ดูชัดชัด เทียบสถิติความแข็งแกร่ง "สาธารณสุขไทย" สู้ศึกโควิดป่วนโลก

17 เม.ย. 2563 | 01:11 น.

"ฐานเศรษฐกิจ" นำเสนอความแข็งแกร่งของระบบสาธารณสุขไทย "อันดับ 6 ของโลก" ท่ามกลางศึกโควิด เทียบกับหลายประเทศที่สู้ศึกหนักกับไวรัสร้ายเช่นกัน

“ฐานเศรษฐกิจ” เทียบข้อมูล การจัดอันดับประเทศที่มี “ระบบสุขภาพดีที่สุดในโลก” ประจำปี 2562 ซึงจัดอันดับนิตยสาร CEOWORLD นิตยสารด้านธุรกิจของสหรัฐอเมริกา กับสถานการณ์การระบาดอย่างหนักของเชื้อไวรัสโคโรนา(โควิด-19) ทั่วทั้งโลกที่มีผู้ป่วยติดเชื้อมากกว่า 2 ล้านคน เสียชีวิตมากกว่า 1.4 แสนคน เพื่อให้เห็นภาพของความจำเป็นที่ต้องมีความแข็งแกร่งของระบบสาธารณสุข ที่ทำให้ประเทศไทยติดอยู่ในอันดับ 6 ของโลก จากการสำรวจครั้งที่ผ่านมา 

ซึ่งการสำรวจเมื่อปี 2562 ประเทศที่ได้รับการจัดอันดับว่าเป็นประเทศที่มีระบบสุขภาพที่ดีที่สุดในโลก ได้แก่ ไต้หวัน ได้คะแนนโดยภาพรวมทั้งหมด 78.72 คะแนน ซึ่งท่ามกลางสถานการณ์โควิด ที่ไต้หวัน ข้อมูล ณ วันที่ 16 เม.ย. มีผู้ป่วยติดโควิดรวม  395 ราย เสียชีวิต 6 ราย

ระบบสาธารณสุขดีอันดับที่ 2 ของโลก คือ เกาหลีใต้ได้ มีผู้ป่วยโควิดรวม 10,613 เสียชีวิต 229 ราย ระบบสาธารณสุขดีอันดับ 3 ของโลก คือ ญี่ปุ่น มีผู้ป่วยร่วม 8,626 ราย เสียชีวิต 178 ราย ระบบสาธารณสุขดีอัน 4 ของโลก ออสเตรีย มีผู้ป่วยโควิดรวม 14,453 ราย เสียชีวิต 393 ราย ระบบสาธารณสุขดีอันดับ 5 ของโลก เดนมาร์ก มีผู้ป่วยโควิดรวม 7,074 เสียชีวิต 321 ราย

ดูชัดชัด เทียบสถิติความแข็งแกร่ง "สาธารณสุขไทย" สู้ศึกโควิดป่วนโลก

ระบบสาธารณสุขดีเป็นอันดับ 6 ของโลก คือประเทศไทย มีผู้ป่วยโควิดรวม 2,672 เสียชีวิต 46 ราย ถัดมาคือ สเปน ได้รับอันดับ 7 ของโลก มีผู้ป่วยโควิดรวม 182,816 เสียชีวิต 19,130 ราย  ฝรั่งเศส อันดับ 8 ของลโลก มีผู้ป่วยโควิดรวม 134,598 เสียชีวิตรวม 17,188  ซึ่งจากการเทียบสถานการณ์ที่เลวร้ายครั้งนี้ พบว่า ฝรั่งเศสมีตัวเลขการสูญเสียอยู่ในลำดับที่ 4 ของโลก 

ระบบสาธารณสุขดีดีที่สุดอันดับที่ 9 ของโลก เบลเยียม มีผู้ป่วยโควิดรวม 34,809 เสียชีวิต 4,857 ราย และออสเตรเลีย อยู่ในอันดับที่ 10 ของโลก มีผู้ป่วยโควิดรวม 6,462 ราย เสียชีวิต  63 ราย 

แต่หากพิจารณาจากข้อมูลของสถานการณ์การระบาดและเสียชีวิตที่มีความสูญเสียมากที่สุด สูงสุดอยู่ที่ สหรัฐอเมริกา มีผู้ป่วยรวม 640,291 เสียชีวิตรวม 31,015 ซึ่งพบว่าระบบสาธารณสุขอยู่ในอันดับที่ 30 ของโลก ความสูญเสียรองลงมาคือ สเปน ผู้ป่วยรวม 182,816 เสียชีวิต 19,130 ราย อันดับสาธารณสุขอันดับ 7 ของโลก

ถัดมา คือ อิตาลี ผู้ป่วยรวม 165,155 ราย เสียชีวิต 21,645 ราย  อันดับสาธารณสุขอันดับ 37 ของโลก  เยอรมัน  ผู้ป่วยรวม 135,633 ราย เสียชีวิต 3,856 ราย อันดับสาธารณสุขอันดับ 17 ของโลก ลำดับที่ 5 ฝรั่งเศส ผู้ป่วยรวม 134,598 เสียชีวิตรวม 17,188  ระบบสาธารณสุขอยู่ในอันดับ 8 ของโลก

ดูชัดชัด เทียบสถิติความแข็งแกร่ง "สาธารณสุขไทย" สู้ศึกโควิดป่วนโลก

ลำดับที่ 6 อังกฤษ 104,133 มีผู้เสียชีวิต 13,755 ราย อันดับสาธารณสุขอันดับ 13ของโลก  ลำดับที่ 7 จีน ซึ่งศูนย์กลางการระบาดอยู่ที่เมืองอู่ฮั่น พบว่ามีผู้ติดเชื้อรวม 83,403 ราย  เสียชีวิต 3,346 ราย ระบบสาธารณสุขอยู่ที่อันดับ 46 ของโลก 

ลำดับที่ 8 อิหร่าน ติดเชื้อรวม 83,403 ราย เสียชีวิต 4,869 ราย ระบบสาธารณสุขอยู่ที่อันดับ 78 ของโลก ลำดับที่ 9  ตุรกี สะสม 69,392  ราย เสียชีวิต 1,518 ราย  และลำดับที่ 10 เบลเยียม ผู้ป่วยรวม 34,809 เสียชีวิต 4,857 ราย อันดับสาธารณสุขอยู่ที่อันดับ 9 

ทั้งนี้ข้อมูลนิตยสาร CEOWORLD ใช้ในการจัดอันดับ พบว่า พิจารณาจากปัจจัยต่างๆ ได้แก่ 1.โครงสร้างพื้นฐานด้านสาธารณสุข 2.ประสิทธิภาพของบุคลากรด้านสาธารณสุข ตั้งแต่แพทย์ พยาบาล และบุคลากรอื่นๆ 3.ค่าใช้จ่ายในระบบ 4.การเข้าถึงยาคุณภาพ และ 5.ความพร้อมของรัฐบาลในการจัดการระบบ 

ซึ่งประเทศไทยได้คะแนนทั้งหมด 67.99 จาก 100 คะแนนเต็ม แต่เมื่อแยกคะแนนดด้านโครงสร้างพื้นฐาน ได้ 92.58 คะแนน ด้านบุคลากรผู้เชี่ยวชาญ 17.37 คะแนน ด้านค่าใช้จ่าย 96.22 คะแนนด้านการเข้าถึงยา 67.51 คะแนน ด้านความพร้อมของรัฐบาล 89.91 คะแนน 

ส่วนอันดับ 1 ไต้หวัน ได้คะแนนทั้งหมด 78.72 มีคะแนนแต่ละด้าน โครงสร้างพื้นฐาน 87.16 คะแนน ด้านบุคลากรผู้เชี่ยวชาญ 14.23 คะแนน ด้านค่าใช้จ่าย 83.59 คะแนน ด้านการเข้าถึงยา 82.3 คะแนนด้านความพร้อมของรัฐบาล 87.89 คะแนน 

อันดับ 2 เกาหลีใต้ ได้คะแนนทั้งหมด 77.7 ด้านโครงสร้างพื้นฐาน 79.05 คะแนน ด้านบุคลากรผู้เชี่ยวชาญ 13.06 คะแนน ด้านค่าใช้จ่าย 78.39 คะแนน ด้านการเข้าถึงยา 78.99 คะแนน ด้านความพร้อมของรัฐบาล 65.09 คะแนน

อันดับ 3 ญี่ปุ่น ได้คะแนนทั้งหมด 74.11 ด้านโครงสร้างพื้นฐาน 90.75 คะแนน ด้านบุคลากรผู้เชี่ยวชาญ 30.01 คะแนน ด้านค่าใช้จ่าย 82.59 คะแนนด้านการเข้าถึงยา 92.06 คะแนน ด้านความพร้อมของรัฐบาล 96.3 คะแนน 

อันดับ 4 ออสเตรีย ได้คะแนนทั้งหมด 71.32 ด้านโครงสร้างพื้นฐาน 86.18 คะแนน ด้านบุคลากรผู้เชี่ยวชาญ 20.25 คะแนน ด้านค่าใช้จ่าย 78.99 คะแนน ด้านการเข้าถึงยา 88.23 คะแนน ด้านความพร้อมของรัฐบาล 91.8 คะแนน 

อันดับ 5 เดนมาร์ก ได้คะแนนทั้งหมด 70.73 ด้านโครงสร้างพื้นฐาน 78.77 คะแนน ด้านบุคลากรผู้เชี่ยวชาญ 21.6 คะแนน ด้านค่าใช้จ่าย 74.88 คะแนน ด้านการเข้าถึงยา 74.18 คะแนน ด้านความพร้อมของรัฐบาล 93.2 คะแนน 

อันดับ 7 สเปน ได้คะแนนทั้งหมด 65.38 ด้านโครงสร้างพื้นฐาน 77.86 คะแนน ด้านบุคลากรผู้เชี่ยวชาญ 13.24 คะแนน ด้านค่าใช้จ่าย 71.82 คะแนน ด้านการเข้าถึงยา 55.1 คะแนน ด้านความพร้อมของรัฐบาล 81.38 คะแนน 

อันดับ 8 ฝรั่งเศส ได้คะแนนทั้งหมด 64.66 ด้านโครงสร้างพื้นฐาน 86.28 คะแนน ด้านบุคลากรผู้เชี่ยวชาญ 34.25 คะแนน ด้านค่าใช้จ่าย 75.81 คะแนน ด้านการเข้าถึงยา 83.82 คะแนน ด้านความพร้อมของรัฐบาล 96.8 คะแนน 

อันดับ 9 เบลเยี่ยม ได้คะแนนทั้งหมด 64.63 ด้านโครงสร้างพื้นฐาน 72.48 คะแนน ด้านบุคลากรเชี่ยวชาญ 24.51 คะแนน ด้านค่าใช้จ่าย 68.68 คะแนน ด้านการเข้าถึงยา 64.78 คะแนน ด้านความพร้อมของรัฐบาล 94.9 คะแนน

อันดับ 10 ออสเตรเลีย ได้คะแนนทั้งหมด 61.73 ด้านโครงสร้างพื้นฐาน 88.63 คะแนน ด้านบุคลากรผู้เชี่ยวชาญ 14.66 คะแนน ด้านค่าใช้จ่าย 75.61 คะแนน ด้านการเข้าถึงยา 90.25 คะแนน ด้านความพร้อมของรัฐบาล 88.41 คะแนน

ในการจัดอันดับของ CEOWORLD พบว่าประเทศไทย มีระบบสุขภาพที่ดีที่สุดในอาเซียน อยู่เหนือสิงคโปร์ ซึ่งตามมาในอันดับที่ 24 ซึ่งได้คะแนนที่ 48.54 คะแนน และมาเลเซีย ซึ่งอยู่ที่อันดับ 34 ได้คะแนน45.1 คะแนน ส่วนอินโดนีเซีย อยู่ที่อันดับ 52 เวียดนามอยู่อันดับที่ 66 ขณะที่ประเทศอาเซียนอื่นๆ ไม่ได้รับการสำรวจ