มรสุมยางพาราฝ่าวิกฤติ โควิด-19

22 มี.ค. 2563 | 04:00 น.

เปิดบ้าน กยท.ถกปมร้อนหารือ 5 สมาคมยางพารา ฝ่าวิกฤติโรคโควิด  “ไม้ยางโคม่า“ ลอยแพพนักงาน  “วรเทพ” ขอยกเว้นเซสส์ 6 เดือน โอดของตกค้างท่าท่าเรือจีนเพียบ เก็บเงินไม่ได้ “ถุงมือยางร้องระงมมาเลย์ปิดด่านป่วนส่งออกเดี้ยง ชงรัฐเจรจาเปิดทาง

มรสุมยางพาราฝ่าวิกฤติ โควิด-19

ผลกระทบไวรัสโควิด-19 ได้กระทบต่อเศรษฐกิจโลก รวมทั้งประเทศไทยอย่างเลี่ยงไม่ได้  จนกระทั่งเมื่อวันที่ 18 มีนาคม ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2563 เพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา หรือโควิด-19 ในประเทศมาเลเซีย ซึ่งจากมาตรการดังกล่าวมีผลทำให้การขนส่งสินค้าผลิตภัณฑ์ยางพารา รวมถึงถุงมือยางที่ส่งออกผ่านชายแดนไทย-มาเลเซีย ไม่สามารถดำเนินการได้นั้น ทำให้ส่งผลกระทบต่อการผลิตและการส่งออกผลิตภัณฑ์ถุงมือยางของไทยอย่างมาก ล่าสุดสถานกรณ์เป็นอย่างไรนั้น

 

++รับมือวิกฤติโควิด

มรสุมยางพาราฝ่าวิกฤติ โควิด-19

นายประพันธ์ บุณยเกียรติ ประธานกรรมการการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) กล่าวถึง กล่าวว่าล่าสุดทางเจ้าหน้าที่ กยท.และกรมศุลกากรได้มีการประสานกับทางกงสุลใหญ่มาเลเซีย ประจำจังหวัดสงขลา เรียบร้อยจนทำให้สามารถส่งออกได้ตามปกติแล้ว แต่สถานการณ์ในขณะนี้จะเป็นไปตามที่เจ้าหน้าที่รายงานหรือไม่ ก็ต้องถามทางผู้ส่งออก ซึ่งผลกระทบจากสถานการณ์การระบาดของไวรัสกำลังทวีความรุนแรงไปทั่วโลก

มรสุมยางพาราฝ่าวิกฤติ โควิด-19

ไทยเองก็ได้รับผลกระทบไม่แพ้กัน ในวงจรของยางพารา ประกอบด้วยเกษตรกร สถาบันเกษตรกร และผู้ประกอบการธุรกิจ และผู้ส่งออก เรียกว่าเป็นผู้มีส่วนได้เสีย ดังนั้นจึงเป็นที่มาของการรักษาสเถียรภาพราคายาง ไม่ใช่หมายความว่าทำให้ราคายางแพงขึ้น แต่จะทำอย่างไรให้การบริหารจัดการราคายางลดความผันผวนให้น้อยที่สุด และอยู่ในระดับราคาที่สมเหตุสมผลกับฝั่งของผู้ผลิตและผู้ใช้ยาง นี่ถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นกระบวนการที่จะต้องทำงานร่วมกัน และเป็นภารกิจที่ต้องส่งเสริมให้ผู้ประกอบการมีศักยภาพการแข่งขันในตลาดโลก

 

++มีทั้งบวกและลบต่ออุตสาหกรรมยาง

มรสุมยางพาราฝ่าวิกฤติ โควิด-19

ด้านนายวรเทพ วงศาสุทธิกุล  อุปนายกสมาคมยางพาราไทย กล่าวว่า ผลกระทบจากไวรัสกระเทือนธุรกิจทุกแขนงทั่วโลกโดยเฉพาะยางพาราไทย ซึ่งมีทั้งผลบวกและผลลบในเรื่องของอุตสาหกรรมยางพารา ที่ได้รับผลกระทบมากก็คือยางแผ่นและยางแท่ง ซึ่งเป็นวัตถุดิบที่ผลิตในยางรถยนต์ ปัจจุบันประเทศจีนได้ปิดโรงงานทั้งหมดใน 2-3 เดือนข้างหน้านี้ จึงทำให้ ยางรถยนต์ไม่ได้ผลิต และเศรษฐกิจไม่ดีทั่วโลก ไวรัสกระจายไปทั้งยุโรปและอเมริกา ส่งผลให้ยางรถยนต์มีความต้องการจะลดน้อยลงนี่เป็นผลลบของไวรัสโคโรนา หรือโควิด-19

 

มรสุมยางพาราฝ่าวิกฤติ โควิด-19

ส่วนในเรื่องผลบวกก็มีไม่ใช่ลบอย่างเดียว เช่นน้ำยางข้น ผลิตถุงมือยาง ถุงยางอนามัย ในเรื่องของยางยืด 80% มความต้องการมากขึ้น เช่นถุงมือ เท่าที่ทราบในขณะนี้ทุกโรงงานเต็มกำลังการผลิต ยางยืดหาซื้อไม่ได้  เรียกว่าของมี แต่ เครื่องจักรไม่พอ นับว่าเป็นผลบวกของยางพารา จึงส่งผลทำให้ในส่วนน้ำยางข้นกระทบไม่มาก แถมดีกว่าที่คาด พวกกลุ่มน้ำยางข้น ยอดขายไม่ได้ลดลง การซื้อมีปกติ

 

++ร้องงดเก็บเงินเซสส์

มรสุมยางพาราฝ่าวิกฤติ โควิด-19

แต่ยางแท่งมีปัญหาแน่ของไปค้างที่ท่าเทียบเรือที่ประเทศหลายหมื่นตู้ มีปัญหาลูกค้าไม่สามารถออกของได้ ไม่สามารถนำของไปใช้ได้ บางลูกค้ารับของไปแล้วโดนชักดาบ หรือบางรายโดยเบี้ยวก็มี ในสภาวะวิกฤติเช่นนี้หากกล่าวถึงสินเชื่อ หรือเสริมสภาพคล่องจากธนาคารผ่านนโยบายรัฐในภาคปฏิบัติยังทำไม่ได้ สถานะที่ขีดเอาไว้เลยในอุตสาหกรรมยางพารา “ไม่ปล่อยเพิ่ม” ดังนั้นสิ่งที่ กยท.จะช่วยทางอ้อมให้ผู้ประกอบการแข่งขันได้ในช่วงวิกฤตินี้ก็คือ การยกเว้นเงินค่าธรรมเนียมการส่งออกยาง(เงินเซส) 6 เดือน จึงขอให้มีการพิจารณาเป็นเรื่องเร่งด่วน

 

++กระทุ้งรับมือฤดูเปิดกรีด

มรสุมยางพาราฝ่าวิกฤติ โควิด-19

สอดคล้องกับนายสุเทพ เดชานุรักษ์  อุปนายกสมาคมน้ำยางข้นไทย กล่าวการ ตอนนี้ต้องบอกว่าเป็นช่วงที่จะต้องมองไปข้างหน้าทุกคนทราบว่าโควิดกระจายไปทั่วโลก หลายประเทศถึงกับล็อคดาวน์ ในมาเลเซียหลายโรงงานปิดเลย สหภาพยุโรป (อียู) ปิด ผมได้ยินว่าบริษัทมิชลินและบริษัท กู้ดเยียร์ ในประเทศต่างๆ อาทิ ฝรังเศษ มาเลเซีย อินเดียและศรีลังกา  ปิด ซึ่งจากจำนวนโรงงานที่หยุดไปประเมินว่าจะส่งผลทำให้ปริมาณการใช้ลดลง จากปกติประเทศไทยส่งออกน้ำยางข้นโดยเฉลี่ยต่อเดือนไม่ต่ำกว่า 1.1 แสนตัน

มรสุมยางพาราฝ่าวิกฤติ โควิด-19

“ช่วงนี้โชคดีเป็นช่วงที่ยางผลัดใบใช้ปริมาณยางไม่มากนัก แต่ต้องมองไปข้างหน้า อีก 2-3 เดือน เป็นฤดูกาลใหม่ยังไม่แน่นอนว่าจะลดลงมากน้อยแค่ไหน ผมคิดว่าจะต้องเป็นภาระหนักของ กยท. ที่จะต้องเตรียมการวางแผนว่าจะทำอย่างไรบ้าง”

++โอกาสถุงมือยางไทยในตลาดโลก

มรสุมยางพาราฝ่าวิกฤติ โควิด-19

นายสุเทพ  กล่าวว่า มีการเก็บข้อมูลการใช้ถุงมือต่อคนต่อปี อาทิ สหรัฐอเมริกา จำนวน 75 คู่ ส่วนจีน แค่คนละ 5 คู่ต่อคนต่อปี “อินเดีย” คนละ 2 คู่ต่อคนต่อปี ตัวเลขพวกนี้ผมีคิดว่าจะมีช่องทางอีกที่ประเทศไทยจะสามารถเพิ่มปริมาณการใช้ได้ “ตลาดถุงมือ” มีอัตราเติบโตก็จริง จะแบ่งเป็น 2 ส่วน  ส่วนหนึ่งถุงมือจากยางสังเคราะห์ และอีกส่วนหนึ่งถุงมือจากยางธรรมชาติในที่ผ่านมาร่วม 7-8 ปี ถึงแม้ว่าปริมาณการเติบโตของถุงมือเพิ่มขึ้นก็จริงแต่ปริมาณถุงมือที่ใช้ยางธรรมชาติเพิ่มในอัตราต่ำมาก

มรสุมยางพาราฝ่าวิกฤติ โควิด-19

มีตัวเลขอยู่เมื่อประมาณ 8 ปีที่แล้ว ถุงมือเป็นยางธรรมชาติอยู่ปริมาณ 80% ถุงมือสังเคราะห์ประมาณ 20% แต่ปัจจุบันตรงกันข้าม ถุงมือธรรมชาติเหลือแค่ 30% ดังนั้นหากต้องการจะเพิ่มปริมาณการใช้ควรจะกระตุ้นให้มีการใช้ถุงมือในรูปของผลิตภัณฑ์ที่เป็นยางธรรมชาติมากกว่า รวมสินค้าประเภทอื่นด้วย

++ยังหลอนมาเลย์ปิดด่าน

มรสุมยางพาราฝ่าวิกฤติ โควิด-19

ด้านนางสาวเบญจมาภรณ์ ทิพย์ขยัน   เจ้าหน้าที่สมาคมผู้ผลิตถุงมือยางไทย กล่าวว่า ถึงแม้รัฐบาลมาเลเซียจะเปิดด่านแล้วแต่อาจจะไม่สะดวกเหมือนที่ผ่านมา เพราะแต่ละวันรถจะขนออกเยอะมาก แต่ถ้าไปติดปัญหาที่ชายแดนอีกจะเป็นข้อจำกัดไปอีกดังนั้นจึงอยากให้รัฐบาลช่วยเจรจาให้การนำเข้าวัตถุดิบคล่องตัวมากกว่านี้และไม่อยากให้ซ้ำรอยเหตุการณ์เมื่อ 2-3 วันที่แล้วที่ไม่สามารถเข้าไปส่งสินค้าได้เลย

มรสุมยางพาราฝ่าวิกฤติ โควิด-19

“ในปีที่แล้วถุงมือยางไทยส่งออกประมาณ 1.8 หมื่นล้านคู่ เป็นถุงยางกว่า 80% ดังนั้นถ้าจะมีมาตรการอะไรที่จะส่งเสริมให้เป็นโอกาสที่มีการขยายตัวมากขึ้นช่วยสนับสนุนนโยบายของทางรัฐบาลในการที่เพิ่มการใช้ยางอาจจะเร็วขึ้นไม่ถึง 20 ปี และในขณะนี้ทางสมาคมกำลังทำให้ประชาสัมพันธ์ทั่วโลก ในสโลแกน “คิดถึงถุงมือยางต้องคิดถึงประเทศไทย”

 

++ไม้ยางเจ๊ง

มรสุมยางพาราฝ่าวิกฤติ โควิด-19

ขณะที่นางสาวศิริรัตน์ อมแก้ว ผู้ช่วยผู้จัดการสมาคมธุรกิจไม้ยางพาราไทย กล่าวว่า จากสถานการณ์ไม้ยางพาราในปัจจุบันนี้จากโควิด ทำให้ไม้ยางพาราไม่สามารถส่งออกได้ไปที่จีนได้ โดยไม้ยางพาราจะส่งออกไปที่จีน99%  พอเกิดปัญหาแล้วไม่สามารถส่งออกไปได้ปัจจุบันโรงงานไม้ยางลดกำลังการผลิตลงไป บางบริษัทก็ไม่มีพนักงานแล้ว

มรสุมยางพาราฝ่าวิกฤติ โควิด-19

++ลากยาวส่อเศรษฐกิจโลกพัง

มรสุมยางพาราฝ่าวิกฤติ โควิด-19

ด้านนางสาวกัณญภัค ตันติพิพัฒน์พงศ์ ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย(สรท.) กล่าวว่า  นับตั้งแต่ประเทศจีนปิดประเทศในขณะนี้ได้ลุกลามไปหลายประเทศ ล่าสุดรัฐ “รัฐแคลิฟอร์เนีย”ประเทศสหรัฐอเมริกาไม่ให้ผู้คนออกจากบ้าน “อิตาลี” วันนี้ลักษณะชัตดาวน์ พยายามหยุดทุกอย่างให้ทุกคนทำงานจากบ้าน หรือบางประเทศก็แค่ล็อคดาวน์ป้องกันการเคลื่อนย้ายของคนมากกว่า

มรสุมยางพาราฝ่าวิกฤติ โควิด-19

แต่ท่าเทียบเรืออาจจะไม่โดนผลกระทบ เพราะจะไม่มีเรื่องคนเป็นเรือของสินค้าเพียงอย่างเดียวแต่ด่านมาเลเซีย เป็นทางรถยนต์พอปิดด่านเกิดผลกระทบการขนส่งทางบก ทำให้การส่งออกและนำเข้าวัตถุดิบจึงหยุดชะงัก

มรสุมยางพาราฝ่าวิกฤติ โควิด-19

“ในหลายประเทศล็อคดาวน์ความต้องการสินค้าจะลดลง จากเดิมที่กังวลว่าจีนชัตดาวน์ จีนไม่ซื้อสินค้าจากไทย แต่วันนี้จีนเริ่มเปิดปกติ จีนผลิตให้กับโรงงานทั่วโลกเพราะฉะนั้นถ้าทั่วโลกมีการบริโภคน้อยลงการผลิตจากจีนคงจะยังไม่ได้ขยายเต็มที่ วันนี้คงต้องเฝ้าระวังต่อไป”

++จ่อคลอดมาตรการเข้า กนย.แก้ปัญหา

มรสุมยางพาราฝ่าวิกฤติ โควิด-19

ปิดท้ายนายขจรจักษณ์ นวลพรหมสกุล รักษาการผู้ว่า กยท. กล่าวว่า ไทยมีเป้าหมายเพิ่มการใช้ยางพาราภายในประเทศตามแผนยุทธศาสตร์ 20 ปี เป็นสัดส่วน 30% ในส่วนของถุงมือยางในปี 2563 มีเป้าหมาย 8 แสนตันเป็น 1 ล้านตันจะเป็นไปได้หรือไม่ จะทำให้ย่นระยะเวลาเร็วขึ้น จากปัญหาต่างๆ ของผู้ประกอบการจะนำไปทำแผนเพื่อเสนอกับคณะกรรมการนโยบายยางธรรมชาติ (กนย.)ที่จะมีการประชุมในเร็วๆ นี้