เส้นทางสู่ยุคดิจิทัล ทรานส์ฟอร์เมชั่น

21 มิ.ย. 2563 | 02:30 น.

 

คอลัมน์ บทความ โดย บริษัท เอปสัน (ประเทศไทย) จำกัด

หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับ 3,585 หน้า 5 วันที่ 21 - 24 มิถุนายน 2563

 

ดิจิทัล ทรานส์ฟอร์เมชั่น คือ กระบวนการสำคัญสำหรับองค์กรที่ต้องการจะเป็นส่วนหนึ่งของเศรษฐกิจดิจิทัล โดยในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ดิจิทัล ทรานส์ฟอร์เมชั่นสำหรับธุรกิจเอสเอ็มอี ยังคงดำเนินไปอย่างช้าๆ 

เอปสันในฐานะผู้ผลิตและจัดจำหน่ายพรินเตอร์อันดับหนึ่งของโลก ได้ทำการสำรวจเกี่ยวกับผู้มีอำนาจในการตัดสินใจของกลุ่มธุรกิจเอสเอ็มอี ใน 6 ประเทศอาเซียน พบว่า 3 ใน 4 ของเอสเอ็มอีเริ่มมีการดำเนินงานในเรื่องดิจิทัล ทรานส์ฟอร์เมชั่น ภายในองค์กรแล้ว และ 1 ใน 5 ของเอสเอ็มอี ได้นำดิจิทัล ทรานส์ฟอร์เมชั่นไปใช้กับหลายแผนกและหลายกิจกรรมในธุรกิจของตนเอง 

ถึงแม้ว่าเอสเอ็มอีส่วนใหญ่จะตระหนักดีว่า ดิจิทัล ทรานส์ฟอร์เมชั่น สามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพทางธุรกิจ อีกทั้งยังมีบทบาท สำคัญต่อการเติบโตอย่างยั่งยืนขององค์กร แต่เอปสันกลับพบว่ายังมีอีกหลายปัจจัยที่เป็นตัวชะลอความก้าวหน้าของดิจิทัล ทรานส์ฟอร์เมชั่นในภูมิภาคนี้ คือ การที่เอสเอ็มอีจำนวนมากยังลังเลในการลงทุนกับเทคโนโลยีใหม่ๆ รวมถึงการขาดความรู้และทักษะในการนำเทคโนโลยีไปใช้ ซึ่งหากเป็นเช่นนั้นแล้วเอสเอ็มอีจะสามารถเดินหน้าปฏิบัติการดิจิทัล ทรานส์ฟอร์เมชั่น ภายในองค์กรของตนเองได้อย่างไร   

ในทุกขั้นตอนของการดำเนินธุรกิจ ตั้งแต่การผลิตไปจนถึงการขาย ล้วนแต่ได้รับผลกระทบจากดิจิทัล ทรานส์ฟอร์เมชั่นทั้งสิ้น  

ด้านความท้าทายทางธุรกิจจาก 3 ใน 10 ของเอสเอ็มอี พบว่าสิ่งที่กังวลใจมากที่สุดคือ การที่เทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วและตลอดเวลา จนทำให้เอสเอ็มอีจำนวนมากไม่แน่ใจว่าจะเริ่มเปลี่ยนแปลงธุรกิจในกระบวนการใดก่อน  

นอกจากนั้น ข้อมูลจาก Ernst & Young ยังระบุว่า เอสเอ็มอีในอาเซียนมาก กว่าครึ่งมีการกำหนดแผนงานในการเปลี่ยนแปลงธุรกิจสู่ระบบดิจิทัลไว้แล้ว แต่กลับไม่ได้มุ่งไปในทิศทางเดียวกันกับกลยุทธ์ทางการตลาดหรือมีกลยุทธ์หลายอย่างที่ดำเนินการทับซ้อนกันอยู่แล้วในองค์กรตนเอง

ส่วนปัจจัยสำคัญที่ทำให้เอสเอ็มอีประสบความ สำเร็จใน ยุคดิจิทัล ทรานส์ฟอร์เมชั่น คือ ระบบการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตที่ได้รับการพัฒนาให้สามารถรองรับการใช้งานกับเทคโนโลยีใหม่ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยประเทศไทยถูกจัดให้อยู่ในลำดับที่ 10 ของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกด้านการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและ การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตความเร็วสูง เพราะรัฐบาลให้ความสำคัญกับการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลและอุตสาหกรรม 4.0 ภายใต้วิสัยทัศน์ “ประเทศไทย 4.0” รวมถึงสร้างการเปลี่ยนแปลงด้าน อื่นๆ ที่นำไปสู่การเกิดเศรษฐกิจดิจิทัลด้วย 

 

เส้นทางสู่ยุคดิจิทัล  ทรานส์ฟอร์เมชั่น

อีกปัจจัยหนึ่ง คือ ด้านการศึกษา รัฐบาลในทุกประเทศอาเซียนล้วนแต่ผลักดันเอสเอ็มอีให้ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ด้วยการให้ความรู้ควบคู่ไปกับการให้แรงจูงใจด้านอื่นๆ รวมถึงสร้างศูนย์บ่มเพาะความรู้ด้านเทคโนโลยีขึ้นมาเป็นพี่เลี้ยงให้กับกลุ่มเอสเอ็มอี  

อย่างไรก็ตาม ในประเทศจีน อินโดนีเซีย และ ญี่ปุ่น ยังมีผลสำรวจจาก Accenture ว่าเอสเอ็มอีจำนวนมากยังไม่ตระหนักถึงความสำคัญของออนไลน์แพลทฟอร์ม จึงไม่เน้นลงทุนในส่วนงานขาย การตลาด งานบริการลูกค้า หรือแม้แต่เครื่องมือด้านอี-คอมเมิร์ซ ซึ่งจำเป็นต้องได้รับความรู้และการ กระตุ้นจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรม เช่นเดียวกับที่เอปสันได้จัดงาน Epson’s B2B Ignite educational event ในสิงคโปร์ขึ้นเพื่อแสดงให้เอสเอ็มอีเข้าใจถึงประโยชน์ และความจำเป็นของนวัตกรรมต่อธุรกิจ และสามารถช่วยลดการสร้างผล กระทบต่อสิ่งแวดล้อมได้อย่างไร

 

 

แม้ว่าเทคโนโลยีที่ทันสมัยจะสามารถช่วยให้บรรดาเอสเอ็มอีบรรลุเป้าหมายทางธุรกิจ ได้ดีกว่าการลดต้นทุนในการดำเนินงาน รวมถึงเทคโนโลยีที่พัฒนาได้เร็วขึ้น น่าเชื่อถือมากขึ้น และสร้างผลงานที่มีคุณภาพสูงขึ้น แต่ท่ามกลางสภาพการแข่งขันในปัจจุบัน  เทคโนโลยีอันทันสมัยเหล่านี้จำเป็นต้องทำงานเชื่อมต่อกับเทคโนโลยีเดิมที่ใช้งานอยู่ได้อย่างไร้รอยต่อ โดยไม่กระทบกระเทือนต่อการดำเนินงานในปัจจุบัน และพนักงานสามารถใช้งานได้ง่าย 

อาทิเช่น การเลือกใช้เครื่องพิมพ์แท็งค์แท้ ที่ทำให้บริษัทสามารถพิมพ์งานได้มากกว่า ด้วยหมึกที่สามารถเติมได้เรื่อยๆ และยังลดต้นทุนการพิมพ์ได้มากขึ้นเมื่อเทียบกับพรินเตอร์เลเซอร์ หรือจะเป็นพรินเตอร์มัลติฟังก์ชั่นอัจฉริยะที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมโดยสามารถเก็บ ข้อมูลเชิงลึกในเรื่องการใช้งานภายในสำนักงาน พร้อมกับโซลูชั่นการพิมพ์แบบ Subscription Base ที่ช่วยให้บริษัทลดต้นทุน เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน และทำงานได้อย่างยั่งยืน

เศรษฐกิจดิจิทัล คือ โอกาสสำคัญสำหรับภูมิภาคอาเซียน ที่จะทำให้เอสเอ็มอีได้รับประโยชน์จากการลงทุนในการทำดิจิทัล ทรานส์ฟอร์เมชั่น ดังนั้นพนักงาน คือ หัวใจสำคัญ ที่จะต้องได้รับการฝึกฝนในการใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ รวมถึงโซลูชั่นที่เลือกมาใช้ภายในองค์กรเอง ต้องสามารถยกระดับการทำงานของพนักงานได้  

 

 

ถึงแม้ว่าเอสเอ็มอีจะไม่สามารถจัดการกับช่วงเวลาดาวน์ไทม์ได้ซึ่งเป็นผลมาจากการรับเอาเทคโนโลยีใหม่เข้ามา ดังนั้น ปัจจัยสำคัญในการเลือกใช้โซลูชั่น ที่จะทำให้เกิดดาวน์ไทม์น้อยที่สุด และช่วยรองรับการบริการของผู้ใช้งานจำนวนมากได้จึงเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด

ด้วยเอสเอ็มอีที่มีอยู่ถึง 89-99% ของวงการธุรกิจในอาเซียน จึงเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งสำหรับองค์กรเหล่านี้ ที่จะนำเอา ดิจิทัล ทรานส์ ฟอร์เมชั่น มาปรับเปลี่ยนโครง สร้างทางธุรกิจ โดยเจ้าของธุรกิจจะต้องได้รับความรู้อย่างต่อเนื่อง แต่ยังมีโครงการระหว่างประเทศมากมายที่ยังคงต้องได้รับความร่วมมือจากภาคอุตสาหกรรม รัฐบาล และสถาบันการศึกษา ที่จะช่วยเป็นสะพานเชื่อมต่อในการช่วยลดช่องว่างเดิมที่มีอยู่