ข้าวแลกปลาเล ปลุกBarter Trade ฟื้นศก.ฐานราก

24 เม.ย. 2563 | 10:19 น.

Barter Trade ช่วง โควิด-19 ระบาด นำร่องช่วยภาคเกษตร-ชาวประมง ก่อนขยายทั่วประเทศสร้าง Platform Barter Trade

กระแส “แลกเปลี่ยนอาหาร” โดยไม่ใช้เงินตรา (Barter Trade) กำลังก่อตัว ระหว่างเครือข่ายกองทุนหมู่บ้านต่างๆทั่วประเทศ หลังทัพฟ้า” ขนข้าวชาวนา แลกปลาชาวเล นำร่องฟื้นวัฒนธรรมโบราณแลกสินค้า “Barter Trade”

ภารกิจ “ขนข้าวชาวนา แลกปลาชาวเล” ของกองทัพอากาศ นำโดย พลอากาศเอก มานัต วงษ์วาทย์ ผู้บัญชาการทหารอากาศ  จัดกำลังพลของกองทัพอากาศ ยานพาหนะ และเครื่องบินลำเลียงแบบที่ 8 หรือ C-130 ขนส่ง ข้าวหอมมะลิจำนวน 77 ตันแลกกับ ปลาเค็ม ปลาแห้ง จำนวน 1.5 ตัน ระหว่าง จังหวัดยโสธร อุบลราชธานี ภูเก็ต และพังงา เมื่อวันจันทร์ที่ 20 เมษายน 2563 ที่ผ่านมา
  ข้าวแลกปลาเล ปลุกBarter Trade ฟื้นศก.ฐานราก
ข้าวแลกปลาเล ปลุกBarter Trade ฟื้นศก.ฐานราก

ล่าสุดภาพ“Barter Trade”ชัดขึ้นไปอีก เมื่อวันศุกร์ที่ 24 เมษายน 2563 ที่ผ่านมา กองทุนหมู่บ้านบ้านท้องคุ้ง หมู่ที่ 4 ต.ปากจั่น อ.นครหลวง จ.พระนครศรีอยุธยา ได้นำร่องส่งมอบข้าวสารแลกเปลี่ยนอาหารทะเลกับกองทุนหมู่บ้าน(สถาบันฯ)กับสมุทรสาคร โดยตั้งเป้าหมายว่าจะทำให้เกิดการหมุนเวียนของสินค้ากับเครือข่ายกองทุนหมู่บ้านต่างๆทั่วประเทศ

ทั้งนี้สถาบันการเงินของชุมชนที่จัดตั้งขึ้นโดยกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง เป็นอีกชุมชนหนึ่งที่มองเห็นการสร้างโอกาสให้ชุมชนเชื่อมโยงสร้างความมั่นคงทางด้านอาหารระหว่างกัน ที่เป็นมากกว่าการบริการทางการเงิน

นับเป็นปรากฎการณ์นำร่องและช่วยจุดประกาย การแลกเปลี่ยนสินค้าระหว่างชุมชน เมือง หรือประเทศ โดยไม่ต้องผ่านพ่อค้าคนกลาง หรือที่รู้จักกันดีในชื่อ “Barter Trade” เป็นการส่งเสริมวัฒนธรรมการแลกเปลี่ยนสินค้าที่เคยมีมาแต่โบราณ สร้างความเข้มแข็งและมีศักดิ์ศรีให้แก่ชุมชน สร้างความร่วมมือระหว่างส่วนราชการ องค์กร และชุมชน ลดภาระของส่วนราชการในการไปดูแลชุมชนดังกล่าว ตลอดจนส่งเสริมการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม ทำให้เกิดความปรองดองสมานฉันท์ของคนในชาติได้อย่างดี

ในสถานการณ์ปัจจุบัน เงินตรา หรือรายรับขาดสภาพคล่องที่จะลงสู่เศรษฐกิจฐานล่างได้อย่างทันสถานการณ์ เป็นไปอย่างยากลำบาก เนื่องเพราะระบบเศรษฐกิจโดยรวมต้องชะงักงันในช่วงโควิด-19 ระบาดทำให้การทำมาค้าขายปกติทำไม่ได้เต็มที่ นอกจากนี้เรายังเห็นความเดือดร้อนของผู้ลงทะเบียนขอรับเงินช่วยเหลือ 5,000 บาทที่มีกว่า 27 ล้านคนถือว่าไม่น้อยยังไม่รวมก้อนเกษตรกร และวิชาชีพอื่น ๆ

ดังนั้นสถานการณ์นี้การนำโมเดลของ การแลกเปลี่ยนสินค้ากันโดยตรงหรือ Barter Trade จึงน่าจะเป็นทางออกหนึ่ง เพราะสามารถใช้ Platform ที่ทันสมัย การขนส่งที่มีประสิทธิภาพ ขึ้นอยู่กับข้อตกลงกันทั้งสองฝ่าย

ยุคปัจจุบันการแลกเปลี่ยนสิ่งของต่อสิ่งของเกิดขึ้นอีกครั้งเมื่อยามเกิดวิกฤตโรคระบาด และยามขาดแคลนเงินสด 

ข้าวแลกปลาเล ปลุกBarter Trade ฟื้นศก.ฐานราก

ข้าวแลกปลาเล ปลุกBarter Trade ฟื้นศก.ฐานราก ข้าวแลกปลาเล ปลุกBarter Trade ฟื้นศก.ฐานราก

ย้อนไปของที่มาปรากฏการณ์ “ข้าวแลกปลา” เกิดขึ้น เมื่อชุมชนชาวเล ในนามเครือข่ายชาวเลอันดามัน พื้นที่จังหวัดภูเก็ต พังงา กระบี่ ระนอง และสตูล   ขาดพื้นที่ทางการค้า แม้จะออกทะเลหาปลามาได้ แต่ไม่สามารถขายปลาและสัตว์ทะเลได้ จึงได้รับความเดือดร้อนอย่างหนัก ไม่มีเงินที่จะซื้อข้าวสาร กระทั้งมูลนิธิชุมชนไท ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร ได้เห็นปัญหา ร่วมกันของชาวเลราไวย์

จึงได้หารือร่วมกับผู้นำชุมชนชาวเลในพื้นที่ต่างๆ ระดมจัดทำปลาแห้ง ประมาณ 1,000กิโลกรัมไปแลกเปลี่ยนกับข้าวสาร กับเครือข่ายชาวนาภาคอีสาน สมาคมชาวยโสธร ซึ่งเป็นผู้ผลิตข้าวหอมมะลิอินทรีย์ โดยคิดอัตราแลกเปลี่ยนแบบ Barter Trade ข้าว 4 กิโลกรัมต่อปลาแห้ง 1 กิโลกรัม

ภาพของ Barter Economy ก็จะเป็นภาพที่เกิดขึ้นโดยไม่มีเงินเข้ามาเกี่ยวข้อง ยกเว้นจะมีตัวกลางในการขนส่ง หรือการนำระบบโลจิสติกส์มาใช้ก็ย่อมจะต้องมีค่าใช้จ่าย ซึ่งปัจจุบันมีหลายรายที่จะได้แข่งขันหรือในรูปประมูลการขนส่ง ก็คงต้องติดตามกันต่อไปว่าระบบใดจะเหมาะมาส่งเสริม Barter Economy

หวังว่าในเร็ว ๆ นี้น่าจะเกิดระบบการขนย้ายสินค้า จากภูเก็ตไปอีสาน จากอีสานไปเขียงใหม่ จากเชียงใหม่ไปภูเก็ต สุราษฎรธานี สงขลา ตลอดจนระหว่างจังหวัดทั่วประเทศ

ข้าวแลกปลาเล ปลุกBarter Trade ฟื้นศก.ฐานราก

ข้าวแลกปลาเล ปลุกBarter Trade ฟื้นศก.ฐานราก
ข้าวแลกปลาเล ปลุกBarter Trade ฟื้นศก.ฐานราก

ซึ่งจริง ๆแล้วก็เป็นบทบาทและเนื้องานของรัฐบาลอยู่แล้วทั้ง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่จะดูตัว Supply กระทรวงพาณิชย์ดูเรื่องกลไกราคา Barter Trade เชิงที่ปรึกษาพร้อมกับหา Demand แล้วจับคู่ เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนกันในจำนวนที่มากพอคุ้มต่อการขนส่ง กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม สนับสนุนด้าน Platformกระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เชื่อมโยงองค์ความรู้ต่อยอด และกระทรวงคมนาคม หรือกองทัพ ช่วยด้านขนส่งโลจิสติกส์ ในภาวะสงคราม COVID

ไม่รวมถึงหน่วยงานภาคเอกชน ทั้งหอการค้าไทย หอการค้าจังหวัด สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สมาพันธ์ SME ไทย ที่น่าจะต้องจับมือภาครัฐ ควรจะเข้ามาช่วยหาแนวทางเพื่อให้เกิดการค้ารูปแบบนี้มากขึ้น เนื่องจากกระแสเงินสด และสภาพคล่องของเกษตรกรสูญหาย สิ่งที่ควรทำคือระบบการสมน้ำสมเนื้อ มีเกณฑ์ที่ชัดเจน และสินค้าที่เหมาะสมคืออาหาร วัตถุดิบ ผลไม้ ข้าว สินค้าอาหารทะเล ประการสำคัญคือการเข้าไปเสาะหา Demand และจับคู่กับ Supply ที่ตรงกับในพื้นที่

จะทำให้เกิดการหมุนเวียนของสินค้า ประชาชน เกษตรกรฐานล่างอยู่รอด และที่สำคัญจะต้องได้รับการสนับสนุนจากการขนส่งจำนวนมาก เพื่อลดต้นทุนในการขนส่ง รัฐบาลจำเป็นต้องสนับสนุนด้านการขนส่งโดยจ้างบริษัทขนส่ง ผู้ประกอบการเข้ามาให้เกิดรายได้จากการขนส่งสินค้าในระบบ Barter Trade

อีกไม่นานเราหวังว่ากองทัพอากาศอาจเป็นกำลังสำคัญ ถึงตอนนั้นเราคงจะเห็นเครื่อง C 130 บินไปทั่วประเทศ เพื่อขนส่งสินค้าเกษตรที่สำคัญ ข้าว ผลไม้แต่ละภูมิภาค ตามฤดูกาล ปลา อาหารทะเล ฯลฯ โดยการตกลงเรื่องอัตราการแลกเปลี่ยนที่เหมาะสม

ประการสำคัญเป็นยุทธศาสตร์ของประเทศที่เราจะต้องปักธงในการสร้างความเข้มแข็งด้านความมั่นคงทางอาหาร สินค้าเกษตร สินค้าประมง สินค้าธัญพืช โดยเฉพาะข้าว โดยสร้างระบบเศรษฐกิจแบบดั้งเดิมมาเติมเต็มผสมผสานกับ Digital Economy ให้ลงตัว ประชาชนคนไทยจะได้ประโยชน์จากเรื่องนี้โดยตรงแน่นอน