“ศักดิ์สยาม”แจงยิบฟื้นฟู “การบินไทย” ตั้ง 15 คนทีมทำแผน

19 พ.ค. 2563 | 09:58 น.

“ศักดิ์สยาม”แจงยิบฟื้นฟู “การบินไทย” ยันแผนเดิมที่ให้รัฐอุ้มมีความเสี่ยงไปต่อไม่ได้ เลือกฟื้นฟูกิจการภายใต้พ.ร.บ.ล้มละลายเป็นทางออกที่ดีที่สุด เตรียมตั้งคณะทำงานผู้ทำแผน 15 คน คาดทำแผนแล้วเสร็จก่อนมิ.ย.นี้ ก่อนยื่นศาลทั้งในไทยและสหรัฐอเมริกา

      นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า  ตอนนี้สถานะทางการเงินของ การบินไทย อยู่ในขั้นวิกฤติ  ก็จะต้องมีการพิจารณาแนวทางในการแก้ปัญหา จากข้อมูลดังกล่าวจะพบว่าการบินไทยมีหนี้สินล้นพ้นตัวกว่า 2 แสนล้านบาท ซึ่งเป็นเรื่องของกระทรวงคมนาคมและกระทรงทรวงการคลังที่ต้องพิจารณาร่วมกัน

 “ศักดิ์สยาม”แจงยิบฟื้นฟู “การบินไทย” ตั้ง 15 คนทีมทำแผน
        โดยในเบื้องต้นก่อนหน้านี้กระทรวงการคลังได้พิจารณาร่วมกับการบินไทยในการเพิ่มสภาพคล่องด้วยการเข้าไปค้ำประกันเงินกู้ ซึ่งตรงนี้เองกระทรวงคมนาคมเห็นด้วย แต่ขอให้ทางบริษัทการบินไทยจัดทำแผนฟื้นฟู (Action Plane) เสนอมาเพื่อประกอบการพิจารณา
       แต่จากการแผนที่บริษัทการบินไทยจัดทำขึ้น กระทรวงคมนาคมก็เห็นว่ามีความเสี่ยงอยู่ 23 เรื่อง คมนาคมเลยพิจารณาว่าหากให้ความเห็นชอบไปก็เกรงว่าจะไม่สามารถปฏิบัติตามแผนนี้ได้ ซึ่งจะทำให้รัฐบาลสูญเสียเงินกว่า 5 หมื่นล้านบาทโดยไม่จำเป็น และไม่ได้อะไรเลย

    ทั้งจะเกิดปัญหาตามมาว่าการไปค้ำประกันเงินกู้ดังกล่าวและไม่สามารถจัดทำรายละเอียดได้ ก็มีความจำเป็นที่ภาครัฐจะต้องเข้ามา เพราะหวั่นจะเกิดความเสียหายต่อการฟื้นฟูการบินไทย และเสียหายต่องบประมาณ

        ดังนั้นทางกระทรวงคมนาคมจึงเสนอความเห็นที่เป็นไปไม่ได้และขอให้มีการทบทวนมติ ซึ่งในขณะเดียวกันทางกระทรวงคมนามคม มองว่านอกจากแนวทางที่ 1 ข้างต้น ยังมีแนวทางอื่นในการแก้ไขปัญหาหรือไม่ ก็ยังมองว่ามีอีก 2 แนวทาง  ได้แก่
        กรณีที่รัฐบาลไม่ดำเนินการใดๆ ปล่อยให้การบินไทยเข้าสู้การล้มละลาย ซึ่งจากสถานะทางการเงินต่างๆก็มองว่าบริษัทการบินไทยมีโอกาสที่จะล้มละลายได้ ดังนั้นถ้าปล่อยให้ล้มละลายก็จะไม่เป็นผลดีต่อการบินไทย ซึ่งสิ่งที่จะตามมาก็คือทำให้บริษัทการบินไทยถูกพิทักษ์ทรัพย์และจะต้องยุติการดำเนินกิจการทั้ง 6 หน่วยธุรกิจทันที                ทรัพย์สินก็จะถูกขายทอดตลาดและนำเงินมาชำระหนี้ ทำให้พนักงานทั้ง 2 หมื่นกว่าคนตกงานและถูกลอยแพ กระทบต่อผู้ถือหุ้นและเจ้าหนี้

       ขณะที่แนวทางที่กระทรวงคมนาคมเสนอคือแนวทางที่ 3 การเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟู ภายใต้คำสั่งของศาล โดยขอให้ ครม.เห็นชอบให้การบินไทยฟื้นฟูกิจการภายใต้พระราชบัญญัติล้มละลาย ซึ่งตรงนี้เองจะต้องให้กระทรวงการคลังลดการถือหุ้นในการบินไทยน้อยกว่า 50% ตามมติคณะรัฐมนตรี เพื่อให้พ้นต่อการเป็นรัฐวิสาหกิจ และมีสภาพคล่องตัวต่อการยื่นฟื้นฟูต่อการศาลล้มละลาย ซึ่งขั้นตอนหลังจากนี้ บริษัทการบินไทยจะต้องยื่นคำร้องการฟื้นฟูกิจการและเสนอตัวเองต่อศาล
 “ศักดิ์สยาม”แจงยิบฟื้นฟู “การบินไทย” ตั้ง 15 คนทีมทำแผน

     "มติที่ประชุม ครม.เมื่อวันที่ 19 พ.ค.ที่ผ่านมา เห็นชอบให้การบินไทยเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการภายใต้คำสั่งศาลฯ พร้อมทั้งมีมติให้กระทรวงการคลัง ดำเนินการปรับลดสัดส่วนการถือหุ้นลงให้ต่ำกว่า 50% เพื่อทำให้การบินไทยมีสถานะหลุดพ้นจากองค์กรรัฐวิสาหกิจ

     อย่างไรก็ดี เรื่องดังกล่าวเป็นข้อเสนอของกระทรวงคมนาคม เนื่องจากที่ผ่านมาเล็งเห็นแล้วว่าการบินไทยมีปัญหากิจการ สถานะทางการเงินในปี 2562 มีหนี้สินอยู่ที่ 147,352 ล้านบาท ขณะที่ในปี 2563 เมื่อเผชิญกับโรคโควิด -19 การบินไทยได้ประเมินผลกระทบด้วยว่า จะส่งผลต่อหนี้สินเพิ่มขึ้นอยู่ที่ 219,798 ล้านบาท ดังนั้นจึงต้องเร่งแก้ปัญหา เพราะการบินไทยมีปัญหาหนี้สินล้นพ้นตัว"

        หลังจากนี้จะมีการตั้งคณะทำงานเพื่อเจรจากับเจ้าหนี้ หลังจากนั้นมีการตรวจสอบบัญชีลูกหนี้ และหากศาลมีการรับคำร้องการฟื้นฟูกิจการ

    บริษัทการบินไทยจะได้รับความคุ้มครองตามมาตรการ 90/12 (สภาวะพักชำระหนี้) ตรงนี้ก็จะเป็นเรื่องที่ทำให้สามารถหยุดจำนวนเงินหนี้ที่จะเพิ่มขึ้นจากดอกเบี้ย หลังจากนั้นจะมีการเจรจากับเจ้าหนี้ทั้งในและต่างประเทศ ให้เห็นถึงแผนฟื้นฟูว่าการบินไทยสามารถกลบัมาแข็งแกร่งได้

        หลังจากนั้นศาลจะจัดตั้งผู้ทำแผน ซึ่งเบื้องต้นคณะรัฐมนตรีได้มอบหมายให้กระทรวงคมนาคมเป็นผู้พิจารณาคัดเลือก ซึ่งขณะนี้มีการพิจารณาบุคคลที่มีความรู้ความสามารถ พร้อมนำ 15 รายชื่อ (สัปดาห์นี้ได้รายชื่อ) เสนอต่อ คณะรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรีเพื่อพิจารณา (สัปดาห์หน้า) เพื่อให้พิจารณาว่าบุคคลดังกล่าวเหมาะสมกับหน้าที่หรือไม่ในการจัดทำแผนฟื้นฟู
       หากศาลเห็นชอบก็จะมีการจัดตั้ง “คณะผู้จัดทำแผน” ซึ่งมีหน้าที่ควบคุมกิจการและทำการเสนอแผนฟื้นฟูกิจการ เจรจาเจ้าหนี้ ปรับปรุงแผนต่อไป และหลังจากนั้นจะมีการจัดตัง “ผู้บริหารแผน” ตามแผนฟื้นฟู ซึ่งวันนี้ครม.มีมติให้กระทรวงคมนาคมเป็นผู้จัดการ ซึ่งแผนทั้งหมดคาดการณ์ว่าจะแล้วเสร็จก่อนเดือนมิถุนายนนี้ เพื่อยื่นต่อศาลล้มละลายทั้งในไทย และสหรัฐอเมริกา เนื่องจากการบินไทยบมีเจ้าหน้าที่ต่างประเทศกว่า 35%

         การบินไทยเข้าแผนฟื้นฟูก็ยังสามารถดำเนินกิจการได้อยู่ แต่ต้องดำเนินการภายใต้ศาลพิจารณาและอยู่ภายใต้การดูแลของผู้กำกับแผน โดยปัจจุบันบอร์ดการบินไทยยังคงอยู่และมีอำนาจ เนื่องจากยังเป็นรัฐวิสหากิจอยู่ (แต่หลังจากนี้หากลดการถือหุ้นน้อยกว่า 50% เมื่อไหร่ จะมีการจัดตั้งคณะผู้บริหารขึ้นมา คุณสมบัติของผู้จัดทำแผนจะต้องมีประสบการณ์ มีความรู้ความสามารถ สังคมยอมรับ ซื่อสัตย์สุจริต ผลงานเป็นที่ประจักษ์ มีความรู้ความสามารถด้านการบิน

 “ศักดิ์สยาม”แจงยิบฟื้นฟู “การบินไทย” ตั้ง 15 คนทีมทำแผน
        แผนฟื้นฟูการบินไทยมีตัวอย่างให้เห็นจากสายการบิน “เจแปน แอร์ไลน์” ที่เคยมีปัญหา สามารถยื่นแผนและออกจากการฟื้นฟูได้ในระยะเวลาเพียง 14 เดือน จนสามารถมีรายได้ 2,000 ล้านเหรียญสหรัฐต่อปีจนถึงปัจจุบัน นี่คือส่งที่กระทรวงเห็นตัวแบบของการดำเนินการ

นอกจากนี้ยังมีสายการบิน อเมริกัน แอร์ไลน์ ก็ทำแผนฟื้นฟูลักษณะเดียวกันและใช้เวลา 3 ปี ในการฟื้นฟู ตรงนี้มีความมั่นใจในหน่วยธุรกิจทั้ง 6 ของการบินไทยว่ามีศักยภาพ แต่วันนี้เรื่องของโควิดมีเหตุการณ์ไม่ปกติ

        แต่วันนี้การบินไทยจำเป็นต้องการมี X-ray ว่าอะไรมีการดำเนินการที่ไม่ถูกต้อง อะไรที่ทำให้ต้นทุนการดำเนินการที่สูง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการบริหารซึ่งเป็นข่าวอยู่ในขณะนี้ ซึ่งกระทรวงคมนาคมจะเข้าไปตรวจสอบและไล่ดู เพราะนายกฯได้เคยพิจารณาในการช่วยเหลือการบินไทยเมื่อปี 2558 มาครั้งแล้ว ซึ่งหากการบินไทยดำเนินการตามแผนที่เคยให้ไว้ในครั้งนั้นเหตุการณ์วันนี้จะไม่เกิดขึ้น แต่เมื่อเกิดขึ้นแล้วทุกคนต้องหันหน้ามาร่วมกกันทำงานเพื่อฟื้นฟูกิจการ เพื่อให้การบินไทยกลับมาแข็งแกร่ง

      ขณะที่เรื่องของพนักงานกว่า 2 หมื่นรายก็ต้องมีการพูดคุยกับสหภาพฯเพื่อหาทางออกในสถานการณ์
จริง ไม่ให้เกิดผลกระทบต่อพนักงานทั้งหมดแต่จะทำลักษณะไหนก็เป็นเรื่องที่ต้องดำเนินการต่อไป ยืนยันแผนฟื้นฟูจะทำให้การบินไทยกลับมาแข็งแกร่งอีกครั้ง