ปรับตัว สร้างคน กลยุทธ์การแข่งขัน ของธุรกิจครอบครัว (จบ) 

05 เม.ย. 2563 | 03:09 น.

บิสิเนส แบ็กสเตจ

รศ.ดร.เอกชัย อภิศักดิ์กุล

คณบดีคณะวิทยพัฒน์ 

และผู้อำนวยการศูนย์ธุรกิจครอบครัว 

มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย 

([email protected]

 

โดยการลงทุนลักษณะนี้มีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นหลังจากที่ผู้ก่อตั้งได้ส่งต่องานให้กับผู้นำคนใหม่แล้ว ซึ่งเมื่อทายาทรุ่นที่ 2 หรือ 3 เข้ารับตำแหน่งแล้วมักจะเริ่มพิจารณาโครงการเกี่ยวกับการศึกษาและรักษาผู้บริหารจากภายนอก ทั้งนี้ทายาทรุ่นที่ 2 ของครอบครัวมักจะมีการศึกษาที่ดีและมุ่งเน้นไปที่การเป็นผู้บริหารมากกว่าการเป็นผู้ประกอบการ

ปรับตัว สร้างคน กลยุทธ์การแข่งขัน  ของธุรกิจครอบครัว (จบ) 

อย่างไรก็ตามแม้การพัฒนาบุคลากรจะมีความสำคัญเพียงใด แต่ความเห็นต่างระหว่างครอบครัวและพนักงานที่ไม่ใช่สมาชิกในครอบครัวก็ยังคงเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้อยู่นั่นเอง ซึ่งครอบครัวสามารถลดความตึงเครียดนี้ได้โดยวางกฎเกณฑ์และข้อบังคับของบริษัทในเรื่องที่คาดว่าจะทำให้เกิดความขัดแย้งและช่วยให้ครอบครัวจัดการการเมืองภายในได้เช่นเดียวกับในธุรกิจ นอกจากนี้การมีโครงสร้างการกำกับดูแลครอบครัวยังสามารถป้องกันการแทรกแซงโดยทำให้สมาชิกในครอบครัวทราบว่าพวกเขาจะมีส่วนร่วมในการดำเนินงานของธุรกิจครอบครัวได้อย่างไร อีกทั้งควรมีการกำหนดบทบาท ตัวชี้วัดผลการปฏิบัติงานที่สำคัญ และการทบทวนผลการปฏิบัติงานประจำปีเพื่อที่ว่าหากมีความขัดแย้งระหว่างครอบครัวและผู้ที่ทำงานในบริษัทเกิดขึ้น จะได้มีแนวทางการแก้ไขที่ชัดเจน

 

นอกจากนี้เมื่อคนรุ่นใหม่เข้ามาในองค์กรและเริ่มพัฒนาการทำงานของตัวเอง ก็มักจะนำไปสู่การแนะนำเทคโนโลยี นวัตกรรม และทรัพยากรในการเติบโตใหม่ๆ ซึ่งเมื่อธุรกิจครอบครัวนำมาใช้ดิจิทัลมากขึ้น อาจมีความจำเป็นที่ต้องออกแบบตัวเองใหม่เพื่อก้าวให้เร็วและปรับตัวได้เร็วขึ้น สำหรับบางบริษัทปัญหาเรื่องทรัพยากรบุคคลอาจทำให้ต้องมีการปรับโครงสร้างองค์กรด้วย

แม้สิ่งเหล่านี้อาจจะดำเนินการยากเป็นพิเศษสำหรับธุรกิจครอบครัว แต่วิธีการดำเนินงานขององค์กรที่มีประสิทธิภาพสูงในทุกวันนี้แตกต่างอย่างสิ้นเชิงจากเมื่อ 10 ปีก่อน และสิ่งสำคัญอย่างหนึ่งในการออกแบบเพื่อการปรับตัวคือการเปลี่ยนโครงสร้างองค์กรแบบลำดับชั้นไปเป็นรูปแบบการทำงานที่ทำให้ประสบความสำเร็จได้มากขึ้นนั่นคือ การทำงานเป็นทีม ขนาดเล็กลงและยืดหยุ่นมากขึ้น