ความเชื่อมั่นQ1 ติดลบต่อเนื่อง ต่ำสุดในรอบ21ปี7เดือน

08 พ.ค. 2563 | 07:49 น.

ดัชนีความเชื่อมั่นไทย ไตรมาส1 ติดลบต่อเนื่อง ระดับ 47.2  ต่ำสุดมในรอบ21 ปี7เดือน สะท้อนจากโควิด-19 เป็นหลัก ส่งผลให้เศรษฐกิจไทยเข้าสู่ภาวะถดถอย คาดจะฟื้นกลับมาดีได้ในไตรมาส 4

นายธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดีและประธานที่ปรึกษาศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ  เปิดเผยผลสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนเมษายน 2563 จากจำนวนตัวอย่างจากประชาชนทั่วประเทศ 2,241 คน  พบว่า  ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนเมษายน 2563 อยู่ที่ระดับ 47.2 ลดลงจากเดือนมีนาคม 2563  ที่อยู่ในระดับ 50.3 ซึ่งเป็นติดลบต่อเนื่องต่ำสุดในรอบ 259 เดือน หรือ 21 ปี 7 เดือน ส่วนดัชนีความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจโดยรวมอยู่ที่ระดับ 39.2 ดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวจากการปิดกับโอกาสหางานทำอยู่ที่ระดับ 46.0 ดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับรายได้ในอนาคต อยู่ที่ระดับ 56.4 อย่างไรก็ดี เป็นผลมาจากความวิตกกังวลต่อการแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 ที่กระทบต่อเศรษฐกิจ ธุรกิจและรายได้โดยรวมรวมไปถึง การประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ เพื่อบริหารจัดการและควบคุมสถานการณ์ ส่งผลให้เกิดการปิดกิจการ ยกเลิกการรจ้างงาน มีแรงงานตกงาน ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ พร้อมทั้งมีการขยายระยะเวลา พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ออกไปอีก 1 เดือน

ความเชื่อมั่นQ1 ติดลบต่อเนื่อง  ต่ำสุดในรอบ21ปี7เดือน

 นอกจากนี้  ยังกังวลสถานการณ์ภัยแล้งที่อาจจะส่งผลกระทบต่อพืชผลทางการเกษตรและการหารายได้ของประชาชน ทำให้ราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ มีผลต่อรายได้และกำลังซื้อ ขณะที่  ปัจจัยบวกที่กระทบ  เช่น  มาตรการเยียวยาจากผลประทบโควิด-19 ทั้งประชาชน ผู้ประกอบการ  การส่งออกเพิ่มขึ้น ราคาน้ำมันปรับตัวลดลง อย่างไรก็ดี  คาดเศรษฐกิจในครึ่งแรกของปี 2563 น่าจะติดลบ -8 ถึง -10% ซึ่งเป็นการเข้าสู่สภาวะถอถอยในเชิงเทคนิค

ทั้งนี้ ในไตรมาส 2 น่าจะติดลบหนักที่สุดกระทบยาวถึงไตรมาส 3 และคาดว่าเศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัวเป็นบวกได้ในไตรมาส 4  โดยทั้งปี  2563  คาดว่าเศรษฐกิจไทยน่าจะติดลบ 3 ถึง ติดลบ 5  โดยเป็นผลมาจากการจับจ่ายใช้สอยมีความชะลอตัว ซึ่งหากมีการรีสตาร์ทธุรกิจได้เร็วจะช่วยชะลอการปลดคนงานได้ดีและจะไม่มีผลต่อเศรษฐกิจมากจนเกินไป  นอกจากนี้ คาดว่าการคลายล็อกดาวน์รอบแรกจะทำให้เม็ดเงินหมุนกลับมาในประเทศประมาณ 2-3 พันล้านบาทต่อวัน หรือประมาณ 6-9 หมื่นล้านบาทต่อเดือน ขณะที่การคลายล็อกดาวน์รอบ 2 ในช่วงกลางเดือนพฤษภาคม นี้จะทำให้มีเงินเติมเข้ามาในระบบอีก 6-8 พันล้านบาทต่อวัน หรือประมาณ 2 แสนล้านบาทต่อเดือน

"การรีสตาร์ทธุรกิจ ส่งผลต่อธุรกิจ การจับจ่ายใช้สอยในประเทศ  มาตรการช่วยเหลือของรัฐ การกระตุ้นเศรษฐกิจทางด้านการลงทุน  จะส่งผลให้เศรษฐกิจฟื้นตัวได้เร็วขึ้น  เพราะจากปัญหาปัจจุบัน การล้อกดาวน์ทำให้เม็ดเงินหายไปจากระบบวันละ 10,000 ล้านบาท  จากการชะลอจับจ่ายของประชาชนในทุกกลุ่มสินค้า การท่องเที่ยว สินค้าจำเป็น สินค้าฟุ่มเฟือย”

สำหรับแนวโน้มการปลดล็อกให้ชาวต่างชาติเดินทางเข้ามาในประเทศเป็นสัญญาณที่น่าจะเกิดขึ้นได้ในไตรมาส 3 และถ้าสถานการณ์ของการปลอดเชื้อโควิด-19 ในเอเชียและทั้งโลกดีขึ้น คาดว่าไตรมาส 4 นักท่องเที่ยวต่างชาติน่าจะเริ่มกลับมา 6 ล้านคน หรือเดือนละประมาณ 2 ล้านคนขึ้นอยู่กับมาตรการของรัฐ โดยจะทำให้การท่องเที่ยวไททยฟื้นเร็วขึ้น