หวั่นศก.ไทย  เข้าภาวะ ถดถอย

24 ก.พ. 2563 | 23:00 น.

สมาคมตราสารหนี้ไทย ไม่ฟันธงเศรษฐกิจไทยจะเข้าสู่ภาวะถดถอย หลังผลตอบแทนพันธบัตรตํ่าสุดเป็นประวัติการณ์ ศูนย์วิจัยกรุงศรีชี้อีก 1-2 ไตรมาสเจอแน่ หลังผลศึกษาความน่าจะเป็นพุ่งแตะ 44% แนะกิจการที่มีสภาพคล่อง ฉวยจังหวะดอกเบี้ยตํ่าลงทุน รอจังหวะเศรษฐกิจฟื้น

 

ผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 ปีของไทยลดลงต่อเนื่องมาตั้งแต่กลางปี 2562 จนมาอยู่ที่ 1.16% ตํ่าสุดเป็นประวัติ การณ์เมื่อ 19 กุมภาพันธ์ ตามแนวโน้มเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวลงมาตั้งแต่ปีก่อน รวมถึงเศรษฐกิจไทยที่มีแนวโน้มขยายตัวตํ่ากว่าประมาณการเดิมและตํ่ากว่าศักยภาพมากขึ้น หลังการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา(COVID-19) ซึ่งหากความชันของ Yield curve ลดลงจนเกิด Inverted Yield Curve ชี้ว่า เศรษฐกิจมีความเสี่ยงที่จะเข้าสู่ภาวะถดถอย (Recession) เพราะภาวะที่ผลตอบแทนพันธบัตรระยะสั้นขยับขึ้นสูงกว่าผลตอบแทนพันธบัตรระยะยาวนั้น มักเกิดขึ้นก่อนที่เศรษฐกิจจะเป็นขาลงหรือ เศรษฐกิจถดถอย

นางสาวอริยา ติรณะประกิจ รองกรรมการผู้จัดการ สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย เปิดเผยฐานเศรษฐกิจว่า อัตราผลตอบแทนตราสารหนี้ที่ลดลงตํ่าสุดในปัจจุบันสะท้อนว่า เศรษฐกิจยังชะลอตัว ไม่ฟื้นอย่างเต็มที่จากสถานการณ์ต่างๆ ที่ยังกดดัน แต่ไม่สามารถฟันธงได้ว่า เศรษฐกิจเข้าสู่ภาวะถดถอย เพราะเป็นแค่สัญญาณบ่งชี้ไม่ 100% เหมือนในอดีตที่จะแม่นยำสูงและใช้เป็นสัญญาณในการบ่งชี้ภาวะเศรษฐกิจถดถอยได้ แต่ปัจจุบันสภาพแวดล้อมไม่เหมือนเดิม จากการที่ธนาคารกลางทั่วโลกต่างปรับลดดอกเบี้ยนโยบาย ทำให้ดอกเบี้ยระยะสั้นและยาวไม่ต่างกันมาก

หวั่นศก.ไทย  เข้าภาวะ ถดถอย

อริยา ติรณะประกิจ

เศรษฐกิจไทยยังไม่น่าเป็นห่วง จากการที่มีพื้นฐานแข็งแกร่ง ฐานะการคลังดี เงินสำรองอยู่ในระดับสูง แต่ต้องติดตามการรับมือจากการท่องเที่ยวและส่งออกลดลง เพราะเศรษฐกิจ ไทยพึ่งพา 2 ปัจจัยนี้เป็นหลักแต่มองว่าเศรษฐกิจไทยยังไปได้ หากภาครัฐจะกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านโครงการเมกะโปรเจ็กต์และหันมาพึ่งพิงปัจจัยในประเทศแทน

นายสมประวิณ มันประเสริฐ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ระบุว่า จากข้อมูลสถิติและการประเมินโดยสำนักวิจัยกรุงศรีใช้แบบจำลองคำนวณความน่าจะเป็น โดยแบบจำลองระบุไว้ เมื่อไหร่ก็ตามที่ความน่าจะเป็นแตะระดับ 40% ในอีก 1-2 ไตรมาส เศรษฐกิจมีโอกาสที่จะเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอยได้ ซึ่งเมื่อนำตัวเลขไตรมาส 4 ของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ใส่ในแบบจำลองพบว่าความน่าจะเป็นพุ่งขึ้นไปอยู่ที่ 44% แล้วซึ่งโมเดลดังกล่าว บ่งชี้ว่า ไทยมีโอกาสเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอยอีก 1-2 ไตรมาส ขณะที่ไตรมาส 4 ปี 2562 นั้นยังไม่เกิดการระบาดของไวรัสโควิด-19 ดังนั้น เศรษฐกิจไทยจึง

เผชิญความเสี่ยงที่จะเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอยแล้ว โดยภาวะเศรษฐกิจถดถอยคือ เศรษฐกิจไทยมีอัตราการเติบโตตํ่ากว่าศักยภาพในระยะยาวที่อยู่ในระดับ 3.5%

หวั่นศก.ไทย  เข้าภาวะ ถดถอย

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ภาคธุรกิจที่มีเงินทุนสะสมหรือเข้าถึงแหล่งเงิน ถือเป็นจังหวะของการลงทุนช่วงต้นทุนดอกเบี้ยตํ่าและประหยัดพลังงาน เพื่อรอการเด้งกลับของเศรษฐกิจหรือการฟื้นตัวในครึ่งปีหรือในไตรมาส 2”

นายนริศ สถาผลเดชา เจ้าหน้าที่บริหาร ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ธนาคารทหารไทยกล่าวว่า ปัจจัยหลักจากเชื้อโควิด-19 ทำให้ซัพพลายเชนไม่สามารถผลิตสินค้า เพื่อนำเข้าและส่งออกได้ โดยเฉพาะจีน ที่เป็นคู่ค้าหลักของโลกทั้งการส่งออกและนำเข้า ดังนั้นมีความเป็นไปได้สูงที่่จะเกิด recession หากซัพพลายเชนถูกกระทบ ทำให้ไม่สามารถนำสินค้าไปผลิตต่อได้

“TMB analytics มองจีดีพีไตรมาส 1 ปีนี้ติดลบ 3.3% แต่จะพลิกกลับเป็นบวกได้หรือไม่ในไตรมาส 2 ซึ่งเรามองอยู่ในช่วง 0.3-0.5% และมีโอกาส ที่่จะถดถอยได้หากจีดีพียังไม่กลับมาเป็นบวก

 

นายอมรเทพ จาวะลา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทยระบุว่าภาวะถดถอยทางเทคนิค หรือ Technical recession นั้น ปกติจะพิจารณาจากอัตราเติบโตปีต่อปีเช่น เทียบไตรมาส 4 ปี 2562 กับช่วงเดียวกันปี 2561 หรือเทียบไตรมาสต่อไตรมาสหลังปรับผลของฤดูกาลออกแล้วคือไตรมาส 4 ปี 2562 เทียบกับไตรมาส 3 ปี 2562

ภาวะถดถอยทางเทคนิคเป็นภาวะเพียงชั่วคราวในครึ่งปีแรก และยังเชื่อว่าครึ่งปีหลังเศรษฐกิจจะฟื้นเป็นรูปตัว V ด้วยการเร่งตัวของมาตรการทาง การคลัง หลังผ่านงบประมาณประจำปีได้แล้ว

หน้า 13-14 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 40 ฉบับที่ 3,551 วันที่ 23-26 กุมภาพันธ์ 2563