ศบค.ชี้ตัวเลขน้อยยังไม่น่าวางใจการ์ดอย่าตก

12 พ.ค. 2563 | 06:35 น.

นพ.ทวีศิลป์  วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 (ศบค.) ได้แถลงถึงสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019  (COVID-19 ) ในประเทศไทยวันที่ 12 พฤษภาคม  2563  เวลา 11:30 น. พบ ผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่มขึ้น 2  ราย  รวมผู้ป่วยยืนยันสะสม 3,017 ราย   ผู้เสียชีวิต 0 ราย  รวมยอดผู้เสียชีวิตคงเดิม 56 ราย  รักษาหายเพิ่ม  2 ราย รวมรักษาหายเเล้ว 2,798 ราย  และ ยังรักษาอยู่ในโรงพยาบาล 163  ราย 

 

ผู้ป่วยใหม่2ราย เป็นผู้ป่วยที่สัมผัสใกล้ชิดผู้ป่วยที่ยืนยันก่อนหน้า เป็นหญิงไทยอายุ19 ปี ในกทม.และที่นราธิวาสเป็นหญิงไทยอายุ 51 ปี มารดาของเด็ก6ปีที่ติดเชื้อจากบิดาพบ เมื่อ11 พ.ค.  การตรวจพบนี้นับเป็นความสามารถตรวจการติดเชื้อจนพบ  แต่ตัวเลขยังไม่เป็น 0  จึงยังไม่น่าไว้วางใจ  ก็ขึ้นกับความร่วมมือของทุกคน   แม้ว่าจะพบผู้ป่วยเป็นจำนวนน้อย แต่ต้องระวังเพราะจะมีมาตรการผ่อนปรนเข้าสู่ระยะที่2  ขอให้ดูตัวอย่างจากต่างประเทศ อย่างที่เกาหลีคนเดียวก็สามารถทำให้ติดเชื้อกันได้จึงต้องให้ความสำคัญ "การ์ดอย่าตก"

 

ศบค.ชี้ตัวเลขน้อยยังไม่น่าวางใจการ์ดอย่าตก

 

จากกรณีที่มีความเป็นห่วงในการจะคลายล็อกดาวน์ระยะที่2 และประชาชนเริ่มใช้ชีวิตแบบปกตินั้น จากการเฝ้าติดตามทางศบค.มีความกังวลใจเช่นกัน  แม้ว่าจะมีการใช้ชุดข้อมูลตลอดและมีการประชุมหารือทั้งภาครัฐและเอกชนเป็นฐานนำก็ตาม  แต่จำเป็นต้องนำเรื่องเศรษฐกิจและสังคมมาพิจารณาด้วย  ซึ่งเป็นความละเอียดอ่อนของชุดข้อมูลว่าจะต้องดำเนินการอย่างไรแต่ก็ต้องทำให้ดีที่สุด คงไม่หยุดอยู่เพียงเท่านี้ต้องเดินหน้าต่อ

"จึงขอฝากการออกมาตรการอย่างไรออกมาไม่ว่าภาครัฐและเอกชน   ถ้าได้รับความร่วมมือจากภาคประชาชนมาตรการก็ประสบความสำเร็จ  ถ้าไม่ให้ร่วมมือก็เป็นตรงกันข้าม เราต้องการให้เป็นเชิงบวกมากๆ   อย่างกรณีตู้ต่างๆที่เป็นประเด็นในเชิงบวก แสดงให้เห็นว่าคนไทยใจบุญ   แต่ก็มีเกร็ดข่าวที่ผู้มารับ  ที่ไม่ทำตามมาตรการก็ถือว่าเป็นเรื่องปกติ   แต่ถ้าตั้งตู้แล้วไม่มีผู้มารับนั่นถือว่าไม่ปกติ   แต่ถ้ามารับของก็ขอให้มีการเว้นระยะห่าง ดูแลความสะอาด และรับไปเพื่อเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ เกิดขึ้นจากความร่วมมือร่วมใจกัน

 

ด้านจำนวนผู้ป่วยยืนยันสะสมที่จำแนกตามปัจจัยเสี่ยง จำนวนผู้ป่วย 2 สัปดาห์ล่าสุดอยู่ที่
1. ศูนย์กักกัน ผู้ต้องกัก มีจำนวน 23 ราย  2. การค้นหาผู้ป่วยเชิงรุก และค้นหาผู้ติดเชื้อในชุมชน 18 ราย  3.สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยยืนยันรายก่อนหน้า 16 ราย ซึ่งกลุ่มนี้เดิมทีเป็นกลุ่มแรกที่พบผู้ติดเชื้อรายใหม่   4. ผู้ที่เดินทางมาจากต่างประเทศและเข้าสถานกักกันของรัฐ (State Quarantines)  12 ราย  และ 5.ไปสถานที่ชุมชน เช่น ตลาดนัด สถานที่ท่องเที่ยว  3 ราย  แม้ว่ากลุ่มนี้จะพบเป็นจำนวนน้อย แต่เมื่อจะมีการผ่อนปรนมาตรการก็จะต้องมีความระมัดระวัง จึงจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับคนกลุ่มนี้อยู่

 

ศบค.ชี้ตัวเลขน้อยยังไม่น่าวางใจการ์ดอย่าตก

จำนวนผู้ป่วยยืนยันสะสม แยกตามปัจจัยเสี่ยง 1. สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยยืนยันรายก่อนหน้านี้ 1,182 ราย  2. อาชีพเสี่ยง เช่นทำงานในสถานที่แออัด 284 ราย   3. สนามมวย 276 ราย  4. คนไทยเดินทางกลับจากต่างประเทศ 270 ราย  5.สถานบันเทิง  226  ราย  6.คนต่างชาติเดินทางมาจากต่างประเทศ  270 ราย    7. ไปสถานที่ชุมชน เช่น ตลาดนัด สถานที่ท่องเที่ยว 101 ราย  8.พิธีกรรมทางศาสนา 99 ราย   9. บุคลากรด้านการแพทย์และสาธารณสุข 96 ราย  10. ผู้ที่เดินทางมาจากต่างประเทศและเข้าสถานกักกันของรัฐ (StateQuarantines) 90 ราย 

 

ส่วนจำนวนผู้ป่วยยืนยันตามจำแนกตามพื้นที่การรักษา  กทม.และนนทบุรี มากสุดจำนวน 1,703 ราย ภาคใต้   726   ราย  ภาคกลาง 383  ราย ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 111  รายและ ภาคเหนือ  94   ราย

จังหวัดที่มีรายงานผู้ป่วยช่วง 28 วันที่ผ่านมา  มี18  จังหวัด คือ  กรุงเทพมหานคร ชลบุรี  นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี ปราจีนบุรีพระนครศรีอยุธยา สมุทรปราการ สุพรรณบุรี  ขอนแก่น นครราชสีมา   กระบี่ ชุมพร นราธิวาส ปัตตานี ภูเก็ต ยะลา และ สงขลา

 

จังหวัดที่ไม่มีรายงานผู้ป่วยช่วง 28 วันที่ผ่านมา  มีเพิ่มเป็น 50  จังหวัด มีเพิ่มขึ้นในวันนี้  4  จังหวัดคือ เลย นครศรีธรรมราช พังงาและ สตูล(เฉพาะState Q)   ส่วนจังหวัดอื่นคือ  เพชรบุรี กาญจนบุรี จันทบุรี นครนายก ประจวบคีรีขันธ์ ระยอง  ราชบุรี ลพบุรี สมุทรสงคราม สระแก้ว สระบุรี ฉะเชิงเทรา  สมุทรสาคร   เชียงใหม่  เชียงราย  เพชรบูรณ์ แพร่  

 

ศบค.ชี้ตัวเลขน้อยยังไม่น่าวางใจการ์ดอย่าตก

แม่ฮ่องสอน  ตาก  พิษณุโลก ลำปาง ลำพูน สุโขทัย อุตรดิตถ์ อุทัยธานี   นครสวรรค์   พะเยา  กาฬสินธุ์ ชัยภูมิ บุรีรัมย์  มหาสารคาม  มุกดาหาร  ยโสธร ร้อยเอ็ด  ศรีสะเกษ  สกลนคร  สุรินทร์ หนองคาย หนองบัวลำภู นครพนม อำนาจเจริญ อุดรธานี  อุบลราชธานี  ตรัง สุราษฎร์ธานี และ พัทลุง

 

จังหวัดที่ไม่มีรายงานผู้ป่วยมาก่อน  ยังคงเดิมที่ 9  จังหวัด คือ  ชัยนาท ตราด  สิงห์บุรี
อ่างทอง  กำแพงเพชร น่าน พิจิตร  บึงกาฬ  ระนอง  และสตูล (ไม่รวม StateState StateQ)