"เยียวยาเกษตรกร" พ่นพิษ แฉ "ขรก.-รัฐวิสาหกิจ" รับเงิน 5,000

27 พ.ค. 2563 | 07:30 น.

สะพัด ก.คลังปล่อยผี “ข้าราชการ-รัฐวิสาหกิจ” รับเงินเยียวยาเกษตรกร 5,000 บาท นอกกลุ่มจ่ายเงินเดือน กรมบัญชีกลาง ยุ “เกษตรกร” ฟ้อง ครม. ไม่เป็นธรรม สั่ง เรียกคืนเงินเยียวยา ไม่กระทบโควิด ยังมีรายได้ประจำ

“ฐานเศรษฐกิจ” ยังคงแกะรอยการจ่าย "เงินข้าราชการ" ที่ ไม่ได้รับเงินเดือนจากกรมบัญชีกลาง ตัวเลขยังไม่ชัดเจน ว่าในกลุ่มนี้ ทางสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) ได้คัดแยก แล้วก็ส่งให้กรมบัญชีกลาง เป็นผู้ตรวจสอบ หรือไม่ ตามหลักของกระทรวงคลังจะสอบความซ้ำซ้อนรายชื่อตามมติ ครม. ไม่ซ้ำซ้อนกับมาตรการ "เราไม่ทิ้งกัน" ประกันสังคม ข้าราชการบำนาญ และ ครม.ได้เห็นชอบไปสดๆ ร้อนก็คือ ข้าราชการประจำที่ทำเกษตรเป็นอาชีพรอง จะไม่ได้รับสิทธิ์เยียวยาเกษตรกร

"เยียวยาเกษตรกร" พ่นพิษ แฉ "ขรก.-รัฐวิสาหกิจ" รับเงิน 5,000

ล่าสุด ได้มีการตรวจพบข้อมูลจากสำนักงานเกษตรอำเภอนาแก กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์  ที่ได้พบข้อมูลว่ามีการจ่ายเยียวยาข้าราชการที่ได้รับเงินเดือนจากองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) และองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) ซึ่งไม่ได้รับเงินเดือนจากกรมบัญชีกลาง มีหลายคนที่ได้รับเงินไปเรียบร้อยแล้ว กลุ่มนี้ยังไม่ทราบตัวเลขแน่ชัด

ผู้สื่อข่าวได้โทรไปสอบถาม เลขาสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์  ก็ติดต่อไป 2 รอบแล้ว ไม่รับสายว่าได้คัดแยกกลุ่มนี้ออกมานอกกลุ่มเหมือน ข้าราชการประจำ ที่มีอาชีพเกษตรกร เป็นอาชีพรอง หรือไม่  ซึ่งหากได้รับคำตอบยืนยันจาก เลขา สศก. จะนำมารายงานเสนอต่อไป

ในระหว่างรอคำตอบ จึงได้ค้นหาในกูเกิ้ล ก็พบว่า คำว่า “เจ้าหน้าที่ของรัฐ” จาก สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน ได้ให้คำจำกัดความ หมายว่า ข้าราชการ พนักงาน ลูกจ้าง หรือบุคคลผู้ปฏิบัติงานในหน่วยราชการ หน่วยงาน หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น และเจ้าพนักงาน ตามกฎหมายว่าด้วยลักษณะปกครองท้องที่

หากจะนำมาแยกให้ชัดเจน ประเภทของข้าราชการ ของประเทศไทย มีดังนี้

1.ข้าราชการพลเรือนสามัญ = คือ ข้าราชการที่ปฏิบัติหน้าที่ราชการในกระทรวง ทบวง กรมฝ่ายพลเรือน ซึ่งได้รับการบรรจุแต่งตั้งตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน (ฉบับปัจจุบันคือ พ.ศ. 2551) แบ่งออกเป็นประเภทย่อย 4 ประเภท คือ ประเภทบริหาร ประเภทอำนวยการ ประเภทวิชาการ และประเภททั่วไป

2. ข้าราชการพลเรือนในพระองค์ = คือ ข้าราชการพลเรือนในสังกัดสำนักพระราชวัง และสำนักราชเลขาธิการ มีหน้าที่เกี่ยวกับงานในพระองค์พระมหากษัตริย์ ซึ่งได้รับการบรรจุแต่งตั้งตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน

3.ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา = ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา คือ ข้าราชการพลเรือนในสังกัดสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ ในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ แต่ไม่รวมถึงสถานศึกษาของรัฐที่มิใช่ส่วนราชการ ซึ่งได้รับการแต่งตั้งตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา แบ่งออกเป็นประเภทย่อย 3 ประเภท คือ ประเภทวิชาการ ประเภทผู้บริหาร และประเภททั่วไป

 4.ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา = ครู อาจารย์ ที่อยู่ตามโรงเรียนของรัฐ

5. ข้าราชการตำรวจ = ตำรวจ เป็นชื่อเรียก เจ้าหน้าที่ของรัฐ มีหน้าที่ตรวจตรารักษาความสงบ จับกุม และปราบปรามผู้กระทำผิดกฎหมาย เรียกชื่อตามหน้าที่รับผิดชอบ เช่น ตำรวจกองปราบ ตำรวจดับเพลิง ตำรวจน้ำ ตำรวจตระเวนชายแดน ตำรวจรถไฟ ตำรวจป่าไม้ ตำรวจจราจร ตำรวจนครบาล ตำรวจทางหลวง ตำรวจภูธร ตำรวจลับ ตำรวจวัง ตำรวจสภา ตำรวจสันติบาล ตำรวจหลวง

6.ข้าราชการทหาร = ทหารในประเทศไทย จำแนกออกเป็น ทหารบก ทหารเรือ และทหารอากาศ

7. ข้าราชการฝ่ายตุลาการ = ตุลาการ เป็นชื่อข้าราชการประเภทหนึ่ง เรียกว่า "ข้าราชการตุลาการ" ส่วนผู้พิพากษาเป็นตำแหน่งของข้าราชการตุลาการ แต่ในศาลปกครองและศาลรัฐธรรมนูญนั้น คำว่า ตุลาการ ใช้เรียกเป็นชื่อข้าราชการและเป็นตำแหน่งด้วย สำหรับศาลยุติธรรมนั้น คำว่า ข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม นี้รวมถึง ดะโต๊ะยุติธรรมและข้าราชการธุรการที่ปฏิบัติงานให้แก่ฝ่ายตุลาการด้วยที่เรียกว่า ข้าราชการศาลยุติธรรม

8. ข้าราชการฝ่ายอัยการ = คือ ผู้ปฏิบัติหน้าที่ในฐานะทนายแผ่นดิน เพื่ออำนวยความยุติธรรม รักษาผลประโยชน์ของรัฐ และคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน

9.ข้าราชการฝ่ายรัฐสภา = ข้าราชการฝ่ายรัฐสภามี 2 ประเภท

(1) ข้าราชการรัฐสภาสามัญ ได้แก่ ผู้ซึ่งรับราชการในตำแหน่งประจำ โดยได้รับเงินเดือนในอัตราสามัญ และได้รับเต่งตั้งตามที่บัญญัติไว้ในหมวด 3 และมีคุณสมบัติเบื้องต้นตามมาตรา 24

(2). ข้าราชการรัฐสภา = คือ ฝ่ายการเมือง ได้แก่ ผู้ซึ่งรับราชการในตำแหน่งการเมืองของรัฐสภา แบ่งได้ 2 ประเภท ดังนี้...

- ข้าราชการรัฐสภาสามัญ ได้แก่ ผู้ซึ่งรับราชการในตำแหน่งประจำ โดยได้รับเงินเดือนในอัตราสามัญ และได้รับเต่งตั้งตามที่บัญญัติไว้ในหมวด 3 และมีคุณสมบัติเบื้องต้นตามมาตรา 24

- ข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมือง ได้แก่ ผู้ซึ่งรับราชการในตำแหน่งการเมืองของรัฐสภา มาตรา 61

10.ข้าราชการส่วนท้องถิ่น = ข้าราชการส่วนท้องถิ่น คือ ข้าราชการ พนักงานผู้ปฏิบัติงานในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยการคัดเลือกเพือบรรจุแต่งตั้งนั้น จะดำเนินการในแต่ละจังหวัดโดยอิสระจากกัน อันได้แก่

- ข้าราชการกรุงเทพมหานคร

- ข้าราชการส่วนจังหวัด

- พนักงานเทศบาล

- พนักงานส่วนตำบล

แหล่งข่าวกระทรวงการคลัง เผยว่า ยอมรับว่าเป็นจุดอ่อนของโครงการ เยียวยาเกษตรกร ป้องเฉพาะคนที่มี ประกันสังคมดูแล ข้าราชการบำนาญ โครงการเราไม่ทิ้งกัน ล่าสุด ข้าราชการที่มีงานประจำ แต่ก็ไปผูกมัดกับเงินเดือนจากกรมบัญชีกลาง เท่านั้น  ซึ่ง ในส่วนเกษตรกรจะต้องฟ้องร้อง ให้ ครม. มีมติออกมา เพื่อที่จะกันบุคคลเหล่านี้ที่ไม่ได้รับเงินเยียวยาเกษตรกร ไม่เป็นธรรม มีงานประจำ ก็ต้องให้เรียกเงินเยียวยา คืนกลับ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ทำไม “ข้าราชการ” ได้รับเงิน เยียวยาเกษตรกร

www.เยียวยาเกษตรกร.com ตรวจสอบเงินเยียวยาเกษตร ตรวจสอบสถานะ ตรวจสอบสิทธิ์ เช็กอัพเดทล่าสุดที่นี่