ธุรกิจการบินเล็งอัพราคา เปลี่ยนวิถีทำเงินรับ New Normal

30 เม.ย. 2563 | 01:12 น.

เตรียมทำใจ New Normal ด้นค่าบริการสายการบินเพิ่มแน่ เหตุต้องเว้นระยะห่าง ลดเสี่ยงผู้โดยสาร ทั้งสนามบิน และสายการบิน AOT เร่งเพิ่มรายได้ใหม่จากคาร์โก้ เตรียมตั้ง certified hub รับรองคุณภาพสินค้า

นายศิโรตม์ ดวงรัตน์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานยุทธศาสตร์ AOT ได้เปิดเผยใน การพูดคุย "รวมพลังผู้นำเข้มแข็ง By Slingshot Group" ถึงแนวทางธุรกิจ จะรอดหรือจะร่วงหลังโควิด -19 สำหรับธุรกิจการท่าอากาศยาน หรือสนามบิน ที่ได้รับผลกระทบโดยตรงมาตั้งแต่ต้นปี จนถึงปัจจุบัน ยอดคนเดินทางหายไปเกือบ 99% ในขณะที่แต่ละเที่ยวบินที่นังสามารถเปิดบินได้ มีผู้โดยสารเฉลี่ยเพียง 10% 

ธุรกิจการบินเล็งอัพราคา เปลี่ยนวิถีทำเงินรับ New Normal

ถึงแม้จะมีการเปิดบิน หรือ การกลับมาให้บริการอีกครั้งหลังโควิด -19 รูปแบบของธุรกิจการบินก็จะยังๆม่สามารถฟื้นตัวได้ทันที และรูปแบบการให้บริการน้องมีการปรับเปลี่ยน เนื่องจากพฤติกรรมใหม่ (New Normal) ที่ยังต้องรักษาระยะห่างระหว่างกันจะมีมากขึ้น ทั้งบนเครื่องบิน สนามบิน และร้านค้าในสนามบิน เพราะฉะนั้น สิ่งที่จะได้เห็นหลังจากนี้ คือการแข่งขันด้านราคาอาจจะหายไป เพราะปริมาณผู้โดยสารรับได้น้อยลง ทั้งสายการบินฟูลเซอร์วิสและโลว์คอสแอร์ไลน์ก็จะขึ้นราคา เพื่อให้ครอบคลุมต้นทุนการบิน

ส่วนของท่าอากาศยาน ก็ต้องหาธุรกิจใหม่ๆ ขึ้นมา ในสนามบิน เพราะจากเดิม สมมุติว่าสนามบินรองรับนักเดินทางรับได้ 10 ล้านคน แต่การเว้นระยะห่าง จะทำให้รองรับคนได้น้อยลง สนามบินก็ต้องหาช่องทางรายได้อื่นๆ มาทดแทน

"เราก็ต้องหาอะไรมาเพิ่ม เพราะพื้นที่เท่าเดิม รับผู้โดยสารได้น้อยลง การลงทุนแสนล้าน รับได้ 60 ล้าน อาจจะต้องเพิ่มเป็น 2 แสนล้าน แล้วรับได้เท่าเดิม 60 ล้าน เราต้องมีนโยบายเพื่อหาแหล่งรายได้อื่น"

สิ่งที่ AOT มองขณะนี้คือ การหารายได้จากคาร์โก้ เพราะที่ผ่านมา ได้รับผลกระทบน้อยกว่าเรื่องการรับคน คาร์โก้ลดไปไม่ถึง 40% ขณะที่ผู้โดยสารลดเกือบ 90% ซึ่งปกติเที่ยวบินที่ขนส่งสินค้ามีอาทิตย์ละ 150 ไฟท์ ที่เหลือขนมากับใต้ท้องเครื่องบิน โดยอาทิตย์ที่แล้ว เที่ยวบินขนส่งสินค้ามีไฟท์บินถึง 310 ไฟท์ ในขณะที่เที่ยวบินปกติแปลงมาเปลี่ยนมาเป็น คาร์โก้  เกือบ 400 ไฟท์

ขณะนี้ AOT มีโครงการที่จะทำเรื่องสินค้าเน่าเสียง่าย ผัก ผลไม้ต่างๆ ซึ่งเดิมมีปัญหาการขนส่งไปที่ยุโรป ดังนั้นเราจะทำศูนย์มาตรฐานการรับรอง หรือ certified hub โดยการร่วมมือกับยุโรป ให้มาตรวจสอบรับรองสินค้าจากที่สนามบินสุวรรณภูมิ และถ้าผ่านการรับรองแล้ว เมื่อส่งไปถึงปลายทาง สินค้าจะไม่โดนตีกลับเช่นที่ผ่านมาอีก ทำให้คนมีความมั่นใจในการขนส่งมากยิ่งขึ้น

ส่วนกิจการอื่นๆ จะมีการใข้ประโยชน์สินทรัยพ์ที่มีอยู่ให้คุ้มค่ามากขึ้น เช่น สนามบินสุวรรณภูมิมีพื้นที่ 723ไร่ เดิมเป็นพื้นที่สีเขียว ตอนนี้ขอเปลี่ยนเป็นสีน้ำเงิน ทำให้สามารถหาช่องทางสร้างรายได้ใหม่ๆ ได้

ในขณะเดียวกัน บุคลากรของ AOT ก็ต้องเตรียมรับมือ เรียนรู้กับกฏระเบียบและทักษะใหม่ๆ มากขึ้น เช่น สถานการณ์การอยู่บนเครื่อง การบริหารจัดการเรื่องต่างๆ ทั้งเรื่องความปลอดภัย อาชีวะอนามัย การปฏิบัติตัว ต้องเรียนรู้มากขึ้น