5G ยกระดับการผลิต

15 ก.พ. 2563 | 05:10 น.

ยุคที่เทคโนโลยี ดิจิทัล ทั้งสร้าง การเปลี่ยนแปลง และทำลายล้างธุรกิจเก่า เอสซีจี เป็นอีกองค์กรที่เร่งพลิกโฉมตัวเอง จากเดิมที่เป็นผู้ผลิตสินค้า ได้นำเทคโนโลยีดิจิทัลต่างๆ เข้ามาใช้ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพธุรกิจในทุกขั้นตอน ยกระดับการผลิตสู่อุตสาหกรรม 4.0 ช่วยเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขัน

สู่อุตสาหกรรม 4.0

 

ช่วง 5 ปีที่ผ่านมา เอสซีจีได้ปรับกระบวนการทำงานและกระบวนการผลิตภายใต้แนวทาง “ดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชัน (Digital Transformation)” ด้วยการนำเทคโนโลยีดิจิทัลต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยีเครื่องจักร (Mechanization) ระบบอัตโนมัติ (Automation) เทคโนโลยีหุ่นยนต์ (Robotics) ตลอดจนเทคโนโลยีดิจิทัลอื่นๆ มาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพธุรกิจในทุกขั้นตอน เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า

5G ยกระดับการผลิต

5G ยกระดับการผลิต

ล่าสุด นำเทคโนโลยี 5G ยกระดับอุตสาหกรรม 4.0 โดยร่วมกับ เอไอเอส และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ พัฒนารถยกต้นแบบให้สามารถควบคุมผ่านระยะไกลบนเครือข่าย 5G จากเอสซีจี สำนักงานใหญ่บางซื่อ กรุงเทพฯ - โรงงานของเอสซีจี จังหวัดสระบุรี โดยผู้ควบคุมรถไม่ต้องอยู่ที่เดียวกับรถ แต่สามารถควบคุมรถให้เคลื่อนย้ายสิ่งของจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดที่ต้องการได้แบบเรียลไทม์และแม่นยำ ช่วยเพิ่มผลิตผลให้ธุรกิจสามารถต่อยอดไปสู่การฝึกอบรมพนักงานทางไกล และเพิ่มความปลอดภัยในงานที่มีความเสี่ยงสูง ซึ่งถือเป็นต้นแบบให้อุตสาหกรรมต่างๆ ในประเทศไทย สามารถนำไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ได้จริงกับธุรกิจทั้งในปัจจุบันและอนาคตอันใกล้

5G ยกระดับการผลิต

โครงการ “การพัฒนารถ Forklift ขับเคลื่อนระยะไกลด้วยเครือข่าย 5G” เริ่มดำเนินการที่โรงงานของเอสซีจีในจังหวัดสระบุรี เป็นแห่งแรก เพราะมีการเคลื่อนย้ายทั้งวัตถุดิบและสินค้าโดยใช้รถ Forklift เพื่ออำนวยความสะดวกจำนวนมาก อีกทั้งรถ Forklift ยังเป็น material mobility ที่ควบคุมได้ง่ายที่สุด ก่อนจะต่อยอดไปทดลองกับเครื่องมืออื่นๆ ในอนาคต ซึ่งการนำเครือข่าย 5G ที่มีความรวดเร็วในการตอบสนองแบบ 

5G ยกระดับการผลิต

5G ยกระดับการผลิต

เรียลไทม์ และมีความแม่นยำในการส่งผ่านข้อมูลที่จำเป็นสำหรับระบบอัตโนมัติขั้นสูงมาใช้นั้น จะช่วยตอบโจทย์ของเอสซีจี ทั้งการมีผลิตผลที่มากขึ้นเพราะพนักงานสามารถควบคุมรถจากที่ใดก็ได้ อีกทั้งยังสามารถฝึกอบรมการใช้เครื่องมือหรืออุปกรณ์ต่างๆ ให้กับพนักงานที่อยู่ในพื้นที่อื่นๆ ได้โดยไม่ต้องเดินทางไปที่หน้างาน

ทิศทางต่อไป เอสซีจีได้นำเทคโนโลยีนี้มาประยุกต์ใช้กับโรงงานปูนซีเมนต์ทุกแห่ง และยังมีการเชื่อมโยงข้อมูลตลอดห่วงโซ่อุปทาน (Supply chain) ด้วยการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้อย่างเป็นระบบ เพื่อให้ทุกคนเห็นข้อมูลที่ถูกต้องแบบเดียวกัน จึงเกิดการบริหารจัดการข้อมูลในทุกๆ ขั้นตอน และสามารถนำข้อมูลที่ได้ไปวิเคราะห์ให้เกิดประโยชน์ต่อธุรกิจ รวมทั้งตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ดีขึ้นอีกด้วย 

 

 

ล้อมกรอบ

เทคโนโลยีช่วยพลิกธุรกิจ

5G ยกระดับการผลิต

นายอรรถพงศ์ สถิตมโนธรรม ผู้อำนวยการโครงการระบบอัตโนมัติและอุตสาหกรรม 4.0 กล่าวว่า “เอสซีจี มุ่งปรับเปลี่ยนการดำเนินงานด้านต่างๆ ในทุกกลุ่มธุรกิจ ทั้งซีเมนต์และผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง แพ็กเกจจิ้ง และเคมิคัล เพื่อเพิ่มขีดความสามารถให้องค์กรเติบโตได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน โดยจัดตั้งคณะทำงานด้าน Mechanization, Automation and Robotics (MARs) และ Industry 4.0 ขึ้น ตั้งแต่ปี 2559 เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการยกระดับกระบวนการผลิตให้เป็นโรงงานอัจฉริยะ (Smart Factory) ด้วยการนำเทคโนโลยีด้าน MARs และ Industry 4.0 มาผสมผสานกัน โดยใช้เงินลงทุนกว่า 860 ล้านบาท ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2562 จนออกมาเป็นโซลูชันต่างๆ อาทิ การแจ้งเตือนเครื่องจักรก่อนการซ่อมบำรุง (Smart Maintenance) การใช้หุ่นยนต์ในห้องปฏิบัติการด้านการตรวจวัด (Smart Laboratory) การทำระบบจ่ายปูนให้ลูกค้าแบบอัตโนมัติ (Smart Dispatching) และการเชื่อมโยงข้อมูลตลอดห่วงโซ่อุปทานด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อให้ทุกคนเห็นข้อมูลเดียวกันที่ถูกต้องและนำมาวิเคราะห์ให้เกิดประโยชน์ต่อธุรกิจ รวมทั้งตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ดีขึ้น

หน้า 25 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 40 ฉบับที่ 3,548 วันที่ 13 - 15 กุมภาพันธ์ 2563

5G ยกระดับการผลิต