มีแน่ “จำนำกุ้ง” เคาะหลักเกณฑ์วันพรุ่งนี้

08 เม.ย. 2563 | 10:15 น.

“อลงกรณ์” เล็งดูดซับส่วนเกินกุ้งฝากไว้ห้องเย็นยกระดับราคา คาดส่งสรุปศุกร์นี้ เข้า ครม. ขณะที่ผู้เลี้ยงกุ้งไม่เกี่ยงวิธีการขอไม่ขาดทุน มีตลาดรองรับ

 

มีแน่ “จำนำกุ้ง” เคาะหลักเกณฑ์วันพรุ่งนี้

นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เผยถึงทางเครือข่ายผู้เลี้ยงกุ้ง ได้ร้องแนวทางการช่วยเหลือเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งเนื่องจากตลาดซบเซาจากผลกระทบไวรัสโควิด-19 กำลังระบาดอยู่ในขณะนี้ ทางนายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้สั่งการให้อธิบดีกรมประมงได้จัดประชุมเร่งด่วนแล้วต้องสรุปมาตรการการช่วยเหลือให้แล้วเสร็จภายในวันวันที่ 10 เมษายนนี้

มีแน่ “จำนำกุ้ง” เคาะหลักเกณฑ์วันพรุ่งนี้

ทั้งนี้แนวทางในการกำหนดมาตรการอยู่ 2 แนวทาง ได้แก่ ก็คือการชะลอการระบายกุ้งให้อุตสาหกรรมห้องเย็น หรือผู้ประกอบการในการส่งออกได้ดูดซับกุ้งออกจากตลาดเพื่อยกระดับราคา และ 2.ลดต้นทุนให้กับผู้เลี้ยงกุ้ง อาทิ  ต้นทุนค่าอาหารกุ้ง และต้นทุนของลูกกุ้ง เป็นต้น ซึ่งมาตรการเหล่านี้โดยกรมประมง จะจัดให้มีประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมกุ้งไทยครั้งที่ 1/2563 ในวันที่ 9 เมษายนนี้เพื่อแก้ปัญหาให้เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้ง

มีแน่ “จำนำกุ้ง” เคาะหลักเกณฑ์วันพรุ่งนี้

อย่างไรก็ดีนายอลงกรณ์  กล่าวต่ออีกว่า ก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 31 มี.ค. ที่ผ่านมา ร่วมกับกรมประมง สมาคมอาหารแช่เยือกแข็งไทย เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งทะเล และ สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย และสมาคมผู้ค้าปัจจัยการผลิตสัตว์น้ำไทย ที่ปรระชุมได้มีข้อสรุป 3 มาตรการ คือ มาตรการที่ 1 ระยะสั้น รัฐเข้าไปช่วย 80 % ของราคาห้องเย็นซื้อกุ้งจากเกษตรกร ฟาร์มเกษตรกรต้องไม่ใช่ฟาร์มขนาดใหญ่ ในการประเมินข้อมูลผลผลิตส่วนที่เหลือจากความต้องการของห้องเย็นควรจะใช้ตัวเลขผลผลิตที่ห้องเย็นต้องการใช้กุ้งจริงและตัวเลขผลผลิตกุ้งที่ผลิตได้แท้จริง ผลผลิตกุ้งส่วนที่ (เกษตรเป็นเจ้าของ) นำฝากห้องเย็นไว้ค่าใช้จ่ายในการฝากเก็บในห้องเย็นในระยะเวลา 3 เดือน โดยรัฐช่วยจ่าย 80%

มีแน่ “จำนำกุ้ง” เคาะหลักเกณฑ์วันพรุ่งนี้

โดยพิจารณาจากโครงสร้างพื้นที่ที่มีผลผลิตกุ้งออกมาปริมาณมาก "ถ้าราคากุ้งดีขึ้นเกษตรกรก็สามารถมาไถ่ถอนจากการจำนำ" โดยให้ที่ประชุมของคณะกรรมการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมกุ้งไทยพิจารณาโครงการช่วยเหลือเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้ง และมีมติมอบหมายให้กรมประมงเสนอโครงการมายังกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ภายในวันศุกร์ที่ 10 เมษายน 2563 และนำเสนอให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์พิจารณา ก่อนจะเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาในวันที่ 21 เมษายน 2563 ต่อไป

มีแน่ “จำนำกุ้ง” เคาะหลักเกณฑ์วันพรุ่งนี้

มาตรการที่ 2 ระยะกลาง ขึ้นกับสถานการณ์และภาวะความต้องการของตลาดทั้งต่างประเทศและภายในประเทศ โดยตลาดภายในประเทศสร้างความร่วมมือจาก 3 กระทรวง คือ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงพาณิชย์ และกระทรวงคมนาคม สร้างระบบภายในประเทศโดยวางระบบการกระจายผลผลิตทางการเกษตรให้พร้อมกันทั่วประเทศ และ มาตรการที่ 3 ลดต้นทุน

มีแน่ “จำนำกุ้ง” เคาะหลักเกณฑ์วันพรุ่งนี้

โดยสั่งการให้กรมประมงทำหนังสือถึงกระทรวงมหาดไทยเพื่อเสนอต่อการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการปรับเปลี่ยนการใช้ไฟฟ้าของผู้เลี้ยงกุ้งให้เป็นผู้ใช้ประเภท เกษตรกร ส่วนค่าอาหารกุ้ง และลูกกุ้งให้กรมประมงหาแนวทางขอลดราคา และลูกกุ้งให้ดำเนินการตามโครงการ คชก. เมื่อได้ผลสรุปมาตรการที่เด่นชัดแล้วจะเสนอให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์พิจารณาก่อนนำเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรีต่อไป

 

 

 

มีแน่ “จำนำกุ้ง” เคาะหลักเกณฑ์วันพรุ่งนี้

สอดคล้องกับนายครรชิต เหมะรักษ์ ประธานเครือข่ายผู้เลี้ยงกุ้งไทย เผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ”  ในวันพรุ่งนี้ (9 เม.ย.63)  จะมีการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมกุ้งไทยครั้งที่ 1/2563 เรื่องโครงการเสนอภาครัฐเพื่อให้ความช่วยเหลือ ในโครงการรักษาเสถียรภาพราคากุ้งทะเลปี 2563 นั้นทางเกษตรกรใช้วิธีการอย่างไรก็ได้ ขอให้เลี้ยงแล้วมีตลาดรองรับ พ้นจากขาดทุน แล้วเหลือกำไรนิดหน่อย

มีแน่ “จำนำกุ้ง” เคาะหลักเกณฑ์วันพรุ่งนี้

อย่างไรก็ดีก่อนหน้านี้ ได้เสนอนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ และจะนำโมเดลนี้เสนอเข้าในที่ประชุม ด้วย เป็นโครงการประกันรายได้กุ้ง โดยประกันรายได้ชดเชยส่วนต่างตามขนาดกุ้ง เช่นเดียวกับสินค้าข้าว ปาล์มน้ำมัน ยางพารา มันสำปะหลัง และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ดังนี้

มีแน่ “จำนำกุ้ง” เคาะหลักเกณฑ์วันพรุ่งนี้

อาทิ กุ้งขนาด 100 ตัว/กิโลกรัม ราคา 130 บาท, กุ้งขนาด 90 ตัว/กิโลกรัม ราคา 140 บาท,กุ้งขนาด 80 ตัว/กิโลกรัม ราคา 150 บาท,กุ้งขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม ราคา 160 บาท,กุ้งขนาด 60 ตัว/กิโลกรัม ราคา 180 บาท, กุ้งขนาด 50 ตัวต่อกิโลกรัม ราคา 200 บาท,กุ้งขนาด 40 ตัวต่อกิโลกรัม ราคา 220 บาทต่อกิโลกรัม,กุ้งขนาด 30 ตัว/กิโลกรัม ราคา 240 บาท

มีแน่ “จำนำกุ้ง” เคาะหลักเกณฑ์วันพรุ่งนี้

นายครรชิต กล่าวว่า กุ้งขาวแวนนาไม เป็นสัตว์น้ำเศรษฐกิจที่ผ่านมาผลิตได้ประมาณ 6 แสนตัน นำเงินรายได้เข้าประเทศเกือบแสนล้านบาท ต่อมาประสบปัญหาโรคระบาดทำให้ผลผลิตลดลงเหลือละ 3 แสนตันต่อปี ปัจจุบันเกษตรกรในขณะนี้ราคาตกต่ำอย่างต่อเนื่อง 30-50 บาทต่อกิโลกรัม ในขณะที่ต้นทุนการผลิตสูงและการเกิดโรคระบาดของกุ้ง สภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงทำให้เกษตรกรต้องประสบภาวะขาดทุนทำให้เกษตรกรได้รับความเดือดร้อนมาตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา

มีแน่ “จำนำกุ้ง” เคาะหลักเกณฑ์วันพรุ่งนี้

ทางเครือข่ายอยากทราบอนาคตกุ้ง เพราะ 1. เกษตรกรต้องมีความมั่นใจว่ากุ้งที่มีอยู่ 3 เดือนข้างหน้า (เม.ย-มิ.ย63)มีผู้ซื้อและราคากุ้งที่ขายต้องสูงกว่าต้นทุนการผลิต 2.เมื่อมีความมั่นใจจากข้อ1.ก็จะตัดสินใจปล่อยลูกกุ้งต่อในเดือน เม.ย.,พ.ค.63 และ 3.หากไม่มั่นใจในข้อ1. เกษตรกรจะไม่ปล่อยลูกกุ้งลงเลี้ยงในเดือน เม.ย.63 ก็จะส่งผลให้เดือน ก.ค. และ ส.ค. ไม่มีผลผลิตกุ้ง ห่วงโซ่อุตสาหกรรมกุ้งก็จะขาดทันที

สำหรับราคากุ้งขาวตลาดมหาชัย ณ วันที่ 7 เมษายน 2563 

มีแน่ “จำนำกุ้ง” เคาะหลักเกณฑ์วันพรุ่งนี้