“วิชัย”ลั่นฟ้องเพื่อศักด์ศรีของกรม

12 มี.ค. 2563 | 07:23 น.

พาณิชย์แจงละเอียดยิบ ห้ามส่งออกหน้ากากอนามัยตั้งแต่วันที่ 4 ก.พ.ยกเว้นหน้ากากที่ไม่ใช่สเปกของไทยและหน้ากากฯที่มีเครื่องหมายการค้า ย้ำฟ้องโฆษกกรมศุลกากร เพื่อปกป้องศักดิ์ศรีของกรมและเจ้าหน้าที่ พร้อมแจงข่าวดีมีหน้ากากฯเพิ่มในระบบอีก 3 แสนชิ้นต่อวันหลังโรงงานสับเปลี่ยนไลน์การผลิต

นายวิชัย โภชนกิจ อธิบดีกรมการค้าภายใน (คน.) เปิดเผยในการแถลงข่าว (12 มี.ค.2563)ถึงการแจ้งความดำเนินคดีกับนายชัยยุทธ คำคูณ ที่ปรึกษาด้านพัฒนาระบบควบคุมทางศุลกากร ในฐานะโฆษกกรมศุลกากร โทษฐานหมิ่นประมาทโดยการประชาสัมพันธ์ข้อมูลการส่งออกหน้ากากอนามัยคลาดเคลื่อนทำให้กรมได้รับความเสียหายว่า โดยส่วนตัวไม่ได้รู้จักหรือมีความขัดแย้งกับโฆษกกรมศุลกากร แต่ในฐานะลูกหม้อของกรมการค้าภายในต้องการปกป้องศักดิ์ของกรม เพราะข่าวที่ออกมาสร้างความเสียหายแก่กรมการค้าภายใน

“สาเหตุที่เดินทางไปแจ้งความดำเนินคดีกับนายชัยยุทธ คำคูณ ที่ปรึกษาด้านพัฒนาระบบควบคุมทางศุลกากร ในฐานะโฆษกกรมศุลกากรนั้นเพื่อปกป้องศักดิ์ศรีของกรมฯ และศักดิ์ศรีของเจ้าหน้าที่กรมการค้าภายใน เพราะผมเองก็เป็นลูกหม้อกรมการค้าภายใน”

“วิชัย”ลั่นฟ้องเพื่อศักด์ศรีของกรม

นอกจากนี้กรมขอชี้แจงเรื่องการส่งออกหน้ากากอนามัย กรมยืนยันว่าถ้าในเดือนมกราคม 2563 ยังไม่มีประกาศจากคณะกรรมการว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ(กกร.) เรื่องการห้ามส่งออกหน้ากากอนามัยและยังไม่มีการควบคุมทั้งการส่งออกและนำเข้าหากมีการส่งออกไปจริงก็อยู่นอกเหนือการควบคุมของกรม แต่หลังจากประเทศไทยเข้าสู่ภาวะขาดแคลนกรมฯก็ออกประกาศกกร.มาหลายฉบับและมีมาตรการต่าง ๆ ออกมารวมทั้งการห้ามส่งออกหน้ากากอนามัยประเภท SURGICAL MASK ตั้งแต่วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2563 และมีผลบังคับใช้ทันที  ส่วนหน้ากากบางชนิดที่ประเทศไทยไม่ใช้ และที่ผลิตภายใต้เงื่อนไขของคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน(บีโอไอ) หรือมีลิขสิทธิ์หรือสเปกเฉพาะยังอนุญาตให้ส่งออก ก็ยังส่งออกได้

“วิชัย”ลั่นฟ้องเพื่อศักด์ศรีของกรม

“วิชัย”ลั่นฟ้องเพื่อศักด์ศรีของกรม

สำหรับการส่งออกนั้นมีอนุกรรมการเพื่อพิจารณาการส่งออก ซึ่งมีตัวแทนจากองค์การอาหารและยา(อย.) องค์การเภสัชกรรม และจากหน่วยงานที่มีผู้เชี่ยวชาญเป็นกรรมการ เนื่องจากหน้ากากมีการผลิตกว่า 71 ชนิด ซึ่งต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญพิจารณาว่าหน้ากากชนิดใดสามารถส่งออกได้หรือไม่ได้   โดยที่ผ่านมาอนุกรรมการชุดดังกล่าวปฎิบัติงานอย่างเข้มงวด และย้ำว่าให้ความสำคัญต่อผู้ใช้ในประเทศเป็นอันดับแรก  โดยที่ผ่านมาได้มีเอกชนขออนุญาตส่งออกหน้ากากอนามัย 242 ราย จำนวนคำขอ 377 คำขอ จำนวนหน้ากาก 53 ล้านชิ้น ยกเลิกคำขอ 32 ราย คำขอ 43 คำขอ  จำนวนหน้ากาก 16 ล้านชิ้น คงเหลือเอกชนที่ขอส่งออก 210 ราย คำขอ 334 คำขอ ปริมาณหน้ากาก 37 ล้านชิ้น มีการอนุญาตส่งออกแล้ว 7 ราย จำนวนคำขอ 34 ราย ปริมาณ 12 ล้านชิ้น และอยู่ระหว่างการพิจารณา 203 ราย จำนวนคำขอ 300 คำขอ จำนวนหน้ากาก 24 ล้านชิ้น

โดยผู้ประกอบการที่ได้รับการอนุญาตส่งออกประกอบด้วย 1.บริษัทเอ็มเมอรัลด์ นอนวูเว่น อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด  จำนวน  2.5  ล้านชิ้น เหตุผลที่อนุญาตเพราะเป็นหน้ากากอนามัยทางการแพทย์ที่ใช้ในห้องผ่าตัด วัตุดิบนำเข้าได้รับการสนับสนุนจากบีโอไอ 2. บริษัทสยามโคเค็น จำกัด ส่งออก จำนวน6.5 แสนชิ้น เหตุผลคือได้รับสิทธิ์จากบีโอไอผลิตส่งออกทั้งหมด และเป็นหน้ากากอามัยทางการแพทย์ N95 3.บริษัทไทยฮอสพิทอล โปรดักส์ จำกัด  จำนวน 5 ล้านชิ้น เพราะเป็นหน้ากากทางการแพทย์ใช้ในห้องผ่าตัด ไม่มีความจำเป็นใช้ในประเทศไทย  วัตุดิบได้รับการสนับสนุนจากบีโอไอ เป็นรุ่นที่มีลิขสิทธิ์จากต่างประเทศ  4.บริษัทโฟมเทค อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ส่งออก 1 พันชิ้น  เพราะเป็นหน้ากากรุ่นเฉพาะผลิตจากโฟมใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม บริษัทคลีนสเตท (ประเทศไทย)  จำกัด ส่งออก 3.5 แสนชิ้น 6.สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ(สวทช.) ส่งออก 21 ชิ้น ส่งออกเพื่อทดสอบประสิทธิภาพและวิจัย และ 7. บริษัทไอรีมา (ประเทศไทย) ส่งออก 3 ล้านชิ้น เนื่องจากเป็นหน้ากากรุ่นเฉพาะมีลิขสิทธิ์ของต่างประเทศ  โดยได้ส่งสินค้าไปยังประเทศปลายทางคือออสเตรเลีย  ฮ่องกง สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น เนเธอร์แลนด์ ฟิลิปปินส์ และเยอรมัน

“วิชัย”ลั่นฟ้องเพื่อศักด์ศรีของกรม

นอกจากนี้ศูนย์บริหารจัดการสินค้าหน้ากากอนามัยของกรมการค้าภายใน ได้มีแผนการจัดสรรหน้ากากอนามัย ณ วันที่ 12 มีนาคม 2563  โดยขณะนี้กำลังการผลิตจาก11โรงงาน เพิ่มขึ้น360,000แสนชิ้นต่อวัน รวมเป็น1.56ล้านชิ้นต่อเดือน จากเดิม มี1.2ล้านชิ้นต่อเดือน ดังนั้นกรมฯจะจัดสรรหน้ากากฯที่เพิ่มขึ้น โดยให้กระทรวงสาธารณสุขกระจายให้บุคลากรทางการแพทย์ จากเดิม7แสนชิ้น เป็น 800,000 ชิ้น   ซึ่งจะกระจายไปยัง โรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข โรงพยาบาลกรมการแพทย์ โรงพยาบาลรัฐนอกสังกัดกระทรวงสาธารณสุข จำนวน 500,000 ชิ้น สถานพยาบาลเอกชน จำนวน 115,000 ชิ้น สมาคมคลินิกไทย จำนวน 45,000 ชิ้น โรงพยาบาลสังกัดมหาวิทยาลัย ได้แก่ โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า จำนวน 70,000 ชิ้น และสถานพยาบาลสังกัด กทม. ได้แก่ สำนักอนามัย จำนวน 70,000 ชิ้น 

 โดยกรมการค้าภายในได้กระจายไปให้ประชาชน จำนวน 760,000 ชิ้น โดยขายหน้ากากอนามัยบรรจุแพ็ก 4 ชิ้น แพคละ 10 บาท ผ่านร้านธงฟ้าและร้านขายยา จำนวน 300,000 ชิ้น เทสโก้โลตัส (180 สาขา) จำนวน 100,000 ชิ้น แม็คโคร (95 สาขา) จำนวน 100,000 ชิ้น  BIG C (150 สาขา) จำนวน 100,000 ชิ้น วิลล่ามาร์เก็ต (36 สาขา) จำนวน 60,000 ชิ้น TOPS   (204 สาขา) จำนวน 100,000 ชิ้น และร้าน7-11 สาขาละ100-200 ชิ้น เนื่องจาก7-11 มีสาขาเป็นหมื่นสาขา ทั้งนี้ หากประชาชนพบเห็นการกักตุน จำหน่ายหน้ากากอนามัยสูงเกินกว่าราคาที่กำหนด สามารถแจ้งได้ที่สายด่วนกรมการค้าภายใน 1569 หรือสำนักงานพาณิชย์จังหวัดทั่วประเทศ

“วิชัย”ลั่นฟ้องเพื่อศักด์ศรีของกรม

 

ส่วนการกระจายหน้ากากฯโดยคาราวานรถ 111 คันทั่วประเทศนั้น ได้ยกเลิกเนื่องจากฯได้ปรับวิธีการจัดสรรการจัดสรรหน้ากากอนามัยเพื่อให้ทุกฝ่ายได้รับไปใช้อย่างเต็มที พร้อมเร่งกระจายไปจุดต่างๆให้รวดเร็วมากขึ้น และให้ยกเลิกกระจายผ่านรถโมบายธงฟ้าเคลื่อนทีจำนวน 111 คัน หลังจากนำหน้ากากอนามัยผ่านรถโมบายไปแล้วเมื่อปลายสัปดาห์แต่เห็นว่า รถโมบายยังไม่สามารถกระจายหน้ากากอนามัยไปยังประชาชนได้อย่างเต็มทีมากนัก แต่จะเร่งให้กระจายไปยังช่องทางอื่นๆที่กรมการค้าภายในดูแลอยู่แทน

“วิชัย”ลั่นฟ้องเพื่อศักด์ศรีของกรม

“สาเหตุที่กรมมีแผนจัดสรรหน้ากากอนามัยใหม่นั้นเป็นเพราะ โรงงานทั้ง 11 แห่ง ที่เคยผลิตหน้ากากเพื่อการส่งออกหรือหน้ากากรุ่นเฉพาะได้หันมาผลิตหน้ากากอนามัยเพื่อใช้ในประเทศทำให้มีหน้ากากเพิ่มขึ้น 3-4 แสนชิ้น ซึ่งมีผลไปแล้วซึ่งก็คาดว่าจะทำให้สถานการณ์การขาดแคลนลดลง” นายวิชัย กล่าว