ไทยเผชิญภัยแล้งหนัก พืชเศรษฐกิจปี 63 คาดเสียหาย 2.6 หมื่นลบ.

03 พ.ค. 2563 | 02:20 น.

ศูนย์วิจัยธนาคารออมสิน ระบุสถานการณ์ภัยแล้งปี 2563 รุนแรงกว่าปี 2558 ส่งผลกระทบต่อเกษตรกร 2.93 ล้านราย  พื้นที่เพาะปลูกพืชเศรษฐกิจสำคัญ 27.7 ล้านไร่ มูลค่าความเสียหายราว 2.6 หมื่นล้านบาท  

 

ศูนย์วิจัยธนาคารออมสิน ได้เผยแพร่รายงานหัวข้อเรื่อง "จับตาผลกระทบภัยแล้งต่อเศรษฐกิจไทยปี 2563" ระบุว่า ......สถานการณ์ภัยแล้งปี 2563 มีแนวโน้มรุนแรงมากขึ้น เป็นผลจากในปี 2562 ได้เกิดปรากฏการณ์เอลนีโญกำลังอ่อน (Weak El Nino)1/ ทำให้ฤดูร้อนยาวนานกว่าปกติ และมีอุณหภูมิเฉลี่ยทั้งปีอยู่ที่ 28.1 องศาเซลเซียส ซึ่งเป็นอุณหภูมิเฉลี่ยสูงสุดในรอบ 69 ปี (พ.ศ. 2494-2562) รวมทั้งเกิดภาวะฝนทิ้งช่วง ส่งผลให้เป็นปีที่เกิดปัญหาภัยแล้งรุนแรงสุดในรอบ 20 ปี

จากปรากฏการณ์ดังกล่าวส่งผลให้ปริมาตรน้ำในเขื่อนที่ใช้การได้ทั้งประเทศของปี 2562 อยู่ในระดับต่ำ โดย ณ สิ้นปี 2562 ปริมาตรน้ำในเขื่อนที่ใช้การได้ทั้ง ประเทศอยู่ที่ 20,739 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 29 ของความจุเขื่อนทั้งหมด ซึ่งอยู่ในเกณฑ์น้ำน้อยวิกฤติ (<=30%) ส่งผลกระทบต่อระดับน้ำต้นทุนในเขื่อนที่เก็บสะสมไว้ใช้ในปี 2563 ประกอบกับปริมาณฝนสะสม 3 เดือนแรกของปี 2563 อยู่ที่ 74 มิลลิเมตร ต่ำกว่าช่วงเดียวกันของปี 2558 และปี 2562 ที่ร้อยละ -20.5 และ -41.0 ตามลำดับ ส่งผลให้ปริมาตรน้ำในเขื่อนที่ใช้การได้ทั้งประเทศในปี 2563 มีแนวโน้มลดลงอย่างเห็นได้ชัด

โดยปริมาตรน้ำในเขื่อนที่ใช้การได้ทั้งประเทศ ณ วันที่ 3 เมษายน 2563 อยู่ที่ 12,591.9 ล้านลูกบาศก์เมตร ต่ำกว่าช่วงเดียวกันของปี 2558 และปี 2562 อยู่ที่ร้อยละ -18.0 และ -37.5 ตามลำดับ ซึ่งภาคที่มีปริมาตรน้ำลดลงมากที่สุดเมื่อเทียบกับปี 2558 ได้แก่ ภาคกลาง ภาคเหนือ และภาคตะวันออก อยู่ที่ร้อยละ -59.4, -44.1 และ -41.8 ตามล้าดับ ทั้งนี้ สถานการณ์ภัยแล้ง ปี 2563 จะรุนแรงมากขึ้น หากเกิดฝนทิ้งช่วงที่ยาวนานกว่าที่คาดการณ์ไว้

 

ไทยเผชิญภัยแล้งหนัก พืชเศรษฐกิจปี 63 คาดเสียหาย 2.6 หมื่นลบ.

 

โดยภาพรวม ณ วันที่ 3 เม.ย.2563 ปริมาตรน้ำในเขื่อนทั้งประเทศมีจำนวน 36,134 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 51 ของความจุเขื่อนทั้งหมด และปริมาตรน้ำในเขื่อนที่ใช้การได้ทั้งประเทศมีจำนวน 12,592 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 18 ของความจุเขื่อนทั้งหมด ซึ่งอยู่ในเกณฑ์น้ำน้อยวิกฤติ (<=30%) โดยภาคที่มีปริมาตรน้ำในเขื่อนในระดับเกณฑ์น้ำน้อยถึงน้ำน้อย วิกฤติ (<=50%) ได้แก่ ภาคกลาง, ภาคะวันออก, ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือ ซึ่งมีปริมาตรน้ำในเขื่อนคิดเป็นร้อยละ 17, 23, 35 และ 38 ของความจุเขื่อนทั้งหมด ตามลำดับ โดยปริมาตรน้ำที่น้อยจะส่งผลกระทบต่อพื้นที่ทางการเกษตร, การอุปโภคบริโภค และนิคมอุตสาหกรรมให้ได้รับความเสียหาย
พื้นที่เพาะปลูกพืชเศรษฐกิจสำคัญทั้งประเทศมีทั้งหมด 102.3 ล้านไร่ และมีพื้นที่เพาะปลูกที่อยู่ในเขตที่มีปริมาตรน้ำในเขื่อนอยู่ระดับเกณฑ์น้ำน้อยถึงน้ำน้อยวิกฤติ (<=50%) สูงถึง 92.1 ล้านไร่ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 90 ของพื้นที่เพาะปลูกพืชเศรษฐกิจสำคัญทั้งประเทศ ประกอบด้วย ภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือ ซึ่งหากฝนทิ้งช่วงนาน ก็จะกระทบกับผลผลิตของข้าวนาปรัง อ้อย และมันสำปะหลัง ซึ่งมีช่วงฤดูเก็บเกี่ยวในเดือน ม.ค.-เม.ย. 2563 รวมทั้งผลกระทบต่อน้ำเพื่ออุปโภคบริโภค และพื้นที่นิคมอุตสาหกรรม
สถานการณ์ภัยแล้งที่เกิดขึ้น คาดว่าจะมีเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบ 2,930,673 ราย และคาดว่าพื้นที่เพาะปลูกพืชเศรษฐกิจสำคัญ ได้แก่ ข้าวนาปรัง อ้อย และมันสำปะหลัง จะปรับลดลงอยู่ที่ 27.7 ล้านไร่ ลดลงจากปีก่อนอยู่ที่ร้อยละ -12.9 ส่วนผลผลิตทั้งหมดคาดว่าจะปรับลดลงอยู่ที่ 115.8 ล้านตัน ลดลงจากปีก่อนอยู่ที่ร้อยละ -31.6 โดยแบ่งออกเป็นข้าวนาปรัง 4.8 ล้านตัน ลดลงจากปีก่อนอยู่ที่ร้อยละ -32.9, อ้อย 85.0 ล้านตัน ลดลงจากปีก่อนอยู่ที่ร้อยละ -35.1 และมันสำปะหลัง 26.0 ล้านตัน ลดลงจากปีก่อนอยู่ที่ร้อยละ -16.3

ไทยเผชิญภัยแล้งหนัก พืชเศรษฐกิจปี 63 คาดเสียหาย 2.6 หมื่นลบ.


จากสถานการณ์ภัยแล้งดังกล่าว ส่งผลให้เกษตรกรมีรายได้ลดลงจนกระทบต่อก้าลังซื้อเพื่อการอุปโภคบริโภค รวมทั้งความสามารถในการช้าระหนี้ลดลง และส่งผลต่อเนื่องไปยังผู้ประกอบการที่ท้าธุรกิจเกี่ยวเนื่องกับภาคเกษตร เช่น ธุรกิจขายอุปกรณ์ทางการเกษตร เมล็ดพันธ์ ปุ๋ย ยาก้าจัดศัตรูพืช เป็นต้น ให้มีรายได้ลดลง การบริโภคลดลง และกระทบต่อการขยายทางเศรษฐกิจของไทย

ไทยเผชิญภัยแล้งหนัก พืชเศรษฐกิจปี 63 คาดเสียหาย 2.6 หมื่นลบ.


ทั้งนี้ศูนย์วิจัยธนาคารออมสินคาดว่า มูลค่าความเสียหายผลผลิตของพืชเศรษฐกิจสำคัญอยู่ที่ 26,012 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 2.0 ต่อ GDP ภาคเกษตร  โดยแบ่งเป็นมูลค่าความเสียหายจากผลผลิตข้าวนาปรังจำนวน 17,629 ล้านบาท ส่วนใหญ่เพาะปลูกในภาคกลาง, มูลค่าความเสียหายจากผลผลิตอ้อยจ้านวน 5,939 ล้านบาทส่วนใหญ่เพาะปลูกในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และมูลค่าความเสียหายจากผลผลิตมันส้าปะหลังจ้านวน 2,444ล้านบาท ส่วนใหญ่เพาะปลูกในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคกลาง 

ไทยเผชิญภัยแล้งหนัก พืชเศรษฐกิจปี 63 คาดเสียหาย 2.6 หมื่นลบ.


อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ภัยแล้งปี 2563 ยังคงน่าเป็นห่วง เนื่องจากคาดว่ามีแนวโน้มที่รุนแรงกว่า ปี 2558 ซึ่งเป็นปีเกิดภัยแล้งรุนแรงสุด และมูลค่าความเสียหายอาจจะเพิ่มขึ้นได้ขึ้นอยู่กับระยะเวลาของช่วงฤดูแล้งซึ่งคาดว่าจะสิ้นสุดในเดือนพฤษภาคม 2563 แต่ยังคงต้องติดตามปรากฏการณ์ภาวะฝนทิ้งช่วงในเดือน พ.ค. - มิ.ย. 2563 ที่อาจจะเกิดขึ้น

 

ที่มา : gsbresearch