กรมชลฯยันระยองมีน้ำใช้ถึง มิ.ย.นี้

08 ก.พ. 2563 | 08:28 น.

กรมชลประทาน ยืนยันปริมาณน้ำต้นทุนในพื้นที่จังหวัดระยอง มีเพียงพอใช้ไปจนถึงเดือนมิถุยายนนี้แน่นอน 

 


ดร.ทองเปลว กองจันทร์ อธิบดีกรมชลประทาน ได้ชี้แจงว่า ปัจจุบันในพื้นที่ภาคตะวันออกได้มีการจัดตั้งคณะทำงานใน KEY MAN WARROOM  ซึ่งเป็นการบูรณาการทุกภาคส่วน เพื่อร่วมกันวางแผนการใช้น้ำในเขตพื้นที่ กรมชลฯยันระยองมีน้ำใช้ถึง มิ.ย.นี้

ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) รวมไปถึงการวิเคราะห์สถานการณ์น้ำสำหรับใช้ในช่วงฤดูแล้ง และได้มีการประชุมร่วมกันทุก 15 วัน โดยมีการจัดทำแผนวิเคราะห์การใช้น้ำแจ้งให้ทุกภาคส่วนทราบอย่างทั่วถึง ปัจจุบัน(7 ก.พ. 63)ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำต่างๆในพื้นที่จังหวัดระยอง มีปริมาณน้ำใช้การได้ ดังนี้ อ่างเก็บน้ำดอกกราย 25.64     ล้าน ลบ.ม. อ่างเก็บน้ำหนองปลาไหล 21.79 ล้าน ลบ.ม. อ่างเก็บน้ำประแสร์ 78.78 ล้าน ลบ.ม. และอ่างเก็บน้ำคลองใหญ่ 5.09 ล้าน ลบ.ม. รวม 4 อ่างฯ มีปริมาณน้ำใช้การได้รวมกันประมาณ 142 ล้าน ลบ.ม. ทั้งนี้ จากการวิเคราะห์คาดว่าจะมีปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯ(Inflow) ทั้ง 4 แห่ง ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ - มิถุนายน 2563 อีกประมาณ 98 ล้าน ลบ.ม.       กรมชลฯยันระยองมีน้ำใช้ถึง มิ.ย.นี้  เมื่อรวมกับการสูบน้ำผันน้ำมาจากแม่น้ำวังโตนดจังหวัดจันทบุรีอีก 10 ล้าน ลบ.ม. จะทำให้มีปริมาณน้ำต้นทุนในพื้นที่จังหวัดระยองทั้งสิ้นประมาณ 250 ล้าน ลบ.ม.
กรมชลฯยันระยองมีน้ำใช้ถึง มิ.ย.นี้ นอกจากนี้ ยังได้กำหนดมาตรการในการประหยัดน้ำ โดยคณะทำงาน Keymsn warroom ได้ร่วมกับสถาบันน้ำและสิ่งแวดล้อมเพื่อความยั่งยืน สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย  ดำเนินการประชาสัมพันธ์ให้ภาคอุตสาหกรรม และการประปาทุกสาขา ลดการใช้น้ำลงมากกว่าร้อยละ 10 ทำให้ปัจจุบันการใช้น้ำเป็นไปตามแผนที่กรมชลประทานวางไว้ ในส่วนของบริษัท อีสวอเตอร์ฯ ยังได้เตรียมปรับปรุงระบบ-สูบกลับวัดละหารไร่ เพื่อเติมน้ำให้กับอ่างเก็บน้ำหนองปลาไหล อีกวันละ 100,000 - 150,000 ลบ.ม. รวมกับปริมาณน้ำที่คาดว่าจะไหลลงอ่างฯ ในช่วงเดือนเมษายน - มิถุนายนนี้ อีกประมาณ 50 ล้าน ลบ.ม. จึงมั่นใจได้ว่าจะมีปริมาณน้ำเพียงพอจนถึงสิ้นเดือนมิถุนายน 2563 ก่อนที่จะเข้าสู่ฤดูฝนและรอบการสูบผันน้ำใหม่อีกรอบ

กรมชลฯยันระยองมีน้ำใช้ถึง มิ.ย.นี้

กรมชลประทาน ขอยืนยันว่าในฐานะหน่วยงานที่มีภารกิจด้านการบริหารจัดการน้ำ ได้บูรณาการทำงานกับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อร่วมกันวางแผนบริหารจัดการน้ำในช่วงฤดูแล้งอย่างรัดกุม โดยมีเป้าหมายที่จะช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของราษฎรให้มีน้ำกินน้ำใช้อุปโภคบริโภค และผลิตประปาอย่างเพียงพอไม่ขาดแคลนตลอดฤดูแล้งนี้ ภายใต้เงื่อนที่ทุกภาคส่วนจะต้องร่วมใจกันใช้น้ำอย่างหยัด เพื่อให้ปริมาณน้ำต้นทุนที่มีอยู่อย่างจำกัดเพียงพอใช้ไปจนถึงต้นฤดูฝนหน้าที่จะถึงนี้