ระบาดพุ่ง มีแค่ไทย-เกาหลี “เอาอยู่”

12 เม.ย. 2563 | 06:34 น.

โฆษกศบค.ชี้ ผู้ป่วยไทยลดต่อเนื่องแต่การ์ดอย่าตก การระบาดทั่วโลกยังพุ่ง คนไทยกลับจากต่างประเทศต้องเข้าState Quarantines สกัดแพร่เชื้อ

 

วันนี้(12 เม.ย.2563)  นายแพทย์ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกกระทรวงสาธารณสุข ในฐานะโฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) แถลงสถานการณ์โควิด-19 ประจำวันที่ 12 เม.ย. 2563  พบผู้ติดเชื้อรายใหม่ 33 ราย รวมยอดสะสม 2,551  ราย เสียชีวิตเพิ่ม 3 ราย รวมมีผู้เสียชีวิตสะสม 38 ศพ ขณะรักษาหายแล้ว 1,218 ราย นับเป็นข่าวดีรับวันปีใหม่ไทย ที่ตัวเลขติดเชื้อยืนยันรายใหม่ลดลงต่อเนื่อง แต่เมื่อดูสถานการณ์ทั่วโลกและรอบบ้านแล้วยังน่าเป็นห่วง ดังนั้น จึงยัังต้องใช้มาตรการควบคุมทีี่เข้มข้นต่อไปโดยต้องการ์ดไม่ตก

ระบาดพุ่ง มีแค่ไทย-เกาหลี “เอาอยู่”

โฆศก ศบค. วิเคราะห์ปัจจัยเสี่ยงประจำวันว่า ในกลุ่มผู้ติดเชื้อยืนยันรายใหม่ 33 รายดังกล่าว เป็นผู้ป่วยรายใหม่ในประเทศ จำนวน 31 คน ในจำนวนนี้มี 15 คน ที่ป่วยจากไปสัมผัสผู้ป่วยยืนยันรายก่อนหน้า 7 คนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ และติดจากสถานบันเทิง 2 ราย

 

อีก 10 รายเป็นกลุ่มผู้ป่วยใหม่ที่ไม่เกี่ยวข้องกับผู้ป่วยรายเดิม คือ เป็นคนไทยกลับจากต่างประเทศ ไปสถานที่ที่มีคนชุมนุม เช่น ห้าง ตลาดนัด สถานที่ท่องเที่ยว และกลุ่มอาชีพเสี่ยง คือ ทำงานในที่แออัด ใกล้ชิดคนต่างชาติ อย่างละ 1 ราย รวม 3 ราย ขณะที่มี 7 รายเป็นบุคลากรด้านการแพทย์และสาธารณสุข ซึ่งต้องหาวิธีป้องกันกันต่อไป ระบาดพุ่ง มีแค่ไทย-เกาหลี “เอาอยู่”

ระบาดพุ่ง มีแค่ไทย-เกาหลี “เอาอยู่”

ส่วนผู้ป่วยที่เดินทางมาจากต่างประเทศและเข้าระบบกักกันโรคที่รัฐกำหนดให้(State Quarantines) มี 2 ราย เป็นกลุ่มไปประกอบศาสนกิจมาจากอินโดนีเซีย ซึ่งเป็นอีกกลุ่มที่น่าห่วง

 

 ทำให้ลักษณะของผู้ติดเชื้อสะสมทั้ง 2,551 ขณะนี้กระจายตัวใน 68 จังหวัด โดยอยู่ในกรุงเทพฯสูงสุด 1,294 คน และปริฆณฑล คือ นนทบุรี 148 คน สมุทรปราการ 106 คน  ส่วนภาคใต้หนาแน่นที่ภูเก็ต 176 คน จากกลุ่มสถานบันเทิง และสัมผัสใกล้ชิดชาวต่างชาติ กับ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ยะลา 82 คน ปัตตานี 77 คน  เมื่อคิดอัตราผู้ป่วยต่อประชากร 1 แสนคน ปรากฎว่าจังหวัดภูเก็ต มีอัตราผู้ป่วยสูงสุดคือ 42.57  ถัดมาคือ กทม. 22.82 ยะลา 15.35  

 

กลุ่มก้อนของผู้เดินทางกลับจากต่างประเทศ เช่น กลุ่มไปประกอบศาสนกิจที่อินโดนีเซีย เมื่อเดินทางกลับต้องเข้า State Quarantines โดยยังไม่ได้กลับภูมิลำเนาทันที ระหว่างนี้หากปรากฎมีการติดเชื้อต้องนำตัวเข้ารักษาในโรงพยาบาล อาจทำให้ตัวเลขผู้ติดเชื้อในบางจังหวัดที่เป็นที่ตั้งของสถานที่กักตัวเฝ้าระวังดูอาการ( State Quarantines) มีจำนวนผู้ป่วยสูง ซึ่งตัวเลขนี้เป็นยอดผู้ป่วยเพื่อใช้ในการบริหารจัดการเพื่อควบคุมโรคเท่านั้น มิใช่ตัวชี้วัดผลการทำงานของพื้นที่ว่ามีประสิทธิภาพหรือไม่แต่อย่างใด ขอให้สบายใจ

ระบาดพุ่ง มีแค่ไทย-เกาหลี “เอาอยู่” ระบาดพุ่ง มีแค่ไทย-เกาหลี “เอาอยู่”

ระบาดพุ่ง มีแค่ไทย-เกาหลี “เอาอยู่”

โฆษก ศบค.กล่าวอีกว่า เมื่อดูพัฒนาการของตัวเลขผู้ป่วยยืนยันรายสัปดาห์ ผลออกมาตัวเลขดีเยี่ยมเช่นกัน และสะท้อนถึงผลสัมฤทธิ์ของมาตรการต่าง ๆ ที่ประกาศใช้ก่อนหน้านั้น เมื่อปรากฎว่าจำนวนผู้ป่วยใหม่ในแต่ละกลุ่มปัจจัยเสี่ยงมีจำนวนลดลงเรื่อย อาทิ กลุ่มสนามมวย ที่เคยมีถึง 110 คน และ 113 คน ในสัปดาห์ที่ 12(15-21มี.ค.2563) และสัปดาห์ที่ 13(22-28 มี.ค.2563) จากการสอบสวนติดตามโรคอย่างใกล้ชิด มีผู้ป่วยใหม่จากกลุ่มนี้ลดลงเหลือ 19 รายในสัปดาห์ที่ 14 (29มี.ค.-4 เม.ย.256)  และไม่มีอีกเลยถัดจากนั้น อย่างไรก็ตามการ์ดต้องไม่ตก

 

แม้ตัวเลขผู้ติดเชื้อรายใหม่ของไทยจะลดลงติดต่อกัน 3 วันแล้ว แต่เมื่อดูสถานการณ์การแพร่ระบาดในภาพใหญ่ของทั้งโลก ล่าสุด มีผู้ติดเชื้อรวมกว่า 1,178,000 กว่าคนแล้ว สหรัฐอเมริกามีผู้ป่่วยสูงสุดกว่า 532,000 กว่าคน เป็นผู้ป่วยรายใหม่กว่า 30,000 คน และผู้เสียชีวิตสูงสุด 20,500 กว่าคน โดยเสียชีวิตในวันเดียวถึงกว่า 1,830 คน เป็นตัวเลขที่ยังทะยานชันขึ้น เช่นเดียวกับตัวเลขผู้ติดเชื้อในญี่ปุ่่น และอินเดียที่เร่งขึ้นเช่นกัน โดยต่างเป็นประเทศที่มีประชากรจำนวนมาก

 

ขณะที่การติดเชื้อในประเทศเพื่อนบ้านของไทยวันนี้ มาเลเซียเพิ่ม 184 คน ฟิลิปปินส์ 233 คน สิงคโปร์ กลับมาเพิ่มที่ 191 คน อินโดนีเซีย 330 คน ซึ่งล้วนเป็นตัวเลขที่กำลังชันขึ้นทั้งสิ้น โลกยังน่ากังวล ขณะที่มีคนไทยรอกลับบ้านอีกมาก เวลานี้มีเพียงประเทศไทยและเกาหลีที่กราฟกดหัวลงมาได้ เป็นสิ่งที่พึงประสงค์ที่สุด

 

เราทำได้ดีแล้วหลายคนถามว่าแล้วเมื่อไหร่จะเปิดประเทศ เมื่อไหร่จะเลิกมาตรการควบคุมต่าง ๆ เป็นเรื่องที่ศบค.ต้องประเมินสถานการณ์รอบด้านครบทุกมิติ ทั้งในด้านการสาธารณสุขที่ต้องควบคุมการระบาดของเชื้อให้ได้ ควบคู่ไปกับการดูแลกิจกรรมทางเศรษฐกิจ การจะเปิดประเทศเริ่มความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจนั้น เราจะดูแลความเสี่ยงของการระบาดได้อย่างไร โดยที่สุขภาพต้องมาก่อน 

ระบาดพุ่ง มีแค่ไทย-เกาหลี “เอาอยู่”

ระบาดพุ่ง มีแค่ไทย-เกาหลี “เอาอยู่”