FETCO ดัชนีความเชื่อมั่นนักลงทุน 3 เดือนหน้าซบเซาต่อ กังวลศก.-ท่องเที่ยวฉุด

10 มี.ค. 2563 | 06:29 น.

FETCO เผยดัชนีความเชื่อมั่นนักลงทุน 3 เดือนหน้าซบเซาต่อเป็นเดือนที่ 2  กังวลเศรษฐกิจ-ท่องเที่ยว คาดหวังนโยบายภาครัฐ ผลประกอบบจ. –นโยบายอัตราดอกเบี้ยกนง.หนุน

 

นายไพบูลย์ นลินทรางกูร ประธานกรรมการสภาธุรกิจตลาดทุนไทย (FETCO) เปิดเผย ดัชนีความเชื่อมั่นนักลงทุน (FETCO investor Confidence Index) ประจำเดือนมีนาคม 63 ว่า ดัชนีความเชื่อมั่นนักลงทุนในอีก 3 เดือนข้างหน้าปรับตัวลดลงอยู่ในเกณฑ์ชบเซาเป็นเดือนที่สองติดต่อกัน โดยผลสำรวจพบว่านักลงทุนกังวลภาวะเศรษฐกิจในประเทศ และสถานการณ์การท่องเที่ยว เป็นปัจจัยฉุดความเชื่อมั่นนักลงทุน

ขณะที่นักลงทุนคาดหวังโยบายภาครัฐ และผลประกอบการบริษัทจดทะเบียน(บจ.)  และนโยบายอัตราดอกเบี้ยของคณะกรรมการนโยบายทางการเงิน (กนง.) เป็นปัจจัยหนุนความเชื่อมั่นนักลงทุน มากที่สุด

ดัชนีความเชื่อมั่นนักลงทุน (FETCO Investor Confidence Index) ประจำเดือน มี.ค.63 ได้ผลสำรวจโดยสรุป ดังนี้

FETCO ดัชนีความเชื่อมั่นนักลงทุน 3 เดือนหน้าซบเซาต่อ กังวลศก.-ท่องเที่ยวฉุด

ดัชนีความเชื่อมั่นรวมทุกกลุ่มนักลงทุนในอีก 3 เดือนข้างหน้า (พ.ค.63) อยู่ในเกณฑ์ ซบเซา” (Bearish) (ช่วงค่าดัชนี 40-79) โดยลดลง 11.48% มาอยู่ที่ระดับ 64.40

ดัชนีความเชื่อมั่นนักลงทุนกลุ่มบัญชีบริษัทหลักทรัพย์ลดลงเล็กน้อยอยู่ใน Zone ซบเซา (Bearish)

ดัชนีความเชื่อมั่นกลุ่มนักลงทุนสถาบันในประเทศลดลงล็กน้อยอยู่ใน Zone ซบเซา (Bearish)

ดัชนีความเชื่อมั่นกลุ่มนักลงทุนต่างประเทศเพิ่มขึ้นเล็กน้อยมาอยู่ใน Zone ซบเซา (Bearish)

ดัชนีความเชื่อมั่นนักลงทุนรายบุคคลลดลงมาอยู่ใน Zone ซบเซา (Bearish)

หมวดธุรกิจที่นำสนใจมากที่สุด คือหมวดอาหารและเครื่องดื่ม (FOOD)

หมวดธุรกิจที่ไม่นำสนใจมากที่สุด คือหมวดการท่องเที่ยวและสันทนาการ (TOURISM)

ปัจจัยหนุนที่มีอิทธิพลต่อตลาดหุ้นไทยมากที่สุด คือ นโยบายภาครัฐ

ปัจจัยฉุดที่มีอิทธิพลต่อตลาดหุ้นไทยมากที่สุด คือ ภาวะเศรษฐกิจในประเทศ

ด้านนางสาวอริยา ติรณะประกิจ รองกรรมการผู้จัดการ สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย เปิดเผยดัชนีคาดการณ์อัตราดอกเบี้ย (Interest Rate Expectation Index) เดือนมีนาคม 2563  กล่าวว่า ดัชนีคาดการณ์อัตราดอกเบี้ยนโยบายในการประชุม กนง. รอบเดือนมีนาคมนี้ปรับตัวลดลงต่ำสุดตั้งแต่เริ่มจัดทำดัชนี อยู่ที่ระดับ 8 ลดลงอย่างมากจากครั้งที่แล้วมาอยู่ในเกณฑ์ “ลดลง (Decrease)” สะท้อนมุมมองของตลาดที่ว่าการประชุม กนง. ในเดือนมีนาคมนี้ อาจจะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายจากระดับร้อยละ 1 ปัจจัยหนุนสำคัญ ได้แก่ การขยายตัวทางเศรษฐกิจในประเทศที่มีแนวโน้มชะลอตัว อุปสงค์อุปทานในตลาดตราสารหนี้ที่ทรงตัวแนวโน้มทิศทางอัตราดอกเบี้ยโลกที่ลดลง และ Fund flow จากต่างชาติไหลออก