ด่วนแบงก์ชาติฉีด3 มาตรการ พยุงตลาดทุน ฝ่าวิกฤติโควิด-19

22 มี.ค. 2563 | 08:25 น.

เมื่อเวลา 15.00 น. กระทรวงการคลัง ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) สมาคมธนาคารไทย และ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) จะร่วมกันแถลงข่าวด่วนเรื่อง "มาตรการรองรับสถานการณ์โควิด-19" โดยร่วมมือกันออกมาตรการดูแลตลาดเงินตลาดทุนไม่ให้มีปัญหาสภาพคล่อง โดยเฉพาะตลาดตราสารหนี้ที่มีคนเร่งขายสินทรัพย์ออกมาจำนวนมาก ส่งผลกระทบต่อหน่วยลงทุนกระทบสภาพคล่องในตลาด ทำให้หน่วยลงทุนมูลค่าลดลง จึงต้องมีมาตรการช่วยเหลือผู้ถือหน่วยลงทุน 

ด่วนแบงก์ชาติฉีด3 มาตรการ พยุงตลาดทุน ฝ่าวิกฤติโควิด-19

นายวิรไท สันติประภพ ผู้ว่าการธนาคาร แห่งประเทศไทย(ธปท.)เปิดเผยว่า ธปท.ได้ออก 3 มาตรการ 3 เพื่อดูแลผลกระทบต่อตลาดเงิน ตลาดทุนและตราสารหนี้ ที่ได้รับผลกระทบจากความกังวลจากการระบาดของไวรัสโคโรนา(โควิด-19)ที่รุนแรงขึ้น โดยมาตรการที่ 1 สำหรับกองทุนรวมตราสารหนี้ ที่นักลงทุนกังวลและไถ่ถอนจำนวนมากจนทำให้ขาดสภาพคล่อง ธปท.จะตั้งกลไกพิเศษเพิ่มคล่องให้กองทุนรวมผ่านธนาคารพาณิชย์ให้สามารถซื้อหน่วยลงทุนของกองทุนรวมตราสารหนี้ที่ Money market fund และ Daily Fixed income ที่ถือสินทรัพย์คุณภาพดี สินทรัพย์ที่มีคุณภาพ แต่อาจได้รับผลกระทบชั่วคราวจากการขาดสภาพคล่อง โดยให้ธนาคารพาณิชย์ที่รับซื้อหน่วยลงทุน สามารถนำหน่วยลงทุนมาวางเป็นหลักประกัน หรือเป็น Repurchase มาขอสภาพคล่องกับธปท.ได้ เพื่อเพิ่มสภาพคล่องให้ตราสารหนี้ผ่านธนาคารพาณิชย์ และธปท.พร้อมดำเนินการต่อเนื่องจนกว่า สถานการณ์จะเข้าสู่ปกติ

มาตรการที่ 2 เพื่อรองรับกรณีที่หุ้นกู้ที่ครบกำหนดอายุการชำระหนี้และต้องการระดมทุน เพื่อนำมาชำระหนี้ แต่ไม่สามารถดำเนินการได้ เพราะตลาดขาดสภาพคล่องนั้น เพื่อให้เอกชนสามารถยืดอายุหุ้นกู้ที่ครบกำหนดให้สามารถยืออายุได้ หน่วยงานภาพรัฐ  สมาคมธนาคารไทย 4  กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ธนาคาร ออมสิน จะร่วมตั้งกองทุนเสริมสภาพคล่องเพื่อลดความเสี่ยงของการระดมทุนในตลาดตราสารหนี้ วงเงิน 70,000-100,000  ล้านบาท  ขณะนี้มีผู้ความจำนงค์ในการจัดตั้งแล้ว 8 หมื่นล้านบาท เพื่อทำหน้าที่ดูแลตราสารหนี้เอกชนคุณภาพดีที่ครบกำหนดและยืดอายุการชำระหนี้ ด้วยการระดมทุนในตลาด แต่หากไม่สามารถระดมได้ครบ จากสภาพคล่องที่หายไป กองทุนดังกล่าวจะเสริมส่วนที่ขาด เพื่อให้ผู้ออกหุ้นกู้สามารถยืดอายุ ได้ เป็นระยะสั้นไม่กิน 270 วัน ให้ตราสารหนี้เอกชนดำเนินการได้ต่อเนื่อง ช่วงที่สภาพคล่องโลกจำกัด ตลาดบางกว่าปกติ 

ส่วนมาตรการที่ 3 คือ  ตลาดพันธบัตรรัฐบาล ซึ่งเป็นอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงสำหรับการออกหุ้นกู้ของภาคเอกชน  แต่ที่ผ่านมาดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาลผันผวนสูงมาก จากสภาพคล่องที่บาง ทำให้กระทบต่ออัตราดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาลที่ขั้นลงมาก  ธปท.พร้อมที่จะดูแลให้ตลาดพันธบัตรรัฐบาล.ให้สามารถทำงานได้ตามกลไกตลาดให้มีประสิทธิภาพ เมื่อสภาพคล่องไม่พอก็พร้อมที่จะเสริมสภาพคล่องให้เหมือนที่ได้ดำเนินการในช่วงที่ผ่านมา ที่อัดฉีดสภาพคล่องไปแล้ว 1 แสนล้านบาท

ด้านนายกอบศักดิ์ ภูตระกูล รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง เปิดเผยว่าสำหรับมาตรการช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของไวรัสโควิด-19 กระทรวงการคลังจะเสนอให้ครม.พิจารณามาตรการชุดที่ 2 ในวันอังคารที่ 24 มีนาคมนี้

สำหรับผู้ร่วมแถลงข่าว ประกอบด้วย นายประสงค์ พูนธเนศ ปลัดกระทรวงการคลัง, นายวิรไท สันติประภพ ผู้ว่าการ ธปท., นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล เลขาธิการ ก.ล.ต., นายปรีดี ดาวฉาย ประธานสมาคมธนาคารไทย, นายวศิน วณิชย์วรนันต์ นายกสมาคมบริษัทจัดการลงทุน และนายกอบศักดิ์ ภูตระกูล รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง

เมื่อวันที่19 มี.ค. 63 นายเมธี สุภาพงษ์ รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ในช่วงที่ผ่านมาที่ตลาดพันธบัตร(บอนด์)ไทยมีความผันผวนสูงตามความตื่นตระหนกในตลาดการเงินโลก ธปท. ได้เข้าอัดฉีดสภาพคล่องในตลาดพันธบัตรผ่านการเข้าซื้อพันธบัตรภาครัฐทั้งระยะสั้นและระยะยาวอย่างต่อเนื่อง โดยในวันนี้ ธปท. เข้าซื้อพันธบัตรรวมประมาณ 45,000 ล้านบาท รวมเป็นยอดการเข้าซื้อตั้งแต่ 13-19 มี.ค. 63 กว่า 100,000 ล้านบาท