“อุตตม”แจงต่อสัญญาเช่าศูนย์สิริกิต์ ตามพรบ.ร่วมทุนฯ ยุคยิ่งลักษณ์

24 ก.พ. 2563 | 11:45 น.

“อุตตม”แจงยิบต่อสัญญาเช่าศูนย์สิริกิต์ 50ปี เคร่งครัดผังเมือง เน้นผลตอบแทนประชาชน-รัฐสูงสุด ชี้จุดเริ่มต้นตาม พ.ร.บ.การให้เอกชนร่วมทุนฯ สมัยรัฐบาลยิ่งลักษณ์

 

วันที่ 24 ก.พ.63นายอุตตม สาวนายน รมว.คลัง ชี้แจงกรณีที่นายยุทธพงษ์ จรัสเสถียร ส.ส.มหาสารคาม พรรคเพื่อไทย อภิปรายถึงการแก้ไขสัญญาการให้เช่าและ บริหารพื้นที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ว่า โครงการนี้ริเริ่มมาตั้งแต่ปี2532 โดยการเจรจาและเปิดให้เอกชนเข้าลงทุน เพื่อหวังให้เป็นศูนย์กลางการประชุมและแสดงนิทรรศการนานาชาติในภูมิภาคนี้ ส่งเสริมทั้งธุรกิจการจัดการประชุม กรรแสดงนิทรรศการ และการท่องเที่ยวของประเทศ จนกระทั่งมีการลงนามในสัญญาโครงการนี้ เมื่อปี 2539 โดยมีอายุสัญญา 25 ปี นับอายุตั้งแต่การก่อสร้างโครงการเสร็จโดยใช้เวลาก่อสร้างเป็นระยะเวลา 4 ปี เป็นสัญญา 25ปี+4 หรือ 29 ปี

 

นายอุตตมกล่าวว่า ปัญหาของสัญญาเกิดขึ้นครั้งแรกเมื่อปี 2542 เมื่อกระทรวงมหาดไทยประกาศเขตผังเมืองให้ บริเวณดังกล่าวเป็นพื้นที่สีน้ําเงิน ที่ห้ามสร้างอาคารสูงเกิน 23 เมตร ทําให้กระทบต่อสัญญาที่เอกชนทํากับกรมธนารักษ์มีปัญหา เพราะในสัญญาปี 2539 ระบุว่าเอกชนต้องสร้างโรงแรม 4-5 ดาว ขนาดมีห้องพัก 400 ห้อง ที่จอดรถ 3,000 คัน พื้นที่พาณิชย์ 28,000 ตรม. เมื่อมีประกาศกระทรวงมหาดไทยเกิดขึ้น หลังสัญญาก็กระทบการก่อสร้างแนวสูงที่ไม่สมารถทําได้ เอกชนคือบริษัท บริษัท NCC management and development จํากัด จึงได้ส่งหนังสือมายังกรมธนารักษ์ เมื่อเดือน กรกฎาคม 2543 เพื่อหาทาง แก้ไขปัญหาเรื่องนี้ 

 

ต่อมาเมื่อปี 2544 กรมธนารักษ์ทําหนังสือขอคําปรึกษากับสํานักงานคณะกรรมการกฤษฏีกา เพื่อหาแนวทางปฏิบัติ ไม่ว่าจะเป็นการเลิกสัญญาหรือการแก้ไขสัญญา ซึ่งสํานักงานคณะกรรมการกฤษฏีกาได้มีหนังสือตอบกลับมาเมื่อปี 2544 ว่า หากเอกชนไม่ได้เป็นผู้กระทําผิดก็มิอาจเป็นเหตุในการบอกเลิกสัญญา ส่วนการแก้ไขสัญญา นั้นกระทําได้ แต่ต้องยึดประโยชน์ของรัฐเป็นที่ตั้ง ได้มีการแก้ไข เรื่องการไม่ต้องก่อสร้างโรงแรมในแนวสูง แต่ขยายพื้นที่ในแนวราบออกไป แต่ก็ยังเป็นปัญหาที่ยังไม่จบสิ้นกัน จนกระทั่งปี 2556 ในสมัยรัฐบาลนายกฯยิ่งลักษณ์ ชินวัตร มีการแก้ไขพ.ร.บ.การให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ ซึ่งมีการประกาศบังคับใช้ในเดือนเมษายน 2556 ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นใน การเปิดโอกาสให้มีการทบทวนโครงการที่เข้าข่ายในกฏหมายดังกล่าว โดยเปิดช่องไว้ใน มาตรา 43 ของพ.ร.บ.ดังกล่าว ให้สามารถตั้งคณะกรรมการขึ้นมาพิจารณาแก้ไขปัญหาในกรณีโครงการตาม กฏหมายนี้ที่มีปัญหา

 

“อุตตม”แจงต่อสัญญาเช่าศูนย์สิริกิต์   ตามพรบ.ร่วมทุนฯ ยุคยิ่งลักษณ์

นายอุตตมกล่าวว่าตนได้เสนอให้ทบทวนหลายโครงการหลาย เพื่อแก้ไขปัญหาหลังกฏหมายดังกล่าวประกาศบังคับใช้ อาทิ โครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง, โครงการพัฒนาพื้นที่หมอชิต รวมทั้งโครงการศูนย์การประชุมแห่งชาติ สิริกิติ์ ด้วย โดยในเดือนกันยายนในปีเดียวกัน บริษัท NCC management and development จํากัด ได้ส่งหนังสือถึง กรมธนารักษ์ เพื่อปรับแผนการลงทุนโดยข้อเสนอในปี 2556 มีการเสนอที่จะปรับปรุงสัญญาเช่าโดยขอก่อสร้างอาคารที่มีความสูงเกิน 23 เมตร เพราะมีการปรับปรุงผังเมืองใหม่แล้ว และมีการขอขยายระยะ เวลาเช่าออกไปเป็น 50ปี

 

 ดังนั้นการเสนอสัญญาเช่าออกไปจึงเริ่มต้นในตอนนั้น ต่อมากระทรวงการคลังในขณะนั้นได้ตั้งกรรมการตามมาตรา 43 แห่งการให้เอกชนร่วมลงทุนใน กิจการของรัฐขึ้นมาพิจารณา ในการพิจารณาข้อเสนอของบริษัท NCC management and development จํากัด โดยกรมธนารักษ์ได้ว่าจ้างสถาบันวิจัยและให้คําปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เพื่อศึกษาความเหมาะสมและความคุ้มค่าของโครงการขึ้นเมื่อปี 2556 ผลการศึกษายืนยันว่า มูลค่าการลงทุนกว่า 6 พันล้านบาทในขณะที่ผลตอบแทนให้กรมธนารักษ์ จํานวน 18,998.60 ล้านบาท จะมีเวลาคุ้มค่าการลงทุนที่ 47 ปี จึงเห็นว่า ระยะเวลาการใช้เช่า 50 ปี เป็นระยะ เวลาที่เหมาะสม แต่เพื่อให้สอดคล้องกับมูลค่าการลงทุนและผลตอบแทนให้รัฐ โดยทรัพย์สินทั้งหมดที่เอกชนลงทุนพัฒนา เมื่อครบสัญญาหรือเมื่อมีการบอกเลิกสัญญา หากมีการกระทําผิดสัญญา ยังตกเป็นของรัฐหรือกรมธนารักษ์ ทั้งหมด ไม่ได้เป็นของเอกชนแต่อย่างใด


 

“สิ่งที่ผมกล่าวมาทั้งหมด เพื่อทําความเข้าใจปัญหานี้ หากมีการสืบค้นประวัติที่มาตั้งแต่เริ่มสัญญาในปี2539 จนกระทั่งมีการแก้ไขสัญญาครั้งล่าสุดในปี 2560 จึงจะรู้ที่มาที่ไปของปัญหา ขออย่าหยิบแค่ท่อนเดียวหรือห้วงเวลาเดียวคือการแก้ไขสัญญาเมื่อครั้งล่าสุด แล้วทําให้เราไม่เข้าใจปัญหาทั้งหมดในเรื่องนี้”นายอุตตมกล่าว

ส่วนที่นายยุทธพงษ์กล่าวถึงกรณีหนังสือทักท้วงจากอัยการสูงสุดเมื่อปี 2556 นั้น นายอุตตม ชี้แจงว่า ล่าสุดกระทรวงการคลังได้นำร่างสัญญาฉบับสมบูรณ์เสนอให้อัยการสูงสุดพิจารณาอีกครั้ง โดยอัยการสูงสุดมีหนังสือตอบเห็นชอบร่างสัญญา เมื่อวันที่ 17 กันยายน ปี 2561 จึงเสนอให้ ครม.ให้ความเห็นชอบตามที่กระทรวงการคลังเสนอ