หนุน-ค้าน ร่างกฎหมายแบ่งปันผลประโยชน์

06 มี.ค. 2563 | 10:10 น.

นักวิชาการค้านดันร่างกฎหมายเกิดหายนะอุตสาหกรรมข้าว ยาง มัน ล่มสลาย ขณะที่สภาเกษตรกรเห็นด้วยในหลักการ ช่วยเกษตรกรพ้นความยากจน

จากกรณีที่พรรคภูมิใจไทยได้นำเสนอร่าง พ.ร.บ.แบ่งปันผลประโยชน์ข้าว ยางพารา และมันสำปะหลัง ซึ่งทางเว็บไซต์รัฐสภาผู้แทนราษฎรกำลังเปิดรับฟังความคิดเห็นร่างพระราชบัญญัติตามมาตรา 77 ของรัฐธรรมนูญ ที่เสนอโดยนายอนุทิน ชาญวีรกูล พรรคภูมิใจไทย กับคณะผู้เสนอ นั้น

หนุน-ค้าน ร่างกฎหมายแบ่งปันผลประโยชน์

รศ.สมพร อิศวิลานนท์ นักวิชาการอาวุโส สถาบันคลังสมองของชาติ เผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า การแบ่งปันผลประโยชน์แบบโมเดลอ้อยและน้ำตาล ไม่เหมาะที่จะมาใช้กับข้าว ยางพารา และมันสำปะหลัง ผมคิดว่าคนที่ตรากฎหมายนี้ไม่รู้เรื่องสินค้าเกษตร เพราะจะสร้างความหายนะตามมา

หนุน-ค้าน ร่างกฎหมายแบ่งปันผลประโยชน์

“ข้าว" เป็นทั้งอาหาร ส่งออก มีทั้งไปในรูปแบบอาหารสัตว์ และมีเกษตรกรรายย่อย จะใช้วิธีทอนประโยชน์ตั้งแต่ปลายน้ำถึงต้นน้ำทำไม่ได้ เช่นเดียวกับ "ยางพารา" ก็มีทั้งน้ำยางสด น้ำยางก้อนถ้วย ยางแผ่นดิบ ยางแท่ง  ส่วนมันสำปะหลัง ก็มีทั้งมันเส้น แป้งมัน มัดอัดเม็ด และอาหารสัตว์ ดังนั้นมองว่าแค่จัดการตลาดให้ดี แต่ไม่ทำ ไปทำในสิ่งที่ไม่ควรทำ การไปตรากฎหมายออกมาจะส่งผลทำให้ตลาดไม่ทำงาน”

หนุน-ค้าน ร่างกฎหมายแบ่งปันผลประโยชน์

รศ.สมพร กล่าวว่า การแบ่งปันผลประโยชน์แบบโมเดลอ้อยและน้ำตาล ทุกวันนี้ยังโดนคู่แข่งฟ้ององค์การการค้าโลก (WTO) ยังตามแก้ปัญหาไม่จบ เมื่อมาพิจารณากระบวนการสินค้าแต่ละชนิดก็มีความแตกต่างกับอ้อย ดังนั้นผมไม่เห็นด้วย ไม่ตอบโจทย์ ยกตัวอย่างข้าวทุกวันนี้ก็ทอนผลประโยชน์ออกมาแบบกลาย เช่น ราคาข้าวสาารส่งออก 450 ดอลลาร์สหรัฐ ทอนกลับมาเป็นราคาข้าวเปลือกประมาณ 8,000 พันบาท/ตัน เป็นต้น

หนุน-ค้าน ร่างกฎหมายแบ่งปันผลประโยชน์

“พรรคภูมิใจไทยไม่เข้าใจบริบทเกษตรกร ไม่เข้าใจตลาด จะสร้างความหายนะที่ตามมา อย่างข้าว ในประเทศดันราคาสูง จะตกค้างมาก แล้วรัฐบาลจะนำเงินที่ไหนมาอุดหนุนเกษตรกร เพราะทุกวันนี้ก็อุดหนุนมากอยู่แล้ว ทำไมไม่ไปเพิ่มศักยภาพ อบรมแล้วเปลี่ยนกลไกลใหม่สร้างความสมดุล"

หนุน-ค้าน ร่างกฎหมายแบ่งปันผลประโยชน์

ไม่ใช่แก้ปัญหาเฉพาะหน้านำพระราชบัญญัติมาแก้ ซึ่งไม่ได้แก้ปัญหาระยะยาวเลย แต่จะกลายเป็นสร้างปัญหาหมักหมมในระยะยาวทำให้สูญเสียมากขึ้น นี่คือหายนะถึงอุตสาหกรรมล่มสลายต่อไปในอนาคตประเทศไทยหากมองไปอีก 50 ปีข้างหน้าจะต้องซื้อข้าวเพื่อนบ้านเข้ามาบริโภคในประเทศ

หนุน-ค้าน ร่างกฎหมายแบ่งปันผลประโยชน์

ขณะที่นายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ ประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ กล่าวว่า ผมต้องขอขอบคุณพรรคภูมิไทยที่เป็นห่วงเกษตรกร โดยหลักการดี  สินค้าเกษตรหลายตัวแตกต่างจากสินค้าอ้อยและน้ำตาล กระบวนการผลิตก็จากอ้อย แล้วไปเป็นน้ำตาล แค่ชนิดเดียวมองว่าจะจัดสรรผลประโยชน์ได้ง่ายกว่าสินค้าชนิดอื่น แต่ขณะที่ ข้าว ยางพารา และมันสำปะหลัง มีความหลากหลายทั้งแปรรูป ส่งออก และเข้าโรงงานอาหารสัตว์

“ผมว่าทางพรรคเจตนาดีผมขอบคุณ แต่วันนี้ผมยังนึกไม่ออกว่าจะแบ่งปันผลประโยชน์อย่างไร ซึ่งตามหลักการดีผมเห็นด้วย”

 

อนึ่ง 1.ร่างพระราชบัญญัติการแบ่งปันผลประโยชน์ข้าว พ.ศ. ....(นายอนุทิน ชาญวีรกูล พรรคภูมิใจไทยกับคณะผู้เสนอ)รับฟังตั้งแต่วันที่ 3 ธันวาคม 2562 เป็นต้นไป

2.ร่างพระราชบัญญัติการแบ่งปันผลประโยชน์มันสำปะหลัง พ.ศ. .... (นายอนุทิน ชาญวีรกูล พรรคภูมิใจไทยกับคณะผู้เสนอ) รับฟังตั้งแต่วันที่ 27 ธันวาคม 2562 เป็นต้นไป

3.ร่างพระราชบัญญัติการแบ่งปันผลประโยชน์ยางพารา พ.ศ. .... (นายอนุทิน ชาญวีรกูล พรรคภูมิใจไทย กับคณะผู้เสนอ) รับฟังตั้งแต่วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2563 เป็นต้นไป