3 จังหวัดชายแดนใต้วิกฤติ"ไข่ไก่"ขาดแคลนหนัก

11 เม.ย. 2563 | 09:55 น.

เอ็กซเรย์ไข่ไก่ “บังจู” เผยสถานการณ์ไข่ไก่ กรุงเทพฯ-ปริมณฑลเริ่มคลายตัวการค้าขายถดถอยช้าลง ขณะที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้วิกฤติไข่ไก่ยังไปไม่ถึง

นายสุธาศิน  อมฤก (บังจู) นายกสมาคมการค้าผู้ค้าไข่ไทย และประธานกลุ่มผู้ค้าไข่ไทย เผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ราคาไข่ไก่คละหน้าฟาร์มอยู่ที่ ราคา 2.80 บาท ตอนนี้สถานการณ์เริ่มคลายตัวบ้างแล้วโดยเฉพาะกรุงเทพฯและปริมณฑล ตลาดเริ่มช้าลง แล้วเริ่มคลี่คลายแล้ว  คราวที่แล้วคาดว่าจะเกิดจากการตื่นตระหนก บวกกับนโยบายรัฐบาลได้มีแคมเปญ “อยู่บ้าน หยุดเชื้อ” รณรงค์ให้ประชาชนอยู่กับบ้าน เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 และติดแฮชแท็ก เราทำได้ และควรทำทันที เพื่อเรา เพื่อชาติ ซึ่งจากกระแสสร้างความตื่นตระหนกให้กับประชาชนจนทำให้เกิดการกักตุนสินค้าจำนวนมาก

3 จังหวัดชายแดนใต้วิกฤติ"ไข่ไก่"ขาดแคลนหนัก

ในขณะนี้คนที่ซื้อไปกำลังทยอยใช้ไข่ไก่ที่ซื้อไปก่อนหน้านี้กันอยู่ ส่งผลทำให้ในส่วนของพ่อค้าและแม่ค้ายอดขายไข่ไก่ช้าลง เป็นผลพวงลูกโซ่ตามมา แต่ในส่วนของต่างจังหวัดไกลทางชนบท โดยเฉพาะทาง 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ (ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส) ยังมีปัญหาอยู่เพราะไข่ไก่ไปไม่ถึงเลย วิกฤติขาดแคลนหนักจริง

3 จังหวัดชายแดนใต้วิกฤติ"ไข่ไก่"ขาดแคลนหนัก

ด้านนายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เผยในฐานะประธานอนุกรรมการต้นทุนการผลิตไก่ไข่และไข่ไก่ว่า ปัจจุบันต้นทุนการผลิตไข่ไก่ ไตรมาสที่ 1 ปี 2563 (มกราคม – มีนาคม 2563) เฉลี่ยอยู่ที่ฟองละ 2.69 บาท โดยการจัดทำต้นทุนนั้น สศก. มีการสำรวจและรวบรวมข้อมูลที่เป็นไปตามหลักวิชาการและอยู่ในหลักเกณฑ์ของความเป็นธรรมสำหรับเกษตรกรผู้เลี้ยง ที่เราเรียกว่าต้นทุนทางเศรษฐศาสตร์ ซึ่งเป็นข้อมูลทั้งต้นทุนที่เป็นเงินสด ที่เกษตรกรต้องจ่ายด้วยเงิน

3 จังหวัดชายแดนใต้วิกฤติ"ไข่ไก่"ขาดแคลนหนัก

อาทิ  ค่าพันธุ์ ค่าอาหาร ค่ายารักษาโรค ค่าน้ำ ค่าไฟฟ้า ค่าน้ำมันเชื้อเพลง  และต้นทุนที่ไม่เป็นเงินสด  ซึ่งเกษตรกรไม่ได้ใช้เงินจ่าย (ฟรี) เช่น แรงงานในครัวเรือน ค่าใช้ที่ดินของตนเอง และค่าเสื่อมอุปกรณ์การเกษตร จึงถือได้ว่าครบถ้วน ครอบคลุมทุกมิติอย่างแน่นอน และวอนผู้ประกอบการร้านค้า อย่าตั้งราคาที่เอาเปรียบผู้บริโภค

3 จังหวัดชายแดนใต้วิกฤติ"ไข่ไก่"ขาดแคลนหนัก

“ในฐานะประธานอนุกรรมการต้นทุนการผลิตไก่ไข่และไข่ไก่ เราได้ร่วมดำเนินการกับทุกภาคส่วนทั้งผู้ทรงคุณวุฒิ หน่วยงานภาครัฐจากกรมปศุสัตว์ กรมส่งเสริมสหกรณ์  กรมการค้าภายใน  ภาคเอกชน บริษัทผู้เลี้ยงไก่พันธุ์ สหกรณ์ผู้เลี้ยงไก่ไข่ สมาคมผู้ผลิต ผู้ค้า ผู้ส่งออกไข่ไก่ สมาคมผู้เลี้ยงไก่ไข่ สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย และเกษตรกร จึงขอให้ทุกฝ่ายเชื่อมั่นได้ว่า ข้อมูลมีการวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ  มีการทบทวนให้เป็นเอกภาพร่วมกัน ตั้งอยู่บนหลักเกณฑ์และพื้นฐานความเป็นธรรมทั้งเกษตรกรผู้ผลิตและผู้บริโภคให้สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสมดุล” เลขาธิการ สศก. กล่าว

3 จังหวัดชายแดนใต้วิกฤติ"ไข่ไก่"ขาดแคลนหนัก

ปัจจุบันปริมาณไข่ไก่มีเพียงพอกับความต้องการบริโภคภายในประเทศ และขอให้ประชาชนคนไทยคลายกังวลและไม่จำเป็นต้องกักตุนไข่เพื่อบริโภคในช่วงของวิกฤติ covid-19 ปัจจุบันการกักตุนไข่ไก่เริ่มคลี่คลาย ประชาชนส่วนใหญ่สามารถเข้าถึงร้านค้าหรือแหล่งจำหน่ายไข่ไก่ได้อย่างทั่วถึง โดยคาดว่าสถานการณ์จะเข้าสู่ภาวะปกติซึ่งจะส่งผลให้ปริมาณไข่ไก่ในระบบเพิ่มขึ้น

3 จังหวัดชายแดนใต้วิกฤติ"ไข่ไก่"ขาดแคลนหนัก

อย่างไรก็ตาม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน) ได้เน้นย้ำและสั่งการให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ทั้ง กรมปศุสัตว์ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ติดตามสถานการณ์ไข่ไก่อย่างใกล้ชิด พร้อมหามาตรการรองรับหากเกิดกรณีไข่ไก่ล้นตลาด โดยได้สั่งการให้ที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ (ทูตเกษตร) ที่ปรึกษาการส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ (ทูตพาณิชย์) และผู้ประกอบการ ช่วยกันขยายตลาดส่งออกไข่ไก่เดิม และหาตลาดส่งออกใหม่เพิ่มเติม เพื่อรองรับกรณีดังกล่าว และเน้นย้ำ การบริหารจัดการจะต้องเกิดความสมดุลทั้งต่อเกษตรกรผู้เลี้ยง ผู้ประกอบการร้านค้า และผู้บริโภค