ส่องแคนดิเดตชิงเก้าอี้ผู้ว่าการ กยท.

11 เม.ย. 2563 | 04:50 น.

เปิดตัว 5 แคนดิเดตยก “ขจรจักษณ์” เต็ง1 “ณกรณ์” เต็ง2 มาสูสี ขณะที่ “เพิก” ขวัญใจมหาชนชาวสวนยาง ส่วน “ภูมิพัฒน์” อดีตบอร์ด สกย. มือเก๋าประสบการณ์สูง ปิดท้าย “อมรศักดิ์” สดบดแรงอาจแซงโค้งเฉือนนั่งเก้าอี้

ส่องแคนดิเดตชิงเก้าอี้ผู้ว่าการ กยท.

ปิดผู้สมัครผู้ว่าการยางแห่งประเทศไทย  (กยท.) อย่างไม่เป็นทางการ (วันที่ 9 เม.ย.63) จำนวน 5 คน อาจะมีผู้สมัครส่งไปรษณีย์ทาง EMS  อีก 1-2 วัน จะเป็นทางการว่ามีทั้งหมดกี่คน แต่ในเบื้องต้น “ฐานเศรษฐกิจ” ได้ตรวจสอบรายชี่อแล้วว่ามี ผู้สมัครในขณะนี้ทั้งหมด 5 คน

++พัฒนาตลาดยางพาราของไทยให้เป็น THAICOM

ส่องแคนดิเดตชิงเก้าอี้ผู้ว่าการ กยท.

เริ่มจากเต็งหนึ่ง นายขจรจักษณ์ นวลพรหมสกุล รักษาการผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) เผยวิสัยทัศน์การพัฒนาและการบริหารยางพาราของ กยท.ตลอดห่วงโซ่อุปทานและห่วงโซ่คุณค่า เน้นด้านความยั่งยืนของเกษตรกร สถาบันเกษตรกรชาวสวนยาง เพิ่มขีดความสามารถด้านการแข่งขันของอุตสาหกรรมยางพาราของไทย การผลิต การแปรรูปด้านนวัตกรรม การตลาด การรักษาเสถียรภาพราคายาง พัฒนาตลาดยางพาราของไทยให้เป็น THAICOM

ส่องแคนดิเดตชิงเก้าอี้ผู้ว่าการ กยท.

พ่วงสร้างรายได้จากการบริการและดำเนินธุรกิจของ กยท.ร่วมกับสถาบันเกษตรกร การสร้างโรงงานแปรรูปอุตสาหกรรมยางล้อ อุตสาหกรรมถุงมือ อุตสาหกรรมยางยืด โดยใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยและแข่งขันในตลาดโลกได้

ส่องแคนดิเดตชิงเก้าอี้ผู้ว่าการ กยท.

ควบคู่พัฒนาการยางแห่งประเทศไทยสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศ พัฒนาบุคลากรของ กยท.และเกษตรกรชาวสวนยางให้มีศักยภาพสูงในการบริหารจัดการยางพาราทั้งระบบ เพื่อเป็นองค์การกลางด้านยางพาราของโลก และเป็นองค์กรในการขับเคลื่อนนโยบายของรัฐบาลด้านยางพาราในทุกมิติเพื่อความยั่งยืน มั่นคงของวงการยางพาราของไทย

++ยางไทยเคลื่อนเศรษฐกิจโลก

ส่องแคนดิเดตชิงเก้าอี้ผู้ว่าการ กยท.

ส่วนเต็งสอง ผลงานโดดเด่นไม่แพ้กัน มือประสานรอบทิศ ลงมือทำมากกว่าพูด นายณกรณ์ ตรรกวิรพัท. รองผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย ด้านธุรกิจและปฏิบัติการ มาในสโลแกนสั้นๆ  “บทบาทของการยางต้องเปลี่ยนไป  ยางพาราไทยขับเคลื่อนเศรษฐกิจโลก”

ส่องแคนดิเดตชิงเก้าอี้ผู้ว่าการ กยท.
 

ยึดผลประโยชน์เกษตรกรเป็นที่ตั้ง

ส่องแคนดิเดตชิงเก้าอี้ผู้ว่าการ กยท.

คนที่ 3  นายภูมิพัฒน์ เหมือนจันทร์ ประธานสโมสรฟุตบอลพัทลุง เอฟซี และ อดีดคณะกรรมการกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง (บอร์ด กสย. ) ,ผู้สมัครแบบบัญชีรายชื่อ และผู้สมัคร ส.ส.เขต จ.พัทลุง พรรคภูมิใจไทย กล่าวว่า ก่อนหน้านี้เคยเป็นบอร์ด สกย. เป็นบอร์ดคนเดียวที่อยู่มา 5 รัฐมนตรีไม่เคยโดนเปลี่ยน โดยผมเอาผลประโยชน์ของเกษตรกรเป็นที่ตั้ง รัฐบาลไหนมา หรือรัฐมนตรีไหนมา ถ้าเป็นผลประโยชน์ของเกษตรกรผมถือว่าเป็นอันดับ1 

ส่องแคนดิเดตชิงเก้าอี้ผู้ว่าการ กยท.

วันนี้สิ่งที่ผมอยากจะทำก็คือว่า ถ้าจะใช้สวนยางเพื่อกรีดยางอย่างเดียวก็ได้ แต่ควรจะนำสวนยางมาใช้ในรูปแบบการท่องเที่ยว โดยเลือกสวนยางที่มีภูมิทัศน์สวยงาม อาจจะร่วมมือกับกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ร่วมกับเกษตรกรหัวก้าวหน้า หลังพ้นโควิด-19  อาจจะโค่นต้นยางออก 3-4 แถว สร้างโฮมสเตย์ แล้วให้คนเรียนรู้เรื่องยางพาราเพื่อเรียนรู้วิถีชีวิตจะสร้างรายได้อีกทางหนึ่งให้กับเกษตรกรรชาวสวนยางเป็นอีกช่องทางหนึ่ง

ส่องแคนดิเดตชิงเก้าอี้ผู้ว่าการ กยท.

เรื่องการแก้ปัญหาราคายางพาราผู้รู้คลุกคลียางตั้งแต่ต้นคาดว่าจะได้เสนอทางออกหมดแล้ว แต่สิ่งที่ขาดก็คือขาดการตัดสินใจที่เด็ดเดี่ยวโดยยึดหลักเกษตรกรชาวสวนยางเป็นที่ตั้งทุกปัญหาสามารถแก้ได้ สามารถประสานงานได้ทุกองค์กร

แก้ปัญหาเฉพาะหน้า

ส่องแคนดิเดตชิงเก้าอี้ผู้ว่าการ กยท.

ส่วนคนที่4 นายเพิก เลิศวังพง อดีต บอร์ด สกย.และ องค์การสวนยาง,อดีตประธานชุมนุมสหกรณ์ชาวสวนยางแห่งประเทศไทย (ชสยท.) และคณะทำงานของร้อยเอกธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์  กล่าว แนวคิดของผมจะแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ไม่ได้ของบดุลของ กยท.มาดูเลยนะ ผมไม่สนใจ เพราะมองว่าองค์กรนี้ล้มเหลวจะไปดูทำไม ถ้าได้เข้าไปเป็นผู้ว่าจะไปเปลี่ยนแปลงในแบบของผม งานเฉพาะหน้าอันดับแรกว่าในองค์กรนี้มีจุดแข็งจุดอ่อนอะไร แล้วถ้าไปนั่งเอาข้อมูลมาวิเคราะห์แล้วนั่งจินตนาการอาจจะเป็นรูปแบบในการบริหารจัดการทั่วๆไป แต่ถ้าเป็นผมผมจะไปลุยกับปัญหาเลย

ส่องแคนดิเดตชิงเก้าอี้ผู้ว่าการ กยท.

ความจริงมีนโยบายใหญ่ของรัฐบาลที่ไม่ให้คนทำโน้นนี่ ดังนั้นจะต้องมาดูว่าจะไปทำอะไรจะไปขัดกับนโยบายหลักของรัฐบาลหรือไม่ ถ้าเค้าไม่ให้เคลื่อนไหวจะไปทำไม ให้อยู่บ้าน ก็ไม่สามาถที่จะไปให้ทำอะไรได้ หรือบางทีเคอร์ฟิวส์ด้วยซ้ำ บางคนสวนยางอยู่อีกที่หนึ่งไม่ใช่อยู่บริเวณบ้าน ก้ไม่ได้ ความคิดของผม ในเมื่อวันนี้กรีดยางไม่ได้ ก็หยุดกรีดไปเลย ทำให้ขาดไปเลย เพราะไปกรีดยางราคาถูกได้ก็ไม่คุ้ม ยอมรับว่าแอบใจร้าย เพราะบางทีจะไปสื่อสารตรงก็ไม่ได้ แล้วเมื่อไปกรีดยางไม่ได้ก็ต้องเป็นหน้าที่ของผู้บริหารองค์กรแล้วว่าจะดูแลชาวสวนอย่างไรในฐานะที่ดูแลจะต้องมาวัดสติปัญญาในการที่จะทำให้ชาวสวนอยู่บ้านได้จะทำอย่างไร ก็ใช้งบประมาณที่มีอยู่ในมือทำให้มีประสิทธิผลที่สุด ผมไม่มีรูปแบบตายตัว

แปรสภาพองค์กรใหม่

ส่องแคนดิเดตชิงเก้าอี้ผู้ว่าการ กยท.

ปิดท้าย นายอมรศักดิ์ พันธุรักษ์รองผู้อำนวยการองค์การสะพานปลา กล่าวว่า ก่อนที่จะมาเป็นรององค์การสะพานปลา ก็เคยเป็นสหกรณ์จังหวัดมาหลายจังหวัดแล้ว ไล่มาตั้งแต่ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคใต้ ก็จะเห็นปัญหายางพารา ที่เด่นชัดจากการลงไปพูดคุยกับชาวบ้าน เกษตรกรชาวสวนยาง เรื่องราคายางตกต่ำ เพราะวันนี้ กยท. เป็นองค์กรแค่กลางน้ำไม่ใช่ปลายน้ำ ดังนั้นต้องแปรสภาพองค์กรใหม่ โดยจะต้องเพิ่มการแปรรูป และใช้ยางในประเทศให้มากขึ้น

ส่องแคนดิเดตชิงเก้าอี้ผู้ว่าการ กยท.

เช่น ตั้งโรงงานผลิตยางล้อ หรือถุงมือยาง  โดยรัฐช่วยสนับสนุน แล้วนำผลผลิตขายหน่วยงานราชการโดยผ่าน กยท. ผมคิดว่าจะสามารถไปกระตุ้นราคายางมาได้ สุดท้ายก็จะกลับไปที่เกษตรกรขายยางได้มีราคาเพิ่มมากขึ้น

ส่องแคนดิเดตชิงเก้าอี้ผู้ว่าการ กยท.

“วันนี้จะเห็นว่าการยางใช้ในประเทศแค่กว่า10% เราไม่ต้องการเป็นเบอร์1 ส่งออกยางโลก แค่เอายางในประเทศมาแปรรูปเพิ่ม30%ราคายางก็จะไม่ตกต่ำหรือไม่ก็ดึงสหกรณ์มาตั้งโรงงานแปรรูปผลผลิตในประเทศมากขึ้น คาดว่าจะกระตุ้นราคายางได้อีกทางหนึ่ง”