ถอดสมการ‘จุฬาฯ’ ชงเก็บค่านํ้าสาธารณะเครือข่ายลุ่มนํ้าฯติงอย่ารีบร้อน

27 มี.ค. 2563 | 05:40 น.

“จุฬาฯ ถอดสมการโครงสร้างเก็บค่านํ้าสาธารณะประเภท 2 และ 3 ชง สทนช.พิจารณาสิ้นเดือนนี้ อดีต กมธ.ร่างกฎหมาย-เครือข่ายลุ่มนํ้า ติงอย่ารีบร้อน จี้ตั้งคณะกรรมการลุ่มนํ้า เปิดเวทีกลางประชาพิจารณ์ให้รอบคอบ กรมชลฯ ยันภาคเกษตรไม่เก็บ

 

พระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.) ทรัพยากรนํ้า พ.ศ. 2561 ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 135 ตอน 112 ก เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2561 โดยจะใช้บังคับเมื่อพ้น 30 วันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป คือวันที่ 27 มกราคม 2562 เว้นแต่บทบัญญัติในหมวด 4 การจัดสรรนํ้าและการใช้นํ้า และมาตรา 104 ให้บังคับใช้ เมื่อพ้นกำหนด 2 ปี ตรงกับวันที่ 1 มกราคม 2564

ตามโครงสร้างของ พ.ร.บ.ทรัพยากรนํ้า พ.ศ. 2561 ได้แบ่ง การใช้ทรัพยากรนํ้าสาธารณะ (มาตรา 41) เป็น 3 ประเภท คือ การใช้นํ้าประเภทที่หนึ่ง ได้แก่ การใช้ทรัพยากรนํ้าสาธารณะเพื่อการดำรงชีพ การอุปโภคบริโภคในครัวเรือน การเกษตรหรือการเลี้ยงสัตว์เพื่อยังชีพ การอุตสาหกรรมในครัวเรือน การรักษาระบบนิเวศ จารีตประเพณี การบรรเทาสาธารณภัย การคมนาคม และการใช้นํ้าในปริมาณเล็กน้อย การใช้นํ้าประเภทที่สอง ได้แก่ การ ใช้ทรัพยากรนํ้าสาธารณะเพื่อการอุตสาหกรรม อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว การผลิตพลังงานไฟฟ้า การประปาและกิจการอื่น การใช้นํ้าประเภทที่สาม ได้แก่การใช้ทรัพยากรนํ้าสาธารณะ เพื่อกิจการขนาดใหญ่ที่ใช้นํ้าปริมาณมาก หรืออาจก่อให้เกิดผลกระทบข้ามลุ่มนํ้า หรือครอบคลุมพื้นที่อย่างกว้างขวาง

ถอดสมการ‘จุฬาฯ’ ชงเก็บค่านํ้าสาธารณะเครือข่ายลุ่มนํ้าฯติงอย่ารีบร้อน

ทั้งนี้การใช้นํ้าประเภทที่สองและประเภทที่สาม จะต้องมีการขออนุญาตใช้นํ้า ทางสำนักงานทรัพยากรนํ้าแห่งชาติ หรือ (สทนช. ) ได้ร่วมกับ ศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีกรอบระยะเวลาดำเนินการศึกษา 270 วัน (ตั้งแต่พ.ค. 62-ก.พ. 63 รวม 270 วัน) ก่อนเก็บจริงนั้น

ผศ.ดร.อักษรา พฤทธิวิทยา อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมแหล่งนํ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในฐานะหัวหน้าโครงการในการจัดทำหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการคิดค่านํ้า และจัดทำกฎหมายลำดับรองตามกฎหมายว่าด้วยทรัพยากรนํ้า (หมวด 4 การจัดสรรและการใช้นํ้า) ตาม พ.ร.บ.ทรัพยากรนํ้า พ.ศ. 2561 เผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า ขณะนี้ผลการศึกษายังไม่เสร็จ แต่คาดจะส่งรายงานให้กับสทนช.ได้ในสิ้นเดือนมีนาคม

ทั้งนี้ทางทีมงานได้ทำเกณฑ์โครงสร้างอัตราใช้นํ้าที่ขึ้นกับยูนิตของนํ้าที่ใช้ต่อลูกบาศก์เมตร จะมี 2 ประเภทที่ จะเก็บค่านํ้า ก็คือ ประเภทที่ 2 และประเภทที่ 3 ที่มีการใช้นํ้าที่ต่างกันโดยจะบวกต้นทุนค่าใช้จ่ายนํ้าที่เพิ่มขึ้น (กราฟิกประกอบ)

“อัตราการเก็บค่านํ้ายังไม่มีตัวเลขที่แน่ชัด แต่เป็นไปตามนโยบายที่ทาง สทนช. ให้ใช้หลักเกณฑ์ 3 หน่วยงาน ได้แก่ กรมชลประทาน กรมทรัพยากรนํ้า และกรมทรัพยากร นํ้าบาดาล ซึ่งปัจจุบันมี 2 หน่วยงานที่เก็บค่านํ้า แต่ใช้เกณฑ์การเก็บคนละอย่างกัน ยกเว้นกรมทรัพยากรนํ้าที่ไม่มีการเก็บค่านํ้า อาจจะยังไม่ทราบว่าจะใช้หลักเกณฑ์อะไร จึงจำเป็นที่จะต้องทำหลักเกณฑ์ขึ้นมาเพื่อใช้เกณฑ์เดียวกัน”

ทั้งนี้เมื่อผลการศึกษาเสร็จสิ้นแล้ว จะต้องให้ทั้ง 3 หน่วยงานที่จะไปออกระเบียบเก็บค่านํ้ามาทำเวิร์กช็อปร่วมกันเพื่อกำหนดในการเก็บค่านํ้า โดยยึดโมเดลผลการศึกษาไปกำหนดค่านํ้าเพื่อสร้างความตระหนักรับรู้ในคุณค่าของทรัพยากรนํ้า อันจะนำไปสู่พฤติกรรมการใช้นํ้าอย่างมีประสิทธิภาพ โดยคำนึงถึงความสมดุล ยั่งยืน และเป็นธรรม

นายหาญณรงค์ เยาวเลิศ อดีตกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ทรัพยากรนํ้า พ.ศ. ... กล่าวว่า การรับฟังความเห็นที่ผ่านมาน้อยเกินไปควรเปิดเวทีกลางอย่างน้อย 2-3 ครั้งเพื่อให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องสร้างการรับรู้ และได้มีการแก้ไขปรับปรุง

สอดคล้องกับ ผศ.ดร.เจริญ ปิยารมย์ ประธานคณะทำงานลุ่มนํ้าคลองวังโตนด กล่าวว่า แค่คำนิยามจัดประเภทนํ้ายังสรุปกันไม่ได้เลย ถ้าจะมาคิดเก็บค่านํ้า โดยคิดต้นทุนตั้งแต่การสร้างเขื่อน ค่าบริหารจัดการนํ้า ค่าบุคลากร ล้วนแล้วแต่เป็นเงินภาษีแล้วจะให้มาเสียค่านํ้าอีกเท่ากับจ่ายถึง 2 เด้งหรือไม่ ยังไม่นับรวมกับค่าไฟฟ้า ค่าท่อ ที่ต้องเสียค่าใช้เอง

“ที่อยากเสนอคือ 1.ให้ตัวแทนของลุ่มนํ้า 22 จังหวัดเข้าไปรับฟังประชาพิจารณ์ 2.ขณะนี้ยังไม่มีคณะกรรมการ นํ้าแห่งชาติ ที่มาจากกระบวน การคัดสรร ตาม พ.ร.บ.ทรัพยากร นํ้าฯ จึงทำให้ไม่ครอบคลุม ต้องเร่งดำเนินการ”

ด้านนายทองเปลว กองจันทร์ อธิบดีกรมชลประทาน กล่าวว่า นํ้าเพื่อการเกษตร ยืนยันว่าไม่เก็บค่านํ้า ส่วนการเก็บค่านํ้าประเภท 2 และ 3 ขึ้นอยู่กับทางคณะที่ร่วมมือกับสทนช.พิจารณาจากผลการ ศึกษา ว่าจะให้เก็บเท่าไร (ปัจจุบัน เก็บค่านํ้าในอัตราลูกบาศก์เมตรละ 50 สตางค์)

หน้า 8 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 40  ฉบับที่ 3,559 วันที่ 22 - 25 มีนาคม พ.ศ. 2563

ถอดสมการ‘จุฬาฯ’ ชงเก็บค่านํ้าสาธารณะเครือข่ายลุ่มนํ้าฯติงอย่ารีบร้อน