คมนาคม จับมือทัพฟ้า นำร่องอากาศยานไร้คนขับ

20 มี.ค. 2563 | 10:11 น.

กระทรวงคมนาคม จับมือ กองทัพอากาศ นำอากาศยานไร้คนขับมาใช้ปฏิบัติภารกิจงานด้านคมนาคม หวังติดตามโครงการเมกะโปรเจคต์ฉบับเร่งด่วน มั่นใจเพิ่มประสิทธิภาพดำเนินงาน เชื่อได้รับข้อมูลเชิงลึกในการวางแผนพัฒนาคมนาคมขนส่ง เริ่ม 1 เม.ย.63

 

 

 

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังการลงนามบันทึกความร่วมมือระหว่างกองทัพอากาศและกระทรวงคมนาคมด้วยการช่วยเหลือประชาชน และการพัฒนาประเทศ ว่า สำหรับการบันทึกลงนางในครั้งนี้เป็นการลงนามในบันทึกความร่วมมือ (Memorandum of Cooperation: MOC) ระหว่างกระทรวงคมนาคมและกองทัพอากาศ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการส่งเสริมและสนับสนุนการปฏิบัติงานร่วมกันระหว่างสองหน่วยงาน ให้สามารถปฏิบัติภารกิจในการช่วยเหลือประชาชนและการพัฒนาประเทศโดยใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด อันได้แก่ทรัพยากรด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม รวมถึงทรัพยากรบุคคลของทั้งสองหน่วยงาน ความร่วมมือจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป โดยมีระยะเวลาดำเนินการ 3 ปี ระหว่างปี พ.ศ. 2563 – 2565 หากประสบผลสำเร็จจะพิจารณาขยายความร่วมมือในมิติอื่นๆ ที่จะเป็นประโยชน์ต่อประชาชนและประเทศชาติต่อไป

ขณะเดียวกันในมิติของความร่วมมือระหว่างสองหน่วยงานการปฏิบัติการร่วมกันในการช่วยเหลือประชาชนและการพัฒนาประเทศตามกรอบบันทึกความร่วมมือ ประกอบด้วย การปฏิบัติการโดยเน้นการใช้อากาศยานไร้คนขับ (Drone หรือ UAV) ควบคู่กับการพิจารณาใช้ประโยชน์จากเครื่องบินทหาร ภาพถ่ายทางอากาศ และภาพถ่ายดาวเทียม มีแนวทางการปฏิบัติการในงานด้านคมนาคมครอบคลุมการพัฒนาใน 3 มิติ ได้แก่

1. มิติด้านการแก้ไขปัญหาจราจรช่วงเทศกาล

ในช่วงเทศกาลปีใหม่และสงกรานต์ เป็นช่วงเทศกาลสำคัญที่มีวันหยุดยาวติดต่อกันหลายวัน ประชาชนจำนวนมากเดินทางกลับภูมิลำเนาและเดินทางท่องเที่ยว ส่งผลให้มีปริมาณการจราจรทางถนนสูง เกิดการจราจรติดขัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งเส้นทางเข้า ออกกรุงเทพมหานครและบริเวณจุดคอขวดของถนนสายหลัก กระทรวงคมนาคมและกองทัพอากาศเล็งเห็นความสำคัญนี้ จึงนำอากาศยานมาใช้ เพื่อทำการสำรวจเส้นทางคมนาคมในการอำนวยความสะดวกและความปลอดภัยสำหรับการเดินทางของประชาชนในช่วงเทศกาล โดยจะการบูรณาการอากาศยานไร้คนขับของกองทัพอากาศ อากาศยานไร้คนขับของกรมทางหลวง และกล้อง CCTV ที่ติดตั้งตลอดแนวถนน เพื่อติดตามสภาพจราจรบนเส้นทางจราจรหลักที่เป็นปัจจุบัน (Real Time) และจะถูกเชื่อมต่อข้อมูลไปยังศูนย์ปฏิบัติการ เพื่อการควบคุม สั่งการ สำหรับบริหารจัดการจราจรบนสายทางให้เกิดความคล่องตัวยิ่งขึ้น อาทิ การจัดเปิดช่องทางพิเศษ (Reversible Lane) นอกจากนี้แล้ว สามารถใช้ประโยชน์ในการควบคุมและสั่งการเพื่อรองรับเหตุฉุกเฉินบนถนนให้ทันสถานการณ์ได้อีกด้วย

 

ทั้งนี้การรายงานผลสภาพจราจรบนเส้นทางแบบ Real Time นี้ ประชาชนสามารถดูการรายงานสภาพการจราจรผ่านทางแอปพลิเคชันได้อีกด้วย ในช่วงเทศกาลปีใหม่ พ.ศ. 2563 ที่ผ่านมา ได้มีการนำร่องใช้อากาศยานไร้คนขับบินสำรวจสภาพการจราจรบนถนนสายมิตรภาพ และรายงานข้อมูลผ่านแอปพลิเคชัน Thailand Highway Traffic ของกรมทางหลวง ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี ในระยะถัดไป กระทรวงคมนาคมจึงมีแผนขยายผลดำเนินการไปยังเส้นทางสำคัญอื่นๆ และเชื่อมต่อข้อมูลไปยังแอปพลิเคชัน รวมถึงเว็บไซต์ของหน่วยงานในสังกัดให้เกิดช่องทางเข้าถึงข้อมูลอย่างหลากหลายมากยิ่งขึ้นให้ประชาชนสามารถติดตามข้อมูลสำหรับวางแผนการเดินทางในช่วงเทศกาล

 

2. มิติด้านการติดตามงานก่อสร้างโครงการสำคัญ

กรอบบันทึกความร่วมมือดังกล่าว เปิดโอกาสให้กระทรวงคมนาคมใช้ประโยชน์จากอากาศยาน ไร้คนขับ และทรัพยากรอื่นๆ ของกองทัพอากาศเพื่อการติดตามความก้าวหน้าในโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมที่สำคัญ อาทิ การติดตามงานจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินและโครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (Motorway) บางใหญ่-กาญจนบุรี การติดตามโครงการก่อสร้างโครงการระบบรถไฟทางคู่เพื่อการขนส่งและการจัดการโลจิสติกส์ในระยะเร่งด่วน เป็นต้น

 

ทั้งนี้การนำอากาศยานไร้คนขับมาใช้ประโยชน์ในงานคมนาคม จะสามารถนำมาสำรวจพื้นที่ที่เข้าถึงได้ยาก อาทิ พื้นที่เขตป่าหุบเขา ทะเล และพื้นที่เสี่ยงภัยธรรมชาติ เป็นต้น การนำอากาศยานไร้คนขับทำการสำรวจในพื้นที่ดังกล่าวจะเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานในภาคคมนาคม โดยช่วยลดค่าใช้จ่ายและระยะเวลาในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ ตลอดจนได้รับทำข้อมูลเชิงลึกสำหรับการวางแผนพัฒนาด้านคมนาคมขนส่ง

 

3. มิติด้านการวางแผนการพัฒนาระบบโลจิสติกส์

คมนาคม จับมือทัพฟ้า นำร่องอากาศยานไร้คนขับ

การปฏิบัติงานร่วมกันระหว่างกระทรวงคมนาคมและกองทัพอากาศในระยะต่อไป เล็งเห็นประโยชน์ของการใช้ทรัพยากรด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางอากาศเพื่อการวางแผนพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของประเทศในลักษณะการพัฒนาเชิงพื้นที่ขนาดใหญ่ (Area Base) และ การพัฒนาตามแนวระเบียงเศรษฐกิจ(Corridor Base) โดยเฉพาะการวิเคราะห์เส้นทางเพื่อลดต้นทุนการขนส่ง รวมถึงการประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมเชิงยุทธศาสตร์ ที่จะครอบคลุมมิติทั้งด้านเศรษฐกิจ สิ่ง คมนาคม จับมือทัพฟ้า นำร่องอากาศยานไร้คนขับ

แวดล้อม สังคม อาทิ เส้นทางการพัฒนาสะพานเชื่อมเศรษฐกิจหรือแลนด์บริดจ์เพื่อเชื่อมโยงทะเลอันดามันและอ่าวไทย การวางแผนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมรองรับการพัฒนาระเบียงเขตเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) เขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดน (SEZ) และพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้อย่างยั่งยืน (SEC) เป็นต้น