CPF ยกระดับสูงสุดฝ่ายผลิต สร้างเชื่อมั่นผู้บริโภค-พนง.ปลอดโควิด

19 พ.ค. 2563 | 13:14 น.

CPF ยกระดับการผลิต Feed-Farm-Food ขั้นสูงสุด สร้างความเชื่อมั่นผู้บริโภคและพนักงานปลอดโควิด พร้อมตั้งศูนย์ฮอตไลน์ ให้พนักงานใช้สื่อสารสอบถามข้อมูลและแจ้งอาการป่วยได้ตลอด 24 ชั่วโมง

รายงานจากบริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ หนึ่งในผู้ผลิตอาหารชั้นนำระดับโลก เผยว่า บริษัทได้ตระหนักถึงความสำคัญของผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ได้ยกระดับมาตรการการป้องกันโรค ความปลอดภัยด้านอาหาร ตลอดห่วงโซ่ Feed-Farm-Food(อาหารสัตว์-ฟาร์มเลี้ยงสัตว์-อาหารคน)  พร้อมดูแลสุขอนามัยทั้งของพนักงานและโรงงานอย่างเคร่งครัด สอดคล้องกับแนวปฏิบัติขององค์การอนามัยโลก(WHO) กรมควบคุมโรค กรมอนามัย และกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์

 

บริษัทฯ ยังได้ศึกษาและถอดบทเรียนจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในประเทศจีน พร้อมทั้งปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญด้านโรคระบาด เพื่อให้สามารถกำหนดมาตรการความปลอดภัยได้อย่างเหมาะสมตามมาตรฐานสากล เพื่อสร้างความเข้มแข้งในกระบวนการผลิตอาหารให้มีความต่อเนื่องตลอดห่วงโซ่การผลิตตั้งแต่ Feed-Farm-Food เพื่อสร้างความเชื่อมั่นในการบริโภคอาหารปลอดภัยว่าและจัดส่งสินค้าถึงมือผู้บริโภคอย่างเพียงพอ

 

ซีพีเอฟ ยังกำหนดระยะห่างทางสังคม (Social Distancing) และระยะห่างทางบุคคล (Physical Distancing) เป็นแนวทางปฏิบัติที่เคร่งครัด เพื่อช่วยลดความเสี่ยงของการแพร่ระบาดในโรงงานแปรรูปอาหารมากที่สุด ตั้งแต่การเดินทางของพนักงาน บริษัทฯ เพิ่มจำนวนรถรับส่งพนักงาน เพื่อให้ได้นั่งบนรถแบบเว้นระยะห่างอย่างน้อยประมาณ 1 เมตร ตามคำแนะนำของ WHO รวมทั้ง กำหนดระยะห่างในจุดที่เสี่ยงมากที่สุด คือ โรงอาหาร โดยการเพิ่มระยะเวลาช่วงพักกลางวัน เพื่อให้มีระยะห่างในรับประทานอาหาร การยืนรอคิว รวมไปการกำหนดจุดที่นั่งพัก งดกิจกรรมการตรวจเยี่ยมโรงงานและฟาร์มของบุคคลภายนอก และมีการตรวจคัดกรองลูกค้าและผู้รับเหมาอย่างเคร่งครัด เพื่อความปลอดภัยสูงสุดของพนักงานทุกคน

CPF ยกระดับสูงสุดฝ่ายผลิต สร้างเชื่อมั่นผู้บริโภค-พนง.ปลอดโควิด

CPF ยกระดับสูงสุดฝ่ายผลิต สร้างเชื่อมั่นผู้บริโภค-พนง.ปลอดโควิด

สำหรับโรงงานแปรรูปอาหารของบริษัทฯ มีการติดตั้งประตูสแกนอุณหภูมิร่างกายแบบเดินผ่าน (Walk-through body temperature scanner) ช่วยคัดกรองอุณหภูมิพนักงานทุกคนได้แม่นยำยิ่งขึ้น ตลอดจนการปฏิบัติตนตามหลักสุขอนามัยอย่างเคร่งครัด ทั้งการใส่หน้ากากอนามัยและหมั่นล้างมือเป็นประจำ การเพิ่มความถี่ในการทำความสะอาดด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อพื้นที่และจุดที่สัมผัสบ่อย ทำ Big Cleaning Day และพ่นยาฆ่าเชื้อสม่ำเสมอ รวมทั้งเพิ่มการขนส่งแบบไร้การสัมผัสมือด้วยระบบสายพาน

CPF ยกระดับสูงสุดฝ่ายผลิต สร้างเชื่อมั่นผู้บริโภค-พนง.ปลอดโควิด

นอกจากนี้ ยังได้จัดตั้ง “ศูนย์ฮอตไลน์ โควิด19” (CPF Covid-19 hotline) เป็นช่องทางพิเศษเพื่อให้พนักงานได้สื่อสารกับบริษัทโดยตรงทั้งสอบถามข้อมูลและแจ้งอาการป่วยได้ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อทำความเข้าใจพนักงานทุกคนทุกระดับ เพื่อให้พนักงานทุกคนมั่นใจความปลอดภัยในการทำงานร่วมกันอย่างต่อเนื่อง และจัดให้มีล่ามแปลภาษาเมียนมาและกัมพูชาเพื่อให้พนักงานต่างชาติรู้และเข้าใจสามารถปฏิบัติตามมาตรการของบริษัทฯได้

 

ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้คำแนะนำผู้ที่เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมอาหาร ว่า  สิ่งที่เรากลัวที่สุดคือการระบาดของโรคโควิด- 19 ในโรงงานเพราะเป็นสถานที่รวมของคนจำนวนมาก จึงจำเป็นต้องมีการวางแผนเตรียมการที่ดี อย่างเช่น เน้นการเว้นระยะห่างทางสังคม (Social Distancing) หรือ การเว้นระยะห่างระหว่างบุคคล (Physical Distancing) การเข้า-ออกกะ ต้องพยายามหลีกเลี่ยงการสัมผัสและการรวมพลของคนหมู่มาก เพราะเรารู้ว่าในคนหมู่มากถ้าเกิดโรคกับคนใดคนหนึ่ง คนที่ใกล้ชิดผู้ติดเชื้อทุกคนจะต้องถูกกักตัวเป็นกลุ่มใหญ่จนไม่เหลือคนทำงาน”

 

ในสายการผลิตควรเตรียมแผนปฏิบัติการไว้ล่วงหน้ากรณีเกิดการระบาดของโรคโควิด-19 ผู้ปฏิบัติงานในแต่ละกะการทำงาน ควรแบ่งแยกกันอย่างชัดเจน เพราะหากพบผู้ป่วยติดเชื้อในทีมหนึ่งอาจต้องกักตัวผู้สัมผัสใกล้ชิดทุกคนในทีม หลังปิดไลน์การผลิต ทำความสะอาดและฆ่าเชื้อแล้วต้องมีทีมงานกลุ่มใหม่เข้าไปทำงานแทนทันที เพราะไม่สามารถปิดโรงงานได้ 14 วัน การเตรียมการต่าง ๆ ถือว่ามีความจำเป็นมาก ต้องมีการวางแผนและซ้อมแผนเป็นอย่างดี หากไม่วางแผนทีดีเมื่อเกิดปัญหาขึ้นจะเป็นอุปสรรคอย่างมากหากไม่สามารถดำเนินการผลิตต่อไปได้

 

“ยืนยันว่า โควิด-19 ไม่ติดต่อในหมู เป็ด และไก่ และสัตว์เหล่านี้ไม่เป็นแหล่งรังโรค หรือเป็นพาหะแพร่โรคมาสู่คน แต่ในการผลิตอาหาร ต้องให้ความสำคัญเรื่องความสะอาดและสุขอนามัยของทุกคนที่เกี่ยวข้องในห่วงโซ่การผลิต รวมถึงเกษตรกรผู้ที่ทำหน้าที่ผลิตวัตถุดิบ โดยเฉพาะโรงงานแปรรูปอาหารที่มีพนักงานทำงานในสายการผลิต จำเป็นต้องเน้นถึงการดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคลอย่างเคร่งครัด การกำหนดระยะห่างของสังคม รวมทั้งการมีมาตรการป้องกันและแผนสำรองรองรับอย่างชัดเจน เพื่อป้องกันไม่ให้ห่วงโซ่การผลิตอาหารของประเทศต้องหยุดชะงัก ไม่ว่าจะเป็นจุดใดจุดหนึ่ง”