EEC ดันเมืองการบินเข้า ครม. จ่อเซ็นกลุ่ม BBS พ.ค.นี้

27 เม.ย. 2563 | 10:50 น.

คณะกรรมการคัดเลือกเอกชนร่วมทุนโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินตะวันออกเห็นชอบผลเจรจากลุ่ม BBS เตรียมนำเสนอคณะกรรมการอีอีซี และ ครม. ต่อไป

พลเรือตรีเกริกไชย วจนาภรณ์ เลขานุการคณะกรรมการคัดเลือกเอกชนร่วมทุนโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินตะวันออก เปิดเผยว่า คณะกรรมการคัดเลือกฯได้เห็นชอบผลการเจรจากับกลุ่ม BBS และเห็นชอบให้นำข้อเสนอต่อกองทัพเรือในฐานะเจ้าของโครงการ รวมทั้งเสนอร่างสัญญาต่อสำนักงานอัยการสูงสุดเพื่อพิจารณาและเตรียมนำเสนอต่อคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรืออีอีซี (EEC) และ คณะรัฐมนตรี  (ครม.)

EEC ดันเมืองการบินเข้า ครม. จ่อเซ็นกลุ่ม BBS พ.ค.นี้

              “กลุ่ม BBS ป็นผู้เสนอผลประโยชน์สูงสุดในโครงการนี้ทางคณะกรรมการได้เจรจาและเปิดซอง 4 (ซองอื่น) โดยมีคณะเจรจาเกี่ยวกับร่างสัญญา และ ร่างด้านเทคนิค จนเมื่อวันที่ 13 เมษายนที่ผ่านมา คณะกรรมการคัดเลือกฯได้เห็นชอบผลการเจรจากับกลุ่ม  BBS  และให้ดำเนินการดังกล่าว

 

นายคณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการ EEC กล่าวว่า คณะกรรมการบริหาร EEC ได้เห็นชอบให้เสนอต่อ คณะกรรมการ EEC พิจารณาผลการเจรจา และร่างสัญญาร่วมทุน โดยคาดว่าจะมีการลงนามสัญญาได้ในเดือนพฤษภาคมนี้

EEC ดันเมืองการบินเข้า ครม. จ่อเซ็นกลุ่ม BBS พ.ค.นี้

ทั้งนี้  กลุ่ม BBS เป็นการร่วมทุนระหว่าง บมจ.บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ (BTS) ถือหุ้น 35% กับ บมจ.การบินกรุงเทพ (BA) ถือหุ้น 45%และบมจ. ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น (STEC)ถือ 20%

นายโชคชัย ปัญญายงค์ รองเลขาธิการ EEC และผู้เชี่ยวชาญพิเศษด้านโครงสร้างพื้นฐาน กล่าวว่า โครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินตะวันออก ระยะแรกจะมีองค์ประกอบหลัก ได้แก่ อาคารผู้โดยสารหลังที่ 3 ที่จะมาทดแทนอาคารผู้โดยสารหลังเก่า โดยสามารถรองรับผู้โดยสารได้ 60 ล้านคน/ปี ระยะเวลา 50 ปี ทางวิ่งทางขับ (Runway &Taxi way) ซึ่งส่วนนี้กองทัพเรือจะเป็นผู้ก่อสร้าง และศูนย์ซ่อมอากาศยานของ บมจ.การบินไทย (THAI)

EEC ดันเมืองการบินเข้า ครม. จ่อเซ็นกลุ่ม BBS พ.ค.นี้

นอกจากนี้  ยังมีรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน โดยจะมีการเชื่อมการเดินทางทางอากาศและทางรางไว้ด้วย ซึ่งสถานีรถไฟควรจะอยู่ใกล้หรืออยู่ในอาคารผู้โดยสาร เพื่อให้การเชื่อมต่อการเดินทางทั้ง 2 รูปแบบได้ ให้ความสะดวกแก่ผู้โดยสาร นอกจากนี้สาธารณูปโภค ระบบเติมน้ำมันอากาศยาน รวมถึงหอบังคับการบิน

สำหรับโครงการพัฒนาท่าอากาศยานอู่ตะเภา มูลค่า 2.9 แสนล้านบาท ตั้งอยู่บนพื้นที่ 6,500 ไร่ ของกองทัพเรือ ประกอบด้วย อาคารผู้โดยสารหลังที่ 3 (Passenger Terminal 3 and Airport Facilities), ศูนย์ธุรกิจการค้า (Commercial Gateway), พื้นที่เขตประกอบการค้าเสรี (Cargo Village as a Free Trade Zone), กลุ่มอาคารคลังสินค้า (Air Cargo Terminals), ธุรกิจซ่อมบำรุงอากาศยาน (Maintenace Repair and Overhual (MRO)Facilities)และ ศูนย์ฝึกอบรมบุคคลากรการบิน (Aviation Training Center)

รัฐได้ประโยชน์เพิ่มเติม คือ ได้ภาษีอากรเพิ่มมากกว่า 6 หมื่นล้านบาท (ไม่นับรวมรายได้ภาษีทางอ้อมกับธุรกิจเชื่อมโยงนอกเมืองการบินภาคตะวันออก) และเกิดการจ้างงานเพิ่ม 15,640 ตำแหน่งต่อปีในระยะ 5 ปีแรก