ส่งการบ้าน “บิ๊กตู่” ชี้เป้าพื้นที่เสี่ยงขาดน้ำการเกษตร

01 มิ.ย. 2563 | 01:46 น.

“นายกสมาคมฯ ชาวนา" คึกนำทีมสำรวจน้ำเกษตรในแหล่งพื้นที่ปลูกข้าวสำคัญของไทย เตรียมส่งการบ้านบิ๊กตู่ หลังได้รับมอบภาระหน้าที่สำคัญชี้จุดชาวนาต้องการพัฒนาแหล่งน้ำตรงไหน หวังตอบโจทย์นำพาชีวิตชาวนาพ้นสู่ความยากจน

สืบเนื่องจากเมื่อวันที่ 13 พ.ค.2563 ที่ผ่านมา พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้มีหนังสือถึงนายกสมาคมชาวนาและเกษตรกรไทย เพื่อฟังสถานการณ์ปัจจุบันในภาคธุรกิจโดยตรงอย่างตรงไปตรงมา รวมถึงความเดือดร้อนและข้อเสนอต่อรัฐบาลเกี่ยวกับความช่วยเหลือต่อภาคธุรกิจในระยะเร่งด่วน ในช่วงที่ประเทศไทยกำลังเผชิญกับสถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 ซึ่งเป็นวิกฤติการณ์เลวร้ายของประเทศและของโลก ดังนั้นข้อมูลดังกล่าวนี้ได้แล้วมาจะมีประโยชน์ต่อการพิจารณามาตรการต่างๆของรัฐบาลให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น นั้น

ส่งการบ้าน “บิ๊กตู่” ชี้เป้าพื้นที่เสี่ยงขาดน้ำการเกษตร

นายปราโมทย์ เจริญศิลป์ นายกสมาคมชาวนาและเกษตรกรไทย เผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” จากการที่นายกรัฐมนตรีได้ลงมาพบปะสมาคมชาวนาและเกษตรกรไทยในวันนั้น ได้ชี้แจงท่านนายกรัฐมนตรี ให้ท่านได้รับทราบถึงสิ่งที่เกษตรกร กังวลใจมากที่สุด มากกว่าโควิด นั่นคือปัญหา การขาดแคลนน้ำ โดยในเบื้องต้น ท่านนายกรัฐมนตรีไดัหารือกับสมาคมฯ ในการหาวิธีการรับมือกับสถานการณ์น้ำในช่วงนี้ก่อน และมอบหมายให้สมาคมชาวนาและเกษตรกรไทย เสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาฯอย่างตรงจุด กับท่านโดยตรงจึงเป็นที่มาของ ทีมสำรวจปัญหาภัยแล้งและแนวทางการช่วยเหลือ แก้ไข ตามยุทธศาสตร์สมาคมฯ ในเรื่องการศึกษาพัฒนาและการบริหารจัดการปัจจัยการผลิตในหัวข้อการพัฒนาแหล่งน้ำ เพื่อให้เป็นไปตามความต้องการของเกษตรกรโดยใช้ภูมิศาสตร์เป็นตัวตั้ง

เช่น 1.การบริหารจัดการแหล่งน้ำในพื้นที่ปลูกข้าวหอมมะลิทุ่งกุลา มหาสารคาม ร้อยเอ็ด 2. การบริหารจัดการแหล่งน้ำในพื้นที่ปลูกข้าวพื้นนุ่มลุ่มแม่น้ำปิงตอนล่าง กำแพงเพชร นครสวรรค์ 3. การบริหารจัดการแหล่งน้ำเพื่อการอุปโภค บริโภค และเกษตรกรรมในพื้นที่แล้งซ้ำซาก นครราชสีมา

ส่งการบ้าน “บิ๊กตู่” ชี้เป้าพื้นที่เสี่ยงขาดน้ำการเกษตร

4.การบริหารจัดการแหล่งน้ำเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพเกษตรกรรมการส่งออกในพื้นที่รับน้ำลุ่มน้ำเจ้าพระยา พระนครศรีอยุธยา และสุพรรณบุรี 5.การบริหารจัดการแหล่งน้ำเพื่ออุปโภค บริโภค และเกษตรกรรม ในพื้นที่ที่มีอัตลักษณ์ภูมิศาสตร์โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ในหลายจังหวัด เช่น ชัยภูมิ พิษณุโลก ขอนแก่น เพื่อจัดทำแผนปฏิบัติที่ตรงจุด นำเสนอให้ท่านนายกรัฐมนตรีพิจารณาเป็นกรณีพิเศษ โดยทีมเฉพาะกิจลงมือปฏิบัติการร่วมกับพี่น้องสมาชิกสมาคมฯและ "ผู้นำท้องถิ่น" ที่เข้าใจในและ ยินดีปฏิบัติตามความต้องการของประชาชน

อนึ่งทีมสำรวจปัญหาและแนวทางการแก้ไข ตามความต้องการของเกษตรกร มุ่งเน้นความเดือดร้อนของสมาชิกเป็นตัวตั้ง และความต้อวการ พัฒนาแหล่งน้ำ ของชุมชนโดยขุมขน และหลักภูมิศาสตร์ในพื้นที่เป็นองค์ประกอบ ซึ่งจะสามารถปฏิบัติการแก้ไขได้ทันที รวมถึงการวางแนวทาง เพื่อพัฒนาแหล่งน้ำในระยะยาวเพื่อเป็นการเตรียมพร้อมในการรับมือภัยธรรมชาติในอนาคตอีกทั้งได้เก็บข้อมูลสถานการณ์ และการคาดการณ์ปริมาณการผลิตข้าวในแต่ละพื้นที่เพื่อเป็นข้อมูลอีกหนึ่งภารกิจด้วย

ส่งการบ้าน “บิ๊กตู่” ชี้เป้าพื้นที่เสี่ยงขาดน้ำการเกษตร

คณะทีมงานเฉพาะกิจสมาคมชาวนาและเกษตรกรไทย(ฉก.1) ที่ร่วมเดินทางในครั้งนี้มีผม คุณธีรสินทร์ ธนชวโรจน์ ลขาธิการสมาคมฯ,คุณนายสานิตย์ จิตต์นุพงศ์ ประธานยุทธศาสตร์สมาคมฯ และทีมชาวนายังสมาร์ท ซึ่งการการสำรวจพื้นที่แห้งแล้งต้องการให้ขุดลอก ขุดเจาะบ่อบาดาล ได้รับนโยบายมาจากพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เพื่อจะนำเรื่องความเดือดร้อนส่งให้นายกรัฐมนตรีต่อไป

สำหรับการเดินทางในครั้งนี้ใช้ระยะเวลา 6 วัน เริ่มเดินทางตั้งแต่วันแรก (วันที่ 26 พ.ค.2563)  มุ่งหน้าสู่อีสานใต้ จังหวัดบุรีรัมย์ สำรวจพื้นที่ความเดือดร้อน อำเภอ หนองกี่ โครงการปรับปรุงพัฒนา และบริหารจัดการแหล่งน้ำทุ่งกระเต็น จำนวนพื้นที่ 2,450 ไร่เกษตรกรได้รับผลประโยชน์ 166,056 ไร่

จากนั้นก็ขับรถมุ่งหน้าไป จังหวัด มหาสารคาม เพื่อชมโครงการขุดลอกคลอง คลองใส่ไก่  บ้านเมืองเตา ตำบลเมืองเตา อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม เพื่อส่งน้ำจากลำเตาและลำพลับพลาให้กับพื้นที่ ข้าวหอมมะลิ ทุ่งกุลา (ข้าวหอมมะลิ GI)เกษตรกรของสมาชิกที่จะได้รับผลประโยชน์  3,500 ไร่ จำนวน 300 ครัวเรือน เป็นแหล่งข้าวปลูกมะลิสำคัญ ควรที่จะให้ความสำคัญกับการพัฒนาแหล่งน้ำ

วันที่สอง (27 พ.ค.2563) ไป “ร้อยเอ็ด” เพื่อดูโครงการ เก็บกักน้ำแก้มลิง อำเภอ ปทุมรัตต์  และ จังหวัดกาฬสินธุ์ ซึ่งเป็นโครงการ บ่อบาดาลพลังงานแสงอาทิตย์   ตำบลนาจารย์ อำเภอ เมือง และ ตำบล สมเด็จ อำเภอ สมเด็จ กาฬสินธุ์ ถัดมา จังหวัดขอนแก่นโครงการขุดลอกแก่งกุดโดก ตำบล พระบุ อำเภอ พระยืน ขอนแก่น พื้นที่ 1462 ไร่ พื้นที่ได้รับประโยชน์ 7,000 ไร่เป้าที่6  ชัยภูมิ กรณีศึกษา น้ำลอดชีโครงการผันน้ำจากเขื่อนพระอาจารย์จื่อ รอดแม่น้ำชีมาบึงเปลื่อยและขุดลอกคลองใส้ไก่ในพื้นที่เกษตรกร  

ส่งการบ้าน “บิ๊กตู่” ชี้เป้าพื้นที่เสี่ยงขาดน้ำการเกษตร

รวมถึงพื้นที่ ตำบลตลาดแล้ง ตำบลบ้านเขว้า ตำบลลุ่มลำชี และสามารถส่งต่อถึงอำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ ผลประโยชน์พื้นที่ที่ได้รับ ตำบลตลาดแล้ง  17,400 ไร่ ตำบลบ้านเขว้า  22,400 ไร่ ตำบลลุ่มลำชี  24,780 ไร่ รวมพื้นที่ทั้งหมด  64,580 ไร่ ,ขุดลอกบึงกุดน้ำใสเนื้อที่ 72 ไร่ พื้นที่ทำการเกษตร 200 ไร่ หมู่16 บ้านโนนเปลื่อย ตำบลตลาดแล้ง อำเภอบ้านเขว้า จังหวัดชัยภูมิ ขุดลอกคลองใส่ไก่ ขุดลอกคลองใส่ไก่  ตำบลตลาดแล้ง ขุดลอกคลองใส่ไก่  ตำบลบ้านเขว้า         ขุดลอกคลองใส่ไก่  ตำบลลุ่มลำชี ,โครงการขุดลอกหนองผือ บ้านดงเก่า ตำบลบ้านโต้น-โนนสมบูรณ์ อำเภอ บ้านแฮด ขอนแก่น พื้นที่ 35 ไร่ พื้นที่ได้รับประโยชน์ 400 ไร่ ในพื้นที่ดังกล่าวแม้ว่าจะมีโครงการต่างๆ แต่ยังไม่เพียงพอ เนื่องจากชาวนาในกลุ่มนี้พึ่งพิงน้ำฝนเพียงอย่างเดียวทำให้ชีวิตมีความอยู่ยากลำบากจ

วันที่สาม (วันที่ 28 พ.ค.63) มุ่งหน้าสู่จังหวัดนครราชสีมา เพื่อไปชมกรณีศึกษา บูรณาการการบริหารจัดการน้ำบริโภคและน้ำเพื่อการเกษตร อย่างยั่งยืน ตำบล   อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา โครงการขุดลอกลำห้วยโตน ม.3 ต.พลสงคราม อ.โนนสูง จ.นครราชสีมา จำนวนพื้นที่ 25 ไร่ ผลประโยชน์ที่ชาวนาได้รับ 3,000 ไร่ โครงการขุดบ่อบาดาลพลังงานแสงอาทิตย์ห้วยโตน โครงการขุดลอกสระน้ำ ( สระเพลง ) ม.1 ต.พลสงคราม อ.โนนสูง จ.นครราชสีมา ขนาดสระ 40 ไร่ น้ำเพื่อการบริโภค ปรับปรุงการปิดเปิดประตูระบายน้ำห้วยโตน

ส่งการบ้าน “บิ๊กตู่” ชี้เป้าพื้นที่เสี่ยงขาดน้ำการเกษตร

โครงการขุดลอกห้วยลำระเริง ม.15 ต.พลสงคราม อ.โนนสูง จ.นครราชสีมา จำนวนพื้นที่ 30 ไร่ โครงการขุดลอกห้วยหนองห่าน ม.9 ต.พลสงคราม อ.โนนสูง จ.นครราชสีมา จำนวนพื้นที่ 40 ไร่ โครงการขุดลองอ่างเก็บน้ำรำชะเนียง ม.9 ต.พงสงคราม อ.โนนสูง จ.นครราชสีมา ขนาดพื้นที่ 300 ไร่ ผลประโยชน์ที่เกษตรกรได้รับโครงการขุดลอกห้วยลำระเริง,ห้วยหนองห่าง,อ่างเก็บน้ำรำชะเนียง พื้นที่เกษตรกรรมที่จะได้รับประโยชน์จากโครงการ รวม จำนวน 16,000 ไร่

วันที่สี่ (วันที่ 29 พ.ค.63)  เป้าหมายจังหวัดพิษณุโลก ประเด็น ลุ่มแม่น้ำน่าน การกักเก็บน้ำในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมือง อำเภอ บางกระทุ่ม จังหวัดพิษณุโลก โครงการขุดบ่อบาดาล 4 บ่อ บ่อที่ 1 ม.10 ต.วัดพริกและ ม.4 ต.งิ้วงาม บ่อที่ 2 ม.1-4 ต.วัดพริก  บ่อที่ 3 ม.10 ต.ท่าช้า อ.พรมพิราม บ่อที่ 4 ม.6 ต.วัดพริก

โครงการขุดลองแก้มลิง 6 แหล่ง 1.แก้มลิงหนองปลาช้อน ม.8 ต.วัดพริก  2.แก้มลิงศาลาโดดน้ำ ม.10 ต.วัดพริก  3.แก้มลิงหนองปลากาย ม.10 ต.วัดพริก 4.แก้มลิงหนองยายขวัญ ม.3 ต.งิ้วงาม อ.เมือง5.ขุดลอกคลองบางนาลำใด  ม.4 ม.6 ม.10 ต.งิ้วงาม 6.ขุดลองบึงฉลุ และ ขุดบ่อบาดาลพลังงานแสงอาทิตย์ 2 จุด ม.9 ต.หนองป่าหมาก อ.บางกระทุ่ม

ช่วงเย็นมาปิดท้ายวันที่ ดำเนินการลงพื้นที่สำรวจชี้เป้าจุดที่มีปัญหาเรื่องน้ำสำหรับเกษตรกร จังหวัดกำแพงเพชร

ประเด็น  ลุ่มแม่น้ำปิงตอนล่าง กรีนแลนด์ กำแพงเพชรโมเดล เฟส1  ประกอบด้วย 1 โครงการบูรณาการน้ำเพื่อการเกษตร ตำบล แสนตอ อำเภอ ขาณุวรลักษบุรี  พื้นที่เกษตรกรรมที่ ได้รับประโยชน์ 10,000 ไร่ , โครงการขุดลอกคลองโนนมะค่า ม.7 ต.แสนตอ , โครงการ ขุดลอกคลองอ้ายเจ๊ก ช่วงที่2 ม.7 ต.แสนตอ , โครงการ เจาะบ่อบาดาล พร้อมติดตั้งแผงโซล่าเซล จำนวน 4 จุด ,อ่างเก็บน้ำหนองเชือก ม.4 บ้านเกาะสามสิบ,อ่างเก็บน้ำสระหลวง ม.6 บ้านหนองเหมือด,อ่างเก็บน้ำหนองยายเพชร ม.7 บ้านหนองเหมืด,คลองไส้ไก่ หน้าบ้านผู้ใหญ่ประทุม คำเลิศ ม.3 ต.แสนตอ

2 โครงการ เจาะบ่อบาดาลพลังงานแสงอาทิตย์ ดำบล ปางมะค่า อำเภอ ขาณุวรลักษบุรี พื้นที่ได้รับประโยชน์ 500 ไร่},โครงการ เจาะบ่อบาดาลพลังงานแสงอาทิตย์ เพื่อสร้างรายได้ด้วยพืชหลังนา ตำบลเทพนิมิต อำเภอบึงสามัคคี พื้นที่ได้รับประโยชน์ 500 ไร่

ส่งการบ้าน “บิ๊กตู่” ชี้เป้าพื้นที่เสี่ยงขาดน้ำการเกษตร

วันที่5 (วันที่ 30 พ.ค.2563) ไปจังหวัดสุพรรณบุรี ประเด็น แม่น้ำท่า 1 โครงการ บูรณาการน้ำเพื่อการเกษตร ขุดลอกและเจาะบ่อบาดาลพร้อมติดตั้งแผงโซล่าเซลบึงวังจรเข้ พื้นที่19 ไร่ ม.5 ต.บ้านโพธิ์ อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี 2 โครงการเจาะบ่อบาดาลพร้อมติดตั้งแผงโซล่าเซล ม.6 ต.บ้านโพธิ์ อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี รวมทั้ง2 โครงการ พื้นที่เกษตรกรรมที่จะได้รับประโยชน์ 5,000 ไร่

จากนั้นไปที่จังหวัด พระนครศรีอยุธยา ประเด็น พื้นที่รับน้ำ ลุ่มเจ้าพระยา พระนครศรีอยุธยาโครงการก่อสร้างประตูระบายน้ำไซฟอนปากคลองไร่แตงรอดคลองชลประทานผักไห่เจ้าเจ็ด ม.7 ต.หังเวียง อ.เสนา จ.พระนครศรีอยุธยา ผลประโยชน์ที่ได้รับ 20,000 ไร่ โครงการก่อสร้างประตูระบายน้ำไซฟอนปากคลองโพธิ์รอดคลองชลประทานผักไห่เจ้าเจ็ด ต.บ้านโพธิ์ อ.เสนา จ.พระนครศรีอยุธยา ผลประโยชน์ที่ได้รับ 20,000 ไร่ โครงการขุดลอกรางจระเข้ ต.ลาดชิด ต.ลาดงา ต.หัวเวียง ต.บ้านโพธิ์ ต.รางจรเจ้ อ.เสนา จ.พระนครศรีอยุธยา ผลประโยชน์ที่ได้รับ15,000 ไร่

ส่งการบ้าน “บิ๊กตู่” ชี้เป้าพื้นที่เสี่ยงขาดน้ำการเกษตร

โครงการขุดลอกบึงฉลามพร้อมเจาะบาดาลพลังงานแสงอาทิตย์ขนาด 8 นิ้ว เพื่อทำการเกษตร ม.2 ต.บ้านลี่ อ.บางปะหัน จ.พระนครศรีอยุธยา ผลประโยชน์ที่ได้รับ 1,500 ไร่ โครงการขุดลอกดินตะกอนพร้อมกำจัดวัชพืชเพื่อเปิดทางน้ำ ม.4 ม.6 ต.สิงหนาท อ.ลาดบัวหลวง จ.พระนครศรีอยุธยา ผมประโยชน์ที่ได้รับ 1,200 ไร่ โครงการขุดลอกดินตะกอนพร้อมกำจัดวัชพืชเพื่อเปิดทางน้ำ ม.2 ม.5 ม.7 ต.สิงหนาท อ.ลาดบัวหลวง จ.พระนครศรีอยุธยา ผลประโยชน์ที่ได้รับ 1,300 ไร่โครงการขุดลอกคลองวัดอู่สำเภา ม.4 ต.มารวิชัย อ.เสนาเชื่อมต่ออ.ลาดบัวหลวง ผลประโยชน์ที่ได้รับ 30,000 ไร่

มาปิดท้า วันที่ 6( วันที่ 31 พ.ค.2563)วันที่6 เป้าหมายที่เขตหนองจอก ประเด็น คลองชลประทาน กรุงเทพมหานคร  โครงการ ขุดลอกคลองในเขตหนองจอก และการวางระบบบานปิด-เปิดให้เป็นระบบ Stop Lock

ส่งการบ้าน “บิ๊กตู่” ชี้เป้าพื้นที่เสี่ยงขาดน้ำการเกษตร

นายปราโมทย์กล่าวย้ำในช่วงท้าย เพื่อจัดทำแผนปฏิบัติที่ตรงจุด นำเสนอให้ท่านนายกรัฐมนตรีพิจารณาเป็นกรณีพิเศษ โดยทีมเฉพาะกิจลงมือปฏิบัติการร่วมกับพี่น้องสมาชิกสมาคมฯและ "ผู้นำท้องถิ่น" ที่เข้าใจในและ ยินดีปฏิบัติตามความต้องการของประชาชน ซึ่งทีมสำรวจปัญหาและแนวทางการแก้ไข ตามความต้องการของเกษตรกร มุ่งเน้นความเดือดร้อนของสมาชิกเป็นตัวตั้ง และความต้อวการ พัฒนาแหล่งน้ำ ของชุมชนโดยขุมขน และหลักภูมิศาสตร์ในพื้นที่เป็นองค์ประกอบ ซึ่งจะสามารถปฏิบัติการแก้ไขได้ทันที รวมถึงการวางแนวทาง เพื่อพัฒนาแหล่งน้ำในระยะยาวเพื่อเป็นการเตรียมพร้อมในการรับมือภัยธรรมชาติในอนาคต