรกของปี 2563 ติดลบ 32.5%          

  ตลาดลาตินอเมริกา ติดลบ 59.4% สินค้าสำคัญที่หดตัว ได้แก่ รถยนต์และส่วนประกอบ เครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องยนต์สันดาป เครื่องจักรกล และผลิตภัณฑ์ยาง ด้านสินค้าที่ขยายตัว ได้แก่ อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป เครื่องส่งโทรศัพท์และโทรทัศน์ และหม้อแปลงไฟฟ้า ขณะที่ 5 เดือนแรกของปี 2563 ติดลบ 21.5%

 ตลาดตะวันออกกลาง (15) ติดลบ 30.6% สินค้าสำคัญที่หดตัว ได้แก่ รถยนต์และส่วนประกอบ อัญมณีและเครื่องประดับ เคมีภัณฑ์ ข้าว และผลิตภัณฑ์ยาง ด้านสินค้าที่ขยายตัว ได้แก่ ผลิตภัณฑ์อะลูมิเนียม เครื่องซักผ้าและส่วนประกอบ และเส้นใยประดิษฐ์ ขณะที่5 เดือนแรกของปี 2563 ติดลบ 9.2%

ตลาดทวีปออสเตรเลีย (25) ติดลบ 18% สินค้าสำคัญที่หดตัว ได้แก่ รถยนต์และส่วนประกอบ เครื่องปรับอากาศ เครื่องคอมพิวเตอร์ และเม็ดพลาสติก ด้านสินค้าที่ขยายตัว ได้แก่ อัญมณีและเครื่องประดับ ข้าว และอาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป ขณะที่ 5 เดือนแรกของปี 2563 ติดลบ 12.3%

ส่งออกรายตลาดติดลบต่อเนื่อง  แนะรัฐเร่งสร้างภูมิคุ้มกันลดผลกระทบ

ตลาดรัสเซียและกลุ่มประเทศ CIS ติดลบ 49.9% สินค้าสำคัญที่หดตัว ได้แก่ รถยนต์และส่วนประกอบ อัญมณีและเครื่องประดับ ผลิตภัณฑ์ยาง และเม็ดพลาสติก ด้านสินค้าที่ขยายตัว ได้แก่ ข้าว อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป และแผงสวิทซ์และแผงควบคุมกระแสไฟฟ้า ขณะที่ 5 เดือนแรกของปี 2563 ติดลบ 21.9%

ตลาดทวีปแอฟริกา ติดลบ 47.9% สินค้าสำคัญที่หดตัว ได้แก่ รถยนต์และส่วนประกอบ ข้าว เครื่องยนต์สันดาป และผลิตภัณฑ์ยาง ด้านสินค้าที่ขยายตัว ได้แก่ ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ผลไม้กระป๋องและแปรรูป และเคมีภัณฑ์ ขณะที่ 5 เดือนแรกของปี 2563 ติดลบ 26.1%

ตลาดอินเดีย ติดลบ 76% สินค้าสำคัญที่หดตัว ได้แก่ อัญมณีและเครื่องประดับ เคมีภัณฑ์ เม็ดพลาสติก รถยนต์และส่วนประกอบ และเครื่องจักรกลและส่วนประกอบ ด้านสินค้าที่ขยายตัว ได้แก่ อาหารสัตว์เลี้ยง เมล็ดที่ใช้ในการเพาะปลูก และน้ำมันสำเร็จรูป ขณะที่ 5 เดือนแรกของปี 2563 ติดลบ 35.1%

ขณะที่การส่งออกไปตลาดจีน กลับขยายตัว 15.3% ซึ่งเป็นขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 สินค้าสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ ผลไม้สด แช่แข็ง และแห้ง รถยนต์และส่วนประกอบ ผลิตภัณฑ์ยาง ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง และรถจักรยานยนต์และส่วนประกอบ เป็นต้น ซึง่5เดือนแรตลาดจยีนขยายตัว4.7% เป็นตลาดส่งออกเดียวที่ขยายตัวเป็นบวก

“รัฐควรให้ความช่วยเหลือและสนับสนุนกลุ่มสินค้าที่ยังมีศักยภาพและขยายตัวได้ดี โดยมี 5 แนวทาง คือ 1) สนับสนุนบริษัทส่งออกให้เข้าถึงนโยบายช่วยเหลือของภาครัฐเพื่อประคองธุรกิจในภาวะที่การส่งออกยังไม่แน่นอนสูง 2) ส่งเสริมการตลาดสินค้าที่มีความต้องการสูงในระยะนี้ โดยเฉพาะสินค้าอาหาร 3) ตั้งเป้าหมายและสนับสนุนการเข้าถึงตลาดศักยภาพและฟื้นตัวได้ดีท่ามกลางสถานการณ์โควิด-19 4) แก้ไขปัญหาโลจิสติกส์ ช่วยลดต้นทุนการขนส่งที่ปรับสูงขึ้นในระยะนี้ และ 5) บริหารความเสี่ยงจากปัจจัยอื่นๆ อาทิ การประกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยน”