จับตา “เฉลิมชัย” เปิดโต๊ะเจรจาม็อบยาง

10 ก.พ. 2563 | 05:20 น.

ชำแหละถอดสูตรคำนวณประกันรายได้ยางใหม่ชงรัฐมนตรีเกษตรฯ พ่วงมาตรการควบคุมพ่อค้ากดราคาขายยางในประเทศและส่งออก ลุ้นผลเจรจาจะจบแบบไหน

จับตา “เฉลิมชัย” เปิดโต๊ะเจรจาม็อบยาง

วันที่ 10 ก.พ.2563 นายมนัส บุญพัฒน์ แกนนำกลุ่มชาวสวนยางและกลุ่มพันธมิตร เผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” จากข้อเรียกร้องของคณะผู้ชุมนุมสาธารณะของชาวสวนยางควนหนองหงส์และนาหมอบุญ เมื่อวันที่ 26 มกราคมจนถึงวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2563 เสนอนายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ข้อเรียกร้องเร่งด่วน

จับตา “เฉลิมชัย” เปิดโต๊ะเจรจาม็อบยาง

ข้อที่ 1 ขอให้มีมาตรการควบคุม ติดตามและดูแลราคายางทุกชนิดของเกษตรกร เพื่อไม่ให้ถูกพ่อค้า ผู้ส่งออกกำหนดราคาซื้อขายยางภายในประเทศอย่างไม่ยุติธรรม เช่น ราคาน้ำยางสด ราคายางแผ่นดิบ และราคายางแผ่นรมควัน เพื่อให้เกษตรกรและสถาบันเกษตรกรได้ขายยางด้วยราคาตามสภาพตลาดภายในประเทศที่เป็นจริง

จับตา “เฉลิมชัย” เปิดโต๊ะเจรจาม็อบยาง

“ข้อเสนอขอให้แต่งตั้งคณะทำงาน เพื่อศึกษาข้อมูลและนำเสนอวิธีการแก้ไขราคาตลาดยางพาราภายในประเทศที่ควรเป็นไปตามกลไกการซื้อขายของตลาดตามราคาจริง โดยให้มีตัวแทนของกลุ่มผู้ชุมนุมร่วมเป็นคณะทำงานด้วย”

จับตา “เฉลิมชัย” เปิดโต๊ะเจรจาม็อบยาง

สำหรับข้อเรียกร้องด่วนข้อที่ 2

1.ในโครงการประกันรายได้ให้คิดคำนวณราคาอ้างอิงเป็นราคากลางของชนิดน้ำยางสดที่ชาวสวนได้รับโดยไม่ให้นำเอาราคาน้ำยางสดที่ประกาศราคาโดยโรงงานน้ำยางข้นเป็นราคาอ้างอิง

จับตา “เฉลิมชัย” เปิดโต๊ะเจรจาม็อบยาง

ข้อเสนอ ให้คิดราคายางโดยลบการค่าจัดการและค่าการขนส่งจากราคาโรงงานน้ำยางข้น จำนวนกิโลกรัมละ 4.50 บาทก่อนการนำมาคำนวณเป็นราคาอ้างอิงในการประกันรายได้

จับตา “เฉลิมชัย” เปิดโต๊ะเจรจาม็อบยาง

2.ขอให้ปรับเปลี่ยนวิธีการจ่ายเงินในโครงการประกันรายได้ระยะที่ 3 ให้เป็นการจ่ายแบบครอบคลุมและทั่วถึงแทนที่จะเป็นการคำนวณเป็นราคาอ้างอิงในแต่ละชนิดยางโดยไม่ยึดเอาการประกันรายได้ด้วยตัวเลขกิโลกรัมละ 60 บาท เป็นตัวตั้งตามวาทกรรมนโยบายการหาเสียง

จับตา “เฉลิมชัย” เปิดโต๊ะเจรจาม็อบยาง

ข้อเสนอให้จ่ายเงินประกันรายได้แบบยึดหลักการครอบคลุมและทั่วถึงแก่ชาวสวนยางให้มากที่สุด โดยเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนเป็นเจ้าของสวน ผู้ทำสวน ผู้เช่า (บัตรสีเขียว) ให้จ่ายรายละ 5,000 บาท ส่วนเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนเป็นคนกรีดยาง (บัตรเขียว) ให้จ่ายรายละ 3,000 บาท และผู้ใดได้แจ้งการปลูกยางในที่ดินที่ไม่มีเอกสารสิทธิ์ (บัตรสีชมพู) ให้จ่ายรายละ 3,000 บาท ซึ่งจะได้ครอบคลุมเกษตรกรจำนวน 1.7 ล้านรายเศษ

จับตา “เฉลิมชัย” เปิดโต๊ะเจรจาม็อบยาง

โดยมีจำนวนเกษตรกรผู้ถือครองบัตรสีเขียวที่เป็นเจ้าของสวน ผู้ทำสวนและผู้เช่า จำนวน 1.1 ล้านรายคิดเป็นจำนวน (1,100,000x5,000 = 5,500) ล้านบาท เกษตรกรที่ถือครองบัตรสีเขียวที่เป็นคนกรีดยาง จำนวน 3 แสนราย คิดเป็นจำนวน (300,000x 3,000 = 900 ล้านบาท) ซึ่งใช้งบประมาณในแต่ระยะโครงการไม่เกิน 7,500 ล้านบาท

จับตา “เฉลิมชัย” เปิดโต๊ะเจรจาม็อบยาง

นายมนัส กล่าวว่า นอกจากนี้ยังมีข้อเสนอเพิ่มเติม ก็คือ 1. ให้รัฐบาลโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) ใช้กฎหมายที่มีอยู่ควบคุมการขายยางส่งออกของบริษัทผู้ค้าที่ขายยางส่งออกนอกประเทศ โดยห้ามไม่ให้ทำสัญญาขายยางล่วงหน้า 3 ถึง 6 เดือน ในราคาต่ำกว่ากิโลกรัมละ 75 บาท เพราะจะทำให้ราคายางภายในประเทศต่ำลงและเกษตรกรขายยางได้ในราคาที่ต่ำกว่าต้นทุนการผลิต รวมทั้งรัฐต้องสูญเสียงบประมาณในโครงการประกันรายได้ถึงปีละ 2.4 หมื่นล้านบาท

จับตา “เฉลิมชัย” เปิดโต๊ะเจรจาม็อบยาง

2.ขอให้เร่งเสนอกระทรวง กรม รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานราชการต่างๆ ได้นำยางไปใช้เป็นส่วนประกอบของการทำถนน การก่อสร้าง การสร้างโรงงานแปรรูปผลิตภัณฑ์ยางที่มีส่วนประกอบต่างๆ ที่มาจากส่วนผสมของยางธรรมชาติมากกว่ายางสังเคราะห์ และให้ถือเป็นวาระแห่งชาติ

จับตา “เฉลิมชัย” เปิดโต๊ะเจรจาม็อบยาง

3.ขอให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ผู้รักษาการตาม พ.ร.บ.การยางฯ ให้พิจารณากรั่นกรองบุคลากรที่เข้ามาเกี่ยวข้องในการยาง เข้ามาแอบแฝงไม่มีความรู้ความสามารถในเรื่องยางพาราอย่างแท้จริง แต่เก่งในการหยิบฉวยโอกาสเพื่อแสววงหาผลประโยชน์และตำแหน่ง

จับตา “เฉลิมชัย” เปิดโต๊ะเจรจาม็อบยาง

4. ในการศึกษาปัญหาและวิธีการแก้ไขควรมีคณะทำงานที่อยู่ในอำนาจสั่งการของรัฐมนตรี และขอให้มีตัวแทนเกษตรกรชาวสวนยางในกลุ่มผู้ชุมนุมเข้าร่วมเป็นตัวแทนคณะทำงานด้วย

 

แนบร่างรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ตรวจราชการจังหวัดพัทลุง เวลา 12.45 น. จะมีการประชุมหารือกับแกนนำชาวสวนยาง

จับตา “เฉลิมชัย” เปิดโต๊ะเจรจาม็อบยาง