ไวรัส“โคโรนา”ฉุดส่งออกตลาดหลักวูบ

23 มี.ค. 2563 | 12:09 น.

พิษไวรัศโคโรนากระทบส่งออกไทยไปตลาดหลักติดลบหนักภาพรวมติดลบ21.5%  ทั้งตลาดจีน สหรัฐ ญี่ปุ่น ตะวันออกกลาง   ยันทั้งนี้ส่งออกไทยน่าจะเป็นบวก คาดการณ์เบื้องต้นมีโอกาสขยายตัว0-2%

 

น.ส.พิมพ์ชนก วอนขอพร ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์  กล่าวว่าการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาหรือโควิด-19ส่งผลให้ให่ตลาดส่งออกสำคัญๆของไทยติดลบ โดยโดยการส่งออกไปยังตลาดหลักติดลบ 21.5% เช่น ตลาดสหรัฐอเมริกา ติดลบ 37% ส่งผลให้ 2 เดือนแรก(ม.ค.-ก.พ.)ของปี 2563 ติดลบ 19.9%  ตลาดจีน ติดลบ 2% สินค้าสำคัญที่หดตัว ได้แก่ เม็ดพลาสติก และเคมีภัณฑ์ ด้านสินค้าที่ขยายตัวสูง ได้แก่ เครื่องยนต์สันดาปฯ เครื่องคอมพิวเตอร์ฯ และรถยนต์และส่วนประกอบ 2 เดือนแรกของปี 2563 ขยายตัว 1.4%  ตลาดญี่ปุ่น ติดลบ 11.1%  สินค้าสำคัญที่หดตัว ได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้าฯ โทรศัพท์และอุปกรณ์ฯ เหล็กและผลิตภัณฑ์ และเม็ดพลาสติก ด้านสินค้าที่ขยายตัวสูง ได้แก่ เคมีภัณฑ์ 2 เดือนแรกของปี 2563 ติดลบ 7%  ตลาดทวีปออสเตรเลีย (25) ติดลบ 6.2% สินค้าสำคัญที่หดตัว ได้แก่ รถยนต์และส่วนประกอบ และเหล็กและผลิตภัณฑ์ ด้านสินค้าที่ขยายตัวสูง ได้แก่ อัญมณีและเครื่องประดับ ปูนซิเมนต์ และเครื่องจักรกลฯ  2 เดือนแรกของปี 2563 ติดลบ 11.2%

ไวรัส“โคโรนา”ฉุดส่งออกตลาดหลักวูบ

ตลาดเอเชียใต้ ติดลบ 0.1% สินค้าสำคัญที่หดตัว ได้แก่ รถยนต์และส่วนประกอบ โทรทัศน์และส่วนประกอบ เหล็กและผลิตภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์พลาสติก และยางพารา ด้านสินค้าที่ขยายตัวสูง ได้แก่ อัญมณีและเครื่องประดับ เม็ดพลาสติก เคมีภัณฑ์ และเครื่องยนต์สันดาปฯ 2 เดือนแรกของปี 2563 ติดลบ 2.4 %  ตลาดอินเดีย ติดลบ 0.3% สินค้าสำคัญที่หดตัว ได้แก่ รถยนต์และส่วนประกอบ โทรทัศน์และส่วนประกอบ ยางพารา ทองแดงฯ และผลิตภัณฑ์พลาสติก 2 เดือนแรกของปี 2563 ติดลบ 3%  ตลาดลาตินอเมริกา ติดลบ 2.8%  สินค้าสำคัญที่หดตัว ได้แก่ รถยนต์และส่วนประกอบ โทรศัพท์และอุปกรณ์ และเครื่องใช้ไฟฟ้า 2 เดือนแรกของปี 2563 ติดลบ 3.4%   ตลาดรัสเซียและกลุ่มประเทศ CIS ติดลบ 14.2% สินค้าสำคัญที่หดตัว ได้แก่ รถยนต์และส่วนประกอบ เครื่องปรับอากาศฯ และเครื่องยนต์สันดาปฯ ด้านสินค้าที่ขยายตัวสูง ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ยาง และอัญมณีและเครื่องประดับ ขณะที่ 2 เดือนแรกของปี 2563 ติดลบ 7.8%  ตลาดทวีปแอฟริกา ติดลบ 18.1%  สินค้าสำคัญที่หดตัว ได้แก่ ข้าว รถยนต์และส่วนประกอบ อาหารทะเลแปรรูป และเคมีภัณฑ์ ด้านสินค้าที่ขยายตัวสูง ได้แก่ ไม้และผลิตภัณฑ์ไม้  2 เดือนแรกของปี 2563 ติดลบ 16.1%

 แต่มีหลายตลาดที่ขยายตัว เช่น สหภาพยุโรป (15) อาเซียน (5) CLMV ตะวันออกกลาง (15) โดยตลาดสหภาพยุโรป (15) ขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 ที่ 1.7% สินค้าสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ เครื่องยนต์สันดาปฯ รถจักรยานยนต์และส่วนประกอบ เครื่องปรับอากาศฯ เครื่องนุ่งห่ม และแผงสวิทซ์และแผงควบคุมกระแสไฟฟ้าขณะที่ 2 เดือนแรกของปี 2563 ขยายตัว 1.1%ตลาดอาเซียน (5) ขยายตัว 6.3% เป็นการขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 โดยสินค้าสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ อัญมณีและเครื่องประดับ อากาศยานและส่วนประกอบ เครื่องยนต์สันดาปฯ น้ำมันสำเร็จรูป และยางพารา เป็นต้น ขณะที่ 2 เดือนแรกของปี 2563 ขยายตัว 5.1%ตลาด CLMV ขยายตัว 5.8% สินค้าสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ สินค้าปศุสัตว์อื่น ๆ น้ำตาลทรายเครื่องปรับอากาศน้ำมันสำเร็จรูป และเครื่องจักรกลฯ เป็นต้น ขณะที่ 2 เดือนแรกของปี 2563 ขยายตัว 2.5 %  ตลาดตะวันออกกลาง (15) ขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 5  16.4% สินค้าสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ รถยนต์และส่วนประกอบ อัญมณีและเครื่องประดับ เครื่องปรับอากาศฯ ไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ และผลิตภัณฑ์ยาง เป็นต้น ขณะที่ 2 เดือนแรกของปี 2563 ขยายตัว9.6 %

ไวรัส“โคโรนา”ฉุดส่งออกตลาดหลักวูบ

   “ขณะนี้ยังไม่มีการประเมินว่าผลกระทบจากการระบาดของโควิดจะกระทบการส่งออกอย่างไรบ้าง แต่ก็มีแนวโน้มว่าหลายประเทศในเอเชียมีแนวโน้มสถานการณ์ระบาดที่ลดลง แต่กลับไปรุนแรงมากขึ้นในยุโรปและตะวันตก แต่เท่าที่ติดตามดูก็ยังไม่มีปัญหาเรื่องระบบโลจิสติกส์ และหวังว่าหลังจากสถานการณ์ดีขึ้นจะเป็นโอกาสดีของผู้ประกอบการไทยในการส่งออกสินค้า เพราะผู้คนทั่วโลกมีความระมัดระวังในการจับจ่ายในช่วงที่ผ่านมา ”น.ส.พิมพ์ชนก กล่าว

ไวรัส“โคโรนา”ฉุดส่งออกตลาดหลักวูบ

สำหรับ    สำหรับแนวโน้มและมาตรการส่งเสริมการส่งออกปี 2563 แรงกดดันจากสถานการณ์ไวรัส Covid-19 ชะลอการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและการค้าโลกในระยะสั้น-กลาง และราคาน้ำมันที่อยู่ในระดับต่ำ ยังเป็นปัจจัยกดดันการส่งออกของไทย โดยมาตรการควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัส Covid-19 ในหลายประเทศ เช่น มาตรการปิดเมือง/พรมแดน อาจส่งผลกระทบด้านห่วงโซ่การผลิตในอุตสาหกรรมส่งออกไทยอันเนื่องมาจากการขาดแคลนวัตถุดิบ ทั้งนี้ สถานการณ์การในจีนที่เริ่มคลี่คลายอาจบรรเทาผลกระทบลงได้บ้าง

ไวรัส“โคโรนา”ฉุดส่งออกตลาดหลักวูบ

อย่างไรก็ตาม การส่งออกไทยยังมีปัจจัยบวกจาก 1.จุดแข็งและศักยภาพไทยในอุตสาหกรรมเกษตรอาหารและสินค้าจำเป็น  อาทิ เครื่องนุ่งห่ม และของใช้ในบ้าน เพื่อการตอบสนองแนวโน้มความต้องการความมั่นคงทางอาหารและสินค้าเพื่อการยังชีพ ที่ทวีความสำคัญเพิ่มขึ้นในหลายประเทศและไทยยังมีกำลังการผลิตเพิ่มเติมเพียงพอสำหรับการบริโภคภายในประเทศและการส่งออก 2. แนวโน้มการฟื้นตัวของสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ของไทย ซึ่งมีสัดส่วนต่อการส่งออกรวมถึงร้อยละ 14%

3.ค่าเงินบาทที่มีแนวโน้มอ่อนค่าลงกว่าช่วงก่อน 4. หลายประเทศทั่วโลกต่างใช้มาตรการผ่อนคลายทางการเงินและการคลังอย่างต่อเนื่อง ซึ่งอาจช่วยลดผลกระทบต่อเศรษฐกิจโดยรวมและรักษาระดับการค้าโลกให้ทรงตัวต่อไปได้ อาทิ การบรรเทาปัญหาสภาพคล่องของภาคธุรกิจ การลดอัตราดอกเบี้ย การสนับสนุนรายได้และค่าใช้จ่ายเพื่อพยุงกำลังซื้อของภาคเอกชน

อย่างไรก็ตาม แม้จะไม่มีการตั้งเป้าหมายการส่งออกของปีนี้ แต่ในช่วงที่เหลือ หากสามารถผลักดันมูลค่าการส่งออกได้เฉลี่ยเดือนละ  20,598 ล้านดอลลาร์สหรัฐส่งออกไทยจะขยายตัวที่0% แต่หากเฉลี่ยเกินเดือนละ 21,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ มีโอกาสที่การส่งออกจะขยายตัว 2%ก็มีความเป็นไปได้ เนื่องจากสินค้าไทยจำนวนมากเป็นที่ต้องการของตลาดโลก โดยเฉพาะสินค้าประเภทอาหารเนื่องจากไทยถือว่าเป็นครัวของโลก เพราะสินค้าไทยมีคุณภาพที่ดี ดังนั้น เชื่อว่า เมื่อปัญหาโรคโควิด-19 สามารถควบคุมได้ภาวะตลาดโลกจะกลับมาดีขึ้น ที่คาดว่าโอกาสในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ภาคการส่งออกของไทยจะส่งออกได้เพิ่มมากขึ้นได้แน่นอน