กรมวิทย์จับมือคณะแพทยศาสตร์ ม.สงขลานครินทร์ฯพัฒนาวิธีตรวจโควิด-19

07 เม.ย. 2563 | 04:41 น.

กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ร่วมมือกับ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์(ม.อ.) พัฒนาวิธีตรวจโควิด-19 ทางห้องปฏิบัติการแบบรวมตัวอย่าง (pooled sample testing) นำตัวอย่างมาตรวจ  รวมกันในครั้งเดียว ด้วยวิธีตรวจยืนยันที่มีความไวสูงอย่าง RT-PCR หากผลลบแสดงว่าตัวอย่างในกลุ่มนั้นไม่พบเชื้อ ซึ่งสามารถลดค่าใช้จ่ายในการสำรวจสถานการณ์โรคโควิด-19 ได้ ขณะนี้อยู่ระหว่างยื่นโครงการวิจัยเพื่อขอพิจารณาอนุมัติจริยธรรมการวิจัยในคน

 

กรมวิทย์จับมือคณะแพทยศาสตร์ ม.สงขลานครินทร์ฯพัฒนาวิธีตรวจโควิด-19


นายแพทย์โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เปิดเผยว่า กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์    กับคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้ร่วมกันศึกษาวิจัยการตรวจโควิด-19 ทางห้องปฏิบัติการแบบรวมตัวอย่าง (pooled sample testing) สำหรับการประเมินความชุกของโควิด-19 ในกลุ่มตัวอย่างที่มีความชุกของการติดเชื้อต่ำ เช่น  การสำรวจ ความชุกในบุคลากรทางการแพทย์ในพื้นที่ที่ยังไม่มีการระบาดกว้างขวาง การสำรวจความชุกในกลุ่มนักเรียน   การสำรวจความชุกในกลุ่มแรงงานข้ามชาติ การสำรวจความชุกก่อนการยกเลิกมาตรการด้านสังคม ซึ่งการตรวจ   แบบรวมตัวอย่างเคยมีการศึกษามาแล้วในประเทศอิสราเอล โดยมีการนำวิธีการตรวจทางห้องปฏิบัติการแบบรวมตัวอย่างมาใช้ สามารถนำตัวอย่าง 64 รายมาตรวจรวมกันในครั้งเดียว ซึ่งวิธีนี้แม้จะลดต้นทุนในการตรวจคัดกรองการติดเชื้อไวรัส   

 

กรมวิทย์จับมือคณะแพทยศาสตร์ ม.สงขลานครินทร์ฯพัฒนาวิธีตรวจโควิด-19

 

SARS-CoV-2 ที่ทำให้เกิดโควิด-19 แต่การศึกษาในประเทศอิสราเอลนั้นยังมีจุดอ่อนที่ต้องปรับปรุงเพื่อให้เหมาะสม กับประเทศไทย กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จึงร่วมกันวิจัยและพัฒนาเพื่อที่จะได้วิธีการ ทางระบาดวิทยาและวิธีตรวจทางห้องปฏิบัติการแบบรวมตัวอย่างที่เหมาะสมสำหรับประเทศไทยภายใน 3 เดือน ขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างยื่น

โครงการวิจัยเพื่อขอพิจารณาอนุมัติจริยธรรมการวิจัยในคน 

กรมวิทย์จับมือคณะแพทยศาสตร์ ม.สงขลานครินทร์ฯพัฒนาวิธีตรวจโควิด-19


ศาสตราจารย์ นายแพทย์วีระศักดิ์ จงสู่วิวัฒน์วงศ์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ม.อ.)  กล่าวเพิ่มเติมว่า แนวคิดเรื่องนี้มีมานานแล้ว คาดว่าจะเหมาะสมมากสำหรับการตรวจยืนยันที่มีความไวสูงอย่าง RT-PCR  ที่เราใช้กันอยู่ ข้อดีของการตรวจแบบ pooled sample คือ ลดค่าใช้จ่ายในการตรวจลงได้หลายเท่าและเสียค่าใช้จ่าย  

ทางห้องปฏิบัติการน้อยลงถ้าตรวจแล้วได้ผลลบก็บ่งบอกว่าโอกาสติดเชื้อในกลุ่มตัวอย่างต่ำมาก ถ้าได้ผลบวกค่อยมาทำการ ตรวจเพิ่มเติม สิ่งที่จะศึกษานี้ คือ ทดลองหา pool size หรือจำนวนตัวอย่างต่อกลุ่มที่เหมาะสมสำหรับการตรวจ  ทางห้องปฏิบัติการแบบรวมตัวอย่าง (pooled sample testing) ในสังคมไทยทั่วไป ในช่วงเวลาต่างๆ กัน

 

กรมวิทย์จับมือคณะแพทยศาสตร์ ม.สงขลานครินทร์ฯพัฒนาวิธีตรวจโควิด-19