พรบ.แบ่งปันผลประโยชน์ยางพารา ใครได้-ใครเสีย

01 มี.ค. 2563 | 07:35 น.

ม.เกษตรจัดเวทีเสวนา ร่าง พ.ร.บ แบ่งปันผลประโยชน์ยางพารา พ.ศ. .... วันที่ 4 มี.ค.เล็งทำเนียบเชิญเจ้าของร่างพรรคภูมิใจไทย ร่วมวงอุตสาหกรรมยาง ใครได้ใครเสีย คำตอบสุดท้ายแก้ปัญหาราคายางได้จริงหรือ

พรบ.แบ่งปันผลประโยชน์ยางพารา ใครได้-ใครเสีย

ดร.มนต์ชัย พินิจจิตรสมุทร อาจารย์ภาควิชาเศรษฐศาสตร์เกษตรและทรัพยากร คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า ทางหน่วยวิจัยเศรษฐศาสตร์ยางพารา (REA)  จะจัดเสวนาเชิงวิชาการ “พ.ร.บ แบ่งปันผลประโยชน์ยางพารา…มิติใหม่ของระบบยางพาราไทยใครได้..ใครเสีย… ”ในวันที่ 4 มีนาคม 2563 เวลา 13:00 – 16:00 น. ห้องประชุม ชั้น 2 สถานีวิทยุ ม.เกษตรมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน

พรบ.แบ่งปันผลประโยชน์ยางพารา ใครได้-ใครเสีย

“ผมได้มีโอกาสศึกษาเรื่อง พ.ร.บ.ควบคุมยาง พ.ศ.2542 แต่จังหวะที่มี พ.ร.บ แบ่งปันผลประโยชน์ยางพารา พ.ศ. .... ออกมาร้อนแรงมาก จึงคิดว่าการที่ร่างกฎหมายดังกล่าวนี้ทับกับกฎหมายควบคุมยางที่กรมวิชาการเกษตรเป็นหน่วยงานกำกับดูแลหรือไม่  แต่คาดว่าจะไปล้ม หรือยุบ การยางแห่งประเทศไทย หรือ กยท. เพราะหากแตะองค์กรดังกล่าวนี้คงจะลุกเป็นไฟ ทางว่าสหภาพ กยท.ฯ ไม่ยอมแน่

พรบ.แบ่งปันผลประโยชน์ยางพารา ใครได้-ใครเสีย

ดร.มนต์ชัย  กล่าวว่า ร่าง พ.ร.บ.ใหม่ดังกล่าวคาดว่าจะดึงอำนาจของ ร่าง พ.ร.บ.ควบคุมยางมาอยู่กับ คณะกรรมการชุดนี้มีอำนาจมาก ผมจึงมีความสนใจจะเชิญนักวิชาการ สมาคมยางพารา สมาคมน้ำยางข้นไทย สมาคมธุรกิจไม้ยางพาราไทย แล้วถ้าเป็นไปได้อยากจะเชิญพรรคภูมิใจไทย ซึ่งเป็นผู้เสนอ ร่างฯหากมาชี้แจงและทำความเข้าใจกับร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวนี้จะดีมาก ร่างดังกล่าวกำลังเปิดรับฟังความคิดเห็นอยู่ในเว็บไซต์รัฐสภาประเมินสถานะร่างนี้คาดว่าน่าจะอยู่ในวาระ1 ยังไม่ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัตินี้

พรบ.แบ่งปันผลประโยชน์ยางพารา ใครได้-ใครเสีย

“ต้องยอมรับว่า พ.ร.บ.ควบคุมยาง ใช้มา 40 ปีแล้วไม่มีประสิทธิภาพเลยคนในวงการยางก็รู้สึกอึดอัดผมเชื่อว่าพรรคภูมิไทยก็ทราบปัญหาตรงนี้ดี แทนที่จะแก้ปัญหาโดยการแก้กฎหมาย พ.ร.บ.ควบคุมยางฯ กลับมาออกกฎหมายใหม่แทน คาดว่าเมื่อผ่านวาระ 2 และ วาระ3 อาจจะมาแนบท้ายบทเฉพาะกาลว่าจะยกเลิก พ.ร.บ.อะไรบ้าง”

พรบ.แบ่งปันผลประโยชน์ยางพารา ใครได้-ใครเสีย

ดร.มนต์ชัย กล่าวว่า ในความคิดของผมอะไรที่ดีก็อยากให้คงไว้อะไรที่ไม่ดีก็ให้ต่อเติม ก่อนหน้านี้ผมเคยคิดมานานแล้วเรื่องระบบแบ่งปันผลประโยชน์แบบอ้อยน้ำตาล เคยคุยกับ ดร.วิโรจน์ ณ ระนอง ผู้อำนวยการวิจัย ด้านสาธารณสุขและการเกษตร สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย หรือทีดีอาร์ไอ ว่าจะนำโมเดลมาใช้กับยางพาราได้หรือไม่ ซึ่ง ดร.วิโรจน์  ท่านไม่เห็นด้วย และบอกว่ายาก ผลสุดท้ายจะกลายเป็นกองหนี้อีกกองหนึ่ง หมายความว่ากองทุนอ้อยและน้ำตาลสถานะเป็นกองหนี้มากกว่ากองทุน

พรบ.แบ่งปันผลประโยชน์ยางพารา ใครได้-ใครเสีย

อย่างไรก็ดีจากการอ่านร่างกฎหมายคร่าวๆ โรงงานน่าจะเสียผลประโยชน์อาจจะจะต้องจ่าย 2 เด้ง  ได้แก่ 1.เงินจ่ายสมทบเข้ากองทุน แต่ถ้าส่งออกก็ยังคงเก็บภาษีส่งออก (เซสส์) ซึ่งปัจจุบันอัตรา 2 บาท/กก. แต่อีกด้านหนึ่งก็มองว่าเป็นผลดีกับเกษตรกรมากกว่าคาดว่าเกษตรกรคงจะคาดพอใจ