ค่ายมือถือยืนกรานไม่ลดค่าบริการ

16 เม.ย. 2563 | 01:47 น.

กสทช.ว่าไงค่ายมือถือยืนกรานไม่ลดค่าบริการตามคำขอของ กสทช.

แหล่งข่าวจากบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)  เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ไม่สามารถลดค่าบริการ10-30% ตามที่สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. ให้ช่วยเหลือประชาชนในช่วงวิกฤติโควิด-19 
เนื่องจากบรรดาผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ได้ทำโปรโมชั่นในอัตราที่ถูกลงแล้ว โดยทรู ได้แจกซิมฟรี อาทิ สามัญประจำบ้านที่ลูกค้าสามารถรับได้ฟรี โดย 1 บัตรประชาชนสามารถรับได้ 1 ซิม ที่เซเว่นอีเลฟเว่นทุกสาขา รวมถึงลูกค้าทรู มูฟ เอช สามารถใช้บริการไวไฟฟรีได้กว่า 400,000 จุดทั่วประเทศ และแพลตฟอร์มทรูวีรูม สำหรับนักเรียน นักศึกษา และคนทำงาน ให้สามารถใช้แพลตฟอร์มนี้ เพื่อทำงานหรือเรียนจากที่บ้านโดยไม่เสียค่าบริการ 
    อย่างไรก็ตาม กสทช.ในฐานะองค์กรกำกับ(Regulator)น่าจะทราบดีว่า ต้นทุนการให้บริการRegulatory cost/รายได้ Revenue เป็นเท่าไร? บวก หรือลบ เมื่อเทียบกับ สาธารณูปโภค  Infrastructures อื่นๆ เช่นไฟฟ้า ประปา ซึ่งเป็น Monopoly และมีต้นทุนที่ต่างกันมาก ไม่ต้องประมูลคลื่นความถี่ ไม่ต้องเสียค่าใบอนุญาติ การที่ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่มาสนับสนุนโครงการ 10GB ก็แบกขาดทุนในระดับนึงแล้ว และข้อมูลล่าสุด หลังจากให้เน็ตมือถือ 10GB เมื่อวันที่10เมษายน พบว่าอัตราการเติมเงินของลูกค้าแบบเติมเงินลดลงกว่า 30% ทั้งจำนวน Transection และ Volume 
 

นอกจากนี้แล้ว กสทช. ยังจะให้พักชำระหนี้ในเรื่องนี้ทรู ไม่สามารถพิจารณาได้เพราะผู้ใช้บริการบางรายมีกำลังที่จะจ่ายค่ารายเดือน แต่เมื่อมีเรื่องนี้ออกไปผู้ใช้บริการไม่ยอมจ่ายค่ารายเดือนไม่ยุติธรรมกับผู้ประกอบการเช่นเดียวกัน 
    

อย่างไรก็ตามขณะนี้กลุ่มทรูกำลังมีมาตรการให้กับผู้ที่ซื้อเครื่องผ่อนซึ่งกำลังหามาตรการอยู่เพราะถ้าหยุดการชำระทำให้เกิดนี้สูญขึ้นมาได้
  

"กสทช. ไม่คิดจะช่วยอะไรเราเลยจะให้ผู้ประกอบการช่วยเหลืออย่างเดียวถูกต้องหรือไม่ เพราะบริษัทต้องการกระแสเงินสดเพื่อจ่ายค่าใบอนุญาติแต่เราต้องนำเงินมาจ่ายคลื่นความถี่" แหล่งข่าวกลุ่มทรู ให้ความเห็น
    

ส่วนการประชุมกับ กสทช.ในวันนี้ (16 เม.ย.)  ทางฝ่ายผู้บริหารมอบหมายให้ฝ่ายการตลาดเข้าร่วมประชุมแทน 

ขณะที่บริษัท เอเซีย พลัส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า กสทช. มีแผนที่จะเรียกผู้ประกอบการมือถือเจ้าหลักมาหารือเรื่องมาตรการให้ความช่วยเหลือค่าใช้จ่ายโทรคมนาคมแก่ประชาชนในอัตรา 10%-30% โดยรวมคาดว่าจะสร้างแรงกดดันต่อราคาหุ้นต่อ เอไอเอส,ดีแทค และ ทรู 

อย่างไรก็ตาม ฝ่ายวิจัยเชื่อว่าบทสรุปมาตรการช่วยเหลือไม่น่าจะออกมาในรูปแบบให้ส่วนลดในอัตราสูงตามกระแสข่าว หากพิจารณาจาก  1.ฐานค่าบริการโทรคมนาคมของไทยปัจจุบันค่อนข้างถูกมากอยู่แล้ว โดยหากเปรียบเทียบในอาเซียน ค่าโทรและค่าอินเตอร์เนตไทยถูกเป็นลำดับที่ 2  และลำดับที่ 4 และ  2.แนวทางรัฐฯในการปรับลดต้นทุนค่าสาธารณูปโภคอื่นๆ ไม่ได้ปรับลดลงมาก กล่าวคือ ในส่วนค่าไฟฟ้า และค่าน้ำ รัฐฯปรับลดลงเพียง 3% และให้ส่วนลดระยะสั้นเฉพาะช่วงไตรมาส 2/2563 


    จากการศึกษาผลกระทบของฝ่ายวิจัย พบว่า ทุกๆ รายได้เฉลี่ยต่อเลขหมายต่อปี 2563 1% ที่ลดลงจากสมมติฐานปัจจุบัน จะกระทบกำไร ADVANC,DTAC ลดลงที่ 2.5%, 8.7% ส่วน TRUE ขาดทุนเพิ่มขึ้น 51% ตามลำดับ และจะกระทบ Fair Value(ราคาที่จะได้รับจากการขายสินทรัพย์ หรือจ่ายเพื่อโอนหนี้สินในรายการที่เกิดขึ้นในสภาพปกติระหว่างผู้ร่วมตลาด (Market Participant) ที่ 1, 0.5 และ 0.1 บาท ตามลำดับ จากมูลค่าพื้นฐานปัจจุบันที่ 248, 43 และ 3.8 บาท