ธ.ก.ส.ยันช่วยลูกค้าทุกราย ภัยแล้ง-โควิด

05 เม.ย. 2563 | 23:50 น.

ยังเป็นที่ถกเถียงกันว่า เกษตรกรที่เข้าข่ายจะได้รับเงินเยียวยาจากรัฐบาล 5,000 บาทเป็นเวลา 3 เดือนตามมาตรการชดเชยรายได้แก่ลูกจ้างของสถานประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา (โควิด-19) นั้น จะเป็นกลุ่มไหนบ้าง เพราะขณะนี้ยอดของผู้ลงทะเบียนทะลุ 22 ล้านคนเข้าไปแล้ว ซึ่งทางการกระทรวงการคลังยืนยัน จะใช้เวลาคัดกรองคุณสมบัติไม่น้อยกว่า 7 วันทำการ

 

นายอภิรมย์ สุขประเสริฐ ผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (...) เปิดเผยกับฐานเศรษฐกิจว่า สำหรับเกษตรกรลูกค้าธ... ถือว่าได้รับการดูแลครอบคลุมทุกกลุ่มแล้ว โดยก่อนหน้ามีมาตรการช่วยเกษตรกรผู้ประสบภัยแล้ง ด้วยการขยายเวลาชำระหนี้ออกไป 2 ปี ตั้งแต่ 1 มกราคม 2563 - 31 ธันวาคม 2564 และยังมีโครงการสินเชื่อเพื่อพัฒนาแหล่งนํ้าเพื่อการเกษตร

 

สำหรับเกษตรกรผู้ประสบภัยแล้งปี 2563 วงเงิน 5,000 ล้านบาท โดยปล่อยกู้เพื่อลงทุนได้รายละไม่เกิน 200,000 บาท ดอกเบี้ย 0% ใน 2 ปีแรก ส่วนปีที่ 3 เป็นต้นไป ดอกเบี้ย MRR-2% กำหนดชำระคืนไม่เกิน 10 ปี สนับสนุนสินเชื่อตั้งแต่ 1 กุมภาพันธ์- 31 ธันวาคม 2563

เดิมเกษตรกรที่จะได้รับเงินกู้ จะต้องเป็นเกษตรกรที่อยู่ในพื้นที่ประสบภัยตามที่กระทรวงมหาดไทยประกาศ ทำให้ยอดเงินสินเชื่อที่ปล่อยไปยังน้อย เราจึงเห็นว่า มันสามารถพัฒนาแหล่งนํ้าในเชิงป้องกันได้ ถ้าเห็นว่าพื้นที่นั้นๆ กำลังจะมีปัญหาภัยแล้ง  จึงได้เสนอในที่ประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด)...และเห็นชอบให้ขยายความยืดหยุ่นมากขึ้น โดยขึ้นกับดุลพินิจของเรา ให้เกษตรกรกู้เงินไปลงทุนพัฒนาแหล่งนํ้าก่อนได้ หากเห็นว่าพื้นที่นั้นกำลังจะประสบปัญหาภัยแล้ง

 

อภิรมย์ สุขประเสริฐ

 

ส่วนมาตรการให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา (โควิด-19) นั้น เป็นการ ดำเนินการภายใต้กรอบของธนาคารแห่งประเทศไทย  (ธปท.)ที่ออกมาช่วยเหลือลูกหนี้้ธุรกิจทุกประเภทและครัวเรือนที่ได้รับผลกระทบ ซึ่งครอบคลุมทั้งลูกหนี้ดีและลูกหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ซึ่งเป็นกรอบใหญ่ ครอบคลุมถึงเกษตรกรด้วย

 

มาตรการธปท.ครอบเราอยู่แล้ว ซึ่งธ...ก็เข้าไปในส่วนของรายย่อย เอสเอ็มอี ไมโครแนนซ์  โดยได้ขยายระยะเวลาชำระหนี้ ไม่เกิน 20 ปี ปลอดเงินต้นไม่เกิน 3 ปีแรก พร้อมปรับลดอัตราดอกเบี้ย ให้สินเชื่อเพิ่มเติมเพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนหรือค่าใช้จ่ายประกอบอาชีพ

 

ขณะเดียวกันยังมีมาตรการมติครม.ที่ให้ดำเนินการเงินกู้ดอกเบี้ยตํ่า โดยธ...จะดำเนินการ่วมกับธนาคารออมสินภายใต้วงเงินรวม 40,000 ล้านบาท ในการปล่อยกู้ฉุกเฉิน โดยไม่มีหลักประกัน ให้กับผู้มีอาชีพอิสระที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 รายละไม่เกิน 10,000 บาท ดอกเบี้ย  0.10% ต่อเดือน ระยะเวลาผ่อนชำระนาน 2 ปี  ปลอดชำระเงินงวด 6 เดือนแรก

 

เรื่องเงินกู้ฉุกเฉิน เราอยากให้เป็นเรื่องหลังสุด เพราะไม่อยากให้คนมีหนี้เพิ่ม และยังมีเวลาจนถึงเดือนธันวาคม 2563  ตอนนี้ก็ยังมีปัญหาการแพร่ระบาดของไวรัส มีปัญหาการเดินทางมาสาขา ซึ่งเราคุยกับออมสินแล้วว่า จะใช้วิธีให้แจ้งความจำนงออนไลน์เข้ามา แล้วจะใช้การ Pre screen และ Pre approve มาเจอ หน้ากันทีเดียวตอนเซ็นสัญญา

ทั้งนี้จะใช้ข้อมูลของผู้ได้รับเงินเยียวยา 5,000 บาทเป็นตัวหลักในการพิจารณาอนุมัติสินเชื่อฉุกเฉิน เพราะถือว่าเป็นกลุ่มที่ได้รับผลกระทบการแพร่ระบาดของโควิด-19 แน่นอน ซึ่งจะทำให้พิจารณาข้อมูลง่ายขึ้น เพียงแต่คนที่มากู้แล้วยังไม่มีบัญชี ก็ต้องมาเปิด เพราะต้องเป็นบัญชีของธ...กับออมสินเท่านั้น

 

มาตรการที่ออกมาเราอิงทั้งมติครม.ธปท.และยังมีมาตรการของธ...ด้วยทั้งการปรับลด อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ อัตราดอกเบี้ยสินเชื่อสำหรับเกษตรกรลูกค้ารายย่อยและบุคคลทั่วไป MRR 0.125% จากเดิม 6.750% ต่อปี เหลือ 6.625% ต่อปี ขณะที่ดอกเบี้ยเงินฝากเราปรับลดเฉพาะ อัตราดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์พิเศษ และเงินฝากประจำ สำหรับบุคคล นิติบุคคล ราชการและรัฐวิสาหกิจ ลดลง 0.05-0.35% ต่อปี ซึ่งมีผลตั้งแต่ 1 เมษายนป็นต้นไปส่วนจะมีมาตรการอื่นๆหรือไม่ เช่น โควิด รอบนี้ ทำให้ทุเรียนขายไม่ออกต้องรอมาตรการต่อไป

 

หน้า 15 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 40 ฉบับที่ 3,563 วันที่ 5-8 เมษายน 2563