ยันตั้งมาตรฐานโรงงานสารเคมีไม่เอื้อประโยชน์ใคร

20 ก.พ. 2563 | 05:00 น.

“มนัญญา” เครื่องร้อนแถลงข่าวจบ รุดเดินทางไปยื่นเรื่อง “สุริยะ” ทันที เพื่อเร่งรัดให้มีการประชุมคณะกรรมการวัตถุอันตรายไฟเขียวร่างประกาศหลักเกณฑ์และวิธีการในการผลิต การนำเข้า การส่งออกฯ หลังผลโหวตเห็นด้วยขาดลอย 93.9%

ยันตั้งมาตรฐานโรงงานสารเคมีไม่เอื้อประโยชน์ใคร

วันที่ 20 ก.พ.2563 นางสาวมนัญญา ไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์  เผยว่า จากการที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้กำหนดนโยบาย และดำเนินการใช้หลักเกณฑ์ในการตรวจสอบสถานที่ผลิตวัตถุอันตรายตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง (พ.ศ. 2537) ออกตามความในพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย  พ.ศ. 2535 และประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการในการผลิต การนำเข้า การส่งออก และการมีไว้ในครอบครอง ซึ่งวัตถุอันตรายที่กรมวิชาการเกษตรเป็นผู้รับผิดชอบ พ.ศ. 2547 นั้น

ยันตั้งมาตรฐานโรงงานสารเคมีไม่เอื้อประโยชน์ใคร
เพื่อให้การผลิตและเก็บรักษาวัตถุอันตรายมีมาตรฐาน ไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และสามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ โดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5 วรรคสามและมาตรา 20 (1) แห่งพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย (ฉบับ ที่ 4) พ.ศ. 2562 มาตรา 20 (2)  และมาตรา 20/1 แห่งพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไข เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย (ฉบับที่ ...) พ.ศ. 2551

ยันตั้งมาตรฐานโรงงานสารเคมีไม่เอื้อประโยชน์ใคร

ยันตั้งมาตรฐานโรงงานสารเคมีไม่เอื้อประโยชน์ใคร

โดย กรมวิชาการเกษตร จึงได้พิจารณายกร่างประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการในการผลิต การนำเข้า การส่งออก และการมีไว้ในครอบครอง  ซึ่งวัตถุอันตรายที่กรมวิชาการเกษตรเป็นผู้รับผิดชอบ (ฉบับที่ ...) พ.ศ. ....  ขึ้น มีสาระสำคัญของร่างประกาศ คือ กำหนดให้สถานที่ผลิตวัตถุอันตรายต้องได้การรับรองระบบมาตรฐานบริหารคุณภาพ ISO 9001 ได้รับการรับรองระบบมาตรฐานการจัดการสิ่งแวดล้อม ISO 14001 และมีห้องปฏิบัติการซึ่งได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO/IEC17025 ด้านการวิเคราะห์วัตถุอันตราย จากสถาบันการตรวจรับรองมาตรฐาน โดยหน่วยงานมาตรฐานในประเทศไทย

ยันตั้งมาตรฐานโรงงานสารเคมีไม่เอื้อประโยชน์ใคร

ยกเว้นสถานที่ผลิตสารชีวภัณฑ์ และสารสกัดจากพืช สถานที่ผลิตวัตถุอันตรายที่ผู้ประกอบการได้รับอนุญาตให้ดำเนินการผลิตวัตถุอันตรายอยู่ก่อนแล้ว ให้ระยะเวลาดำเนินการปรับปรุงแก้ไขเป็นระยะเวลาอีก 2 ปี นับแต่วันที่ประกาศฉบับนี้มีผลใช้บังคับ ทั้งนี้ไม่รวมถึงสถานที่ผลิตวัตถุอันตราย ที่ผู้ประกอบการได้รับอนุญาตให้ดำเนินการผลิตวัตถุอันตรายที่ถูกจำกัดการใช้ ซึ่งในการป้องกันอันตรายผู้ปฏิบัติงานนั้น กำหนดให้มีการตรวจสุขภาพผู้ปฏิบัติงานอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง

ยันตั้งมาตรฐานโรงงานสารเคมีไม่เอื้อประโยชน์ใคร

เพื่อป้องกันอันตรายจากการมีวัตถุอันตรายสะสมอยู่ในร่างกาย ถ้าผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับวัตถุอันตรายที่มีสารประกอบในกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟสหรือคาร์บาเมต ต้องตรวจหาระดับซีรัมโคลีนเอสเตอเรสด้วย พร้อมจัดทำทะเบียนประวัติสุขภาพ  ของผู้ปฏิบัติงานและหากตรวจพบวัตถุอันตรายสะสมในร่างกายจนถึงระดับอันตราย ต้องจัดให้ผู้นั้นได้รับการรักษาหรือไปปฏิบัติงานอื่นตามความเหมาะสม

ยันตั้งมาตรฐานโรงงานสารเคมีไม่เอื้อประโยชน์ใคร

“กรมวิชาการเกษตรได้จัดทําการรับฟังความคิดเห็นต่อร่างประกาศกระทรวงผ่านทางเว็บไซต์  ของกรมระหว่างวันที่ 27 มกราคม 2563 ถึง 12 กุมภาพันธ์ 2563 รวม 15 วัน ผลการแสดงความคิดเห็น  มีผู้ให้ความเห็น 10,258 คน  เกือบทั้งหมด 9,590 คน = 93.49% เห็นด้วย มีเพียง 668 ราย(6.51 %) ไม่เห็นด้วย  

ยันตั้งมาตรฐานโรงงานสารเคมีไม่เอื้อประโยชน์ใคร

มนัญญา กล่าวว่า การจัดระเบียบครั้งนี้เพื่อผลประโยชน์ของผู้บริโภคและเกษตรกร ยืนยันว่าไม่เคยรับเงินใคร ไม่รู้จักใคร ดังนั้นไม่ทราบหรอกว่าจะมีบริษัทไหนบ้างที่มีมาตรฐานเหล่านี้อยู่แล้ว

ยันตั้งมาตรฐานโรงงานสารเคมีไม่เอื้อประโยชน์ใคร

ยืนยันว่าไม่ได้เอื้อประโยชน์อย่างที่ใครกล่าวหา หลังจากแถลงข่าวจบแล้วจะเดินทางไปกระทรวงอุตสาหกรรมเพื่อยื่นหนังสือให้นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ในฐานะประธานคณะกรรมการวัตถุอันตรายเร่งรัดในการประชุมเร็วนี้

ยันตั้งมาตรฐานโรงงานสารเคมีไม่เอื้อประโยชน์ใคร

ด้านนายฉกรรจ์ แสงรักษาวงศ์ ประธานที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า ปัจจุบันมีโรงงานที่ผลิตสารเคมีในประเทศไทย ทั้งหมด 143 โรงงาน ผู้ผลิต/ผู้นำเข้า 105 ราย จากการตรวจสอบของกรมวิชาการเกษตรผู้ประกอบการที่มีสตอก 3 สารเหลือ 44 ราย มีสต็อก 3 สารเคมี เหลือยู่ 2.2 หมื่นตัน ทุกโรงงานจะต้องได้มาตรฐาน

ยันตั้งมาตรฐานโรงงานสารเคมีไม่เอื้อประโยชน์ใคร

เมื่อร่างผ่านคณะกรรมการวัตถุอันตรายแล้ว การจำกัดการใช้สารเคมีของโรงงานที่ผลิตสารจะถูกบังคับทันที จะต้องย้อนกลับไปพิจารณามติมติคณะกรรมการวัตถุอันตรายเมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2561 ตามประกาศกระทรวงเกษตรฯ 4 ฉบับ ลงวันที่ 5 เมษายน 2562 ว่าด้วยการจำกัดการใช้พาราควอตและคลอร์ไพรีฟอสและไกลโฟเซต เพราะมติคณะกรรมการวัตถุอันตรายเมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2562 ให้แบนวัตถุอันตรายพาราควอตและคลอร์ไพริฟอสวันที่ 1 มิถุนายน 2563 ส่วนไกลโฟเซตให้จำกัดการใช้นั้นยังไม่มีผลบังคับตามกฎหมาย

ยันตั้งมาตรฐานโรงงานสารเคมีไม่เอื้อประโยชน์ใคร

ยันตั้งมาตรฐานโรงงานสารเคมีไม่เอื้อประโยชน์ใคร

ด้านเครือข่ายผู้บริโภคและตัวแทนเกษตรกร กล่าวว่า อยากให้สินค้าเกษตรทั้งผักและผลไม้ มีการระบุ แหล่งที่มาของสินค้า(Food Origin) และกระบวนการผลิตว่า มีการใช้สารเคมีอันตรายหรือไม่อย่างไร เพื่อให้ผู้บริโภคมีสิทธิเลือกและได้รับความปลอดภัยอันเป็นการคุ้มครองสิทธิอันพึงมีพึงได้ของผู้บริโภค รวมทั้งเกษตรกรที่ยังยืนยันถึงความจำเป็นในการใช้สารเคมีขอให้ระบุสินค้าเกษตรของตนว่า กระบวนการผลิตมีการใช้สารเคมีอันตรายเหล่านี้ด้วย

ยันตั้งมาตรฐานโรงงานสารเคมีไม่เอื้อประโยชน์ใคร

สอดคล้องกับผู้แทนเครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช (Thai-PAN) กล่าวว่า อยากให้ปรับปรุงฉลากของผลิตภัณฑ์อาหาร ให้ระบุสารเคมีที่ใช้ในทางการเกษตรให้ครบถ้วน เช่นเดียวกับการใช้วัตถุเจือปนอาหารตามหลักเกณฑ์การแสดงฉลากอาหารของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.)

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

1.จัดระเบียบผู้ค้าสารเคมี https://www.thansettakij.com/content/Macro_econ/420072

2.วิพากษ์ร่าง ก.เกษตร จัดระเบียบค้าสารเคมี https://www.thansettakij.com/content/Macro_econ/420384

3.สต๊อกไกลโฟเซตเหลือหมื่นตันบีบรัฐเร่งเปิดโควตานำเข้า https://www.thansettakij.com/content/Macro_econ/420409