GC ชี้ปริมาณขายปีนี้โต 10%

26 ก.พ. 2563 | 11:05 น.

พีทีที โกลบอลฯ คาดปริมาณขายปีนี้โต 10% พร้อมเร่งสรุปแผนลงทุนปิโตรฯคอมเพล็กซ์สหรัฐกลางปีนี้ แย้มกำลังศึกษาลงทุนในอีอีซีเพิ่มอีกกว่า 1 แสนล้านบาท

นายคงกระพัน  อินทรแจ้ง  ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร  บริษัท  พีทีที  โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ GC เปิดเผยว่า กำลังผลิตและปริมาณขายปี 63 คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 10% จากงวดปี 62 เนื่องจากในช่วงปลายปีจะมีโครงการใหม่ในกลุ่มโอเลฟินส์ 3 แห่ง จะเปิดดำเนินการในรูปแบบเชิงพาณิชย์ ได้แก่ โครงการ ORP เป็นการขยายกำลังการผลิตผ่านการลงทุนใน Naphtha Cracker, โครงการโพรพิลีนออกไซด์ และโครงการโพลีออลส์

GC ชี้ปริมาณขายปีนี้โต 10%

                ทั้งนี้  คาดว่าธุรกิจปิโตรเคมีจะกลับมาฟื้นตัวได้เป็นปกติในช่วงครึ่งหลังของปี 63 หลังจากที่ในไตรมาส 1/63 ได้รับผลกระทบจากไวรัสโควิด-19 ซึ่งส่งผลทำให้ความต้องการสินค้าลดลง  โดยเชื่อว่าสถานการณ์ไวรัสระบาดจะคลี่คลายในช่วงปลายไตรมาส 2/63 อย่างไรก็ดี  คาดว่าส่วนต่างราคาผลิตภัณฑ์ (สเปรด)​กลุ่มอะโรเมติกส์ในผลิตภัณฑ์เบนซีนจะเพิ่มขึ้นเป็น 200 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล จากในปี62 อยู่ที่ระดับ 97เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ส่วนกลุ่มผลิตภัณฑ์โอเลฟินส์สเปรดจะอยู่ที่ระดับ 400-450 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล  ขณะที่ค่าการกลั่น (GRM)​ จะอยู่ที่ระดับ 4-5 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล เพิ่มขึ้นจากในปี 62 อยู่ที่ 3.86 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล จากมาตราการ IMO ซึ่งภาพรวมจะดีตั้งแต่ช่วงต้นปีเป็นต้นไป แต่ในช่วงไตรมาส1/63 ได้ผลกระทบจากไวรัสโควิด-19

                ด้านความคืบหน้าการลงทุนโครงการปิโตรเคมีคอมเพล็กซ์ที่สหรัฐฯนั้น  ล่าสุดอยู่ระหว่างการศึกษาข้อมูล  โดยคาดว่าจะได้ข้อสรุปกลางปีนี้  เนื่องจากอยู่ระหว่างการพิจารณาเงื่อนไขต่างๆ ของการลงทุน ซึ่งโครงการดังกล่าวมีความได้เปรียบด้านความสามารถในการแข่งขันทางด้านวัตถุดิบ โดยมีแหล่งวัตถุดิบอีเทนทำให้มีต้นทุนต่ำ ซึ่งจะมีกำลังการผลิตเอทิลีน 1.5ล้านตันต่อปี และมีกำลังผลิต HDPE/LLDPE 1.6ล้านตันต่อปี  โดยบริษัทจะใช้โรงงานที่สหรัฐฯเป็นฐานเพื่อหาโอกาสในการเข้าซื้อกิจการกลุ่มธุรกิจที่มีสินค้าเป็นแบบคุณภาพสูง อีกทั้งจะใช้เป็นการลงทุนในกลุ่มสตาร์ทอัพบริษัทพัฒนาเทคโนโลยี

                ขณะเดียวกันบริษัทมีการลงทุนเพื่อต่อยอดโครงการลงทุนและสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่อุตสาหกรรมปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายของภาครัฐในการส่งเสริมการลงทุนอุตสาหกรรมในบริเวณพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรือ EEC

นายคงกระพัน กล่าวต่อไปอีกว่า  ปัจจุบันมีการลงทุนในโครงการหลักมูลค่าการลงทุนกว่า 100,000 ล้านบาท ได้แก่ โครงการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต Olefins Reconfiguration Project (ORP) เป็นการขยายกำลังการผลิตผ่านการลงทุนใน Naphtha Cracker เพื่อเพิ่มมูลค่าเพิ่มให้กับวัตถุดิบที่บริษัทมีอยู่แล้ว ต่อยอดธุรกิจปลายน้ำในอนาคตด้วยกำลังการผลิตเอทิสีน 500,000 ตัน และโพรพิลิน 250,000 ตัน โดยอยู่ระหว่างการก่อสร้าง คาดจะเริ่มผลิตเชิงพาณิชย์ไตรมาส4/63 ซึ่งมูลค่าโครงการประมาณ 36,000 ล้านบาท

                นอกจากนี้ มีแผนจะลงทุนในพื้นที่อีอีซีเพิ่มเติมอีกวงเงิน 100,000 ล้านบาท แต่คาดจะใช้เงินลงทุนเพียง 30,000 ล้านบาท โดยปัจจุบันบริษัทมีอัตราหนี้สินต่อทุนอยู่ที่ 0.28 เท่า จึงยังทำให้บริษัทมีความสามารถในการกู้เงินอีกประมาณ 200,000 ล้านบาท

GC ชี้ปริมาณขายปีนี้โต 10%

                ส่วนโครงการร่วมลงทุนในธุรกิจเคมีภัณฑ์ชนิดพิเศษ ดำเนินการผลิตผลิตภัณฑ์พลาสติกวิศวกรรมชั้นสูงใน 2 โครงการ ได้แก่ PA9T 13,000 ต้นต่อปี และ HSBC 16,000 ตันต่อปี คาดจะเสร็จในปี 65 โดยสอดคล้องกับทิศทางการดำเนินธุรกิจของบริษัทที่ต้องการขยายธุรกิจปิโตรเคมีขั้นปลายเกรดพิเศษ เพื่อรองรับความต้องการของอุตสาหกรรมยานยนต์ และเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งดำเนินงานโดยบริษัท คุราเร่ จีซี แอดวานซ์ แมททีเรียลส์จำกัด (KGC) มูลค่าโครงการประมาณ 15,000 ล้านบาท

                “โครงการขยายกำลังการผลิตเม็ดพลาสติกโพลิเอทิลีนเทเรฟเทล (Polyethylene Terephtalate:PET)​ขยายกำลังการผลิตเป็น 200,000ตันต่อปี จากเดิมอยู่ที่ 147,000ตันต่อปี คาดจะเริ่มผลิตเชิงพาณิชย์ในช่วงครึ่งแรกของปี 64 ด้านโครงการ HMPC Line Expansion กำลังผลิตเม็ดพลาสติกโพลิโพรพิลีน 250,000ตันต่อปี จะเริ่มเชิงพาณิชย์ในครึ่งหลังปี 65

                นายคงกระพัน กล่าวต่อไปอีกว่า โครงการพลาสติกรีไซเคิล มีวัตถุประสงค์ในการนำบรรจุภัณฑ์ขวดพลาสติกที่ใช้แล้ว มาเป็นวัตถุดิบในกระบวนการ Recycle ได้เม็ดพลาสติกคุณภาพสูงระดับ Food-GradeUR Packaging-Grade โดยร่วมมือกับพันธมิตร แอลพลา (ALPLA) ผู้เชี่ยวชาญด้านการผลิตเม็ดพลาสติกรีไซเคิลคุณภาพสูงระดับโลก  โดยตั้งบริษัทร่วมทุน บริษัท เอ็นวิคโค จำกัด (ENVICCO Limited) ที่นิคมเอเชีย มาบตาพุด จังหวัดระยอง เพื่อผลิตเม็ดพลาสติกหมุนเวียนคุณภาพสูง ชนิด TPET ขนาด 30,000 ต้นต่อปี และ rHDPE ขนาด 15,000 ต้นต่อปี คาดเริ่มก่อสร้างได้ในต้นปี 63 และจะเริ่มผลิตเชิงพาณิชย์ในปี 64 มูลค่าโครงการประมาณ 2,000 ล้านบาท