บล.กรุงศรี มองเยียวยาเกษตร 1.35 แสนลบ.หนุนแค่ระยะสั้น

01 พ.ค. 2563 | 08:19 น.

บล.กรุงศรี มองมาตรการเยียวยาเกษตรกร 1.35 แสนล้านบาท ให้ครัวเรือนละ 1.5 หมื่นบาท เป็นเวลา 3 เดือน หนุนรายได้แค่ระยะสั้นจาก ผลของ Covid-19 และภัยแล้ง  แต่ไม่ได้ช่วยกระตุ้นการบริโภคภาคครัวเรือน 

 

บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) กรุงศรี  ระบุในบทวิเคราะห์ว่า เมื่อวันที่ 28 เมษายนคณะรัฐมนตรี (ครม.)ได้อนุมัติ มาตรการช่วยเหลือด้านเงินสดมูลค่าราว 1.35 แสนล้านบาท สู่เกษตรกร 9 ล้านครัวเรือน โดยเกษตรกรแต่ละครัวเรือนจะได้รับเงินช่วยเหลือต่อเดือน 15,000 บาท เป็นเวลา 3 เดือน

 

บล.กรุงศรี มองเยียวยาเกษตร 1.35 แสนลบ.หนุนแค่ระยะสั้น

มาตรการนี้เป็นส่วนหนึ่งของมาตรการเยียวยา Covid-19 มูลค่า 1.9 ล้านล้านบาท ที่ 6 แสนล้านบาทจะกระจายสู่ประชาชน เกษตรกรและด้านสาธารณสุข โดยครม.ได้อนุมัติมาตรการนี้เป็นที่ต้องการเพื่อให้มาตรการสนับสนุนครบทั้งระบบคือ แรงงานทั้งในและนอกระบบ เกษตรกร ธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็กและบริษัท ในขณะเดียวกันกรุงเทพมหานคร กำลังพิจารณาที่จะให้ธุรกิจ ร้านอาหาร ตลาด ศูนย์ฟิตเนสสวนสาธารณะ ร้านเสริมสวย ร้านตกแต่งขนสัตว์เลี้ยง คลีนิกและสนามกอล์ฟ สามารถเปิดให้บริการได้ แต่ยังไม่มีความชัดเจนมากนักในตอนนี้ ซึ่งนักลงทุนควรรอแผนการเปิดที่ชัดเจนในอนาคต

มาตรการ 1.35 แสนลบ. สนับสนุนการบริโภคได้แค่ระยะสั้น

 

บล.กรุงศรี มองเยียวยาเกษตร 1.35 แสนลบ.หนุนแค่ระยะสั้น

 

บล.กรุงศรี มองเยียวยาเกษตร 1.35 แสนลบ.หนุนแค่ระยะสั้น

 

จากข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยของเกษตรกรต่อครัวเรือนอยู่ที่ราว 13,600 บาทต่อเดือนในปี 2561  ซึ่งเรายังไม่มีข้อมูลของปี 2562  แต่มีข้อมูลสำหรับค่าใช้จ่ายต่อครัวเรือนทั้งประเทศที่ 16,400 บาทต่อเดือน (ลดลง -8.3% จาก 2561 ) จากข้อมูลนี้มาตรการกระตุ้นของรัฐบาลที่ให้เงินเกษตรกรครัวเรือนละ 15,000 บาทนั้น จึงเพียงพอแค่สำหรับค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันทั่วไปในอีก 3 เดือนข้างหน้าเนื่องจากผลของ Covid-19และภัยแล้งในหลายส่วนของประเทศได้ทำให้รายได้ของเกษตรกรลดลง

มาตรการได้เข้ามาหลังจากเกษตรกรและแรงงานทั่วไปได้รับผลกระทบ จากอัตราส่วนเงินเก็บต่อรายได้ที่ต่ำโดยอัตราส่วนอยู่ที่ 6% และ 10% ของรายได้จากแบบสำรวจในปี 2561  (น้อยที่สุดในบรรดาอาชีพต่างๆ ) บ่งชี้ว่ากลุ่มเกษตรกร และผู้ใช้แรงงานทั่วไปเป็นกลุ่มที่มีเงินเก็บเผื่อไว้ในช่วงการเกิดวิกฤตน้อยที่สุด

 

บล.กรุงศรี เชื่อว่า CPALL MAKRO และ BJC จะได้รับผลประโยชน์จากมาตรการนี้ อย่างไรก็ตาม มาตรการนี้จะสนับสนุนแค่รายได้ของเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจาก Covid-19 และภัยแล้ง ซึ่งจะไม่ได้ช่วยกระตุ้นการบริโภคภาคครัวเรือนให้เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบการบริโภคในสถานการณ์ปกติ