ดัน “ไบโอปาล์ม”ไทย สร้างรายได้ใหม่เกษตรกร

30 ม.ค. 2563 | 09:41 น.

 

ดัน “ไบโอปาล์ม”ไทย สร้างรายได้ใหม่เกษตรกร

วันที่ 29-30 ม.ค. 2563 ผมได้รับเชิญให้ไปบรรยายในงานสัมมนาเรื่อง “แนวทางการปรับปรุงกระบวนการในอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมันแบบครบวงจรตาม BCG Model” ที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี จัดโดยสถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตผลทางการเกษตรและอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  กลุ่มผู้ฟังเป็นเกษตรกร ข้าราชการ และผู้ประกอบการจำนวน 150 คน

 

 วันนี้ราคาผลปาล์มสดทั้งทะลายสูงขึ้น 6.59 บาทต่อกิโลกรัม(กก.) (ณ วันที่ 28 ม.ค.2563) จากราคาผลปาล์มสดเมื่อเดือนกันยายน 2562 เท่ากับ 2.79 บาทต่อ กก.

ดัน “ไบโอปาล์ม”ไทย สร้างรายได้ใหม่เกษตรกร

การที่ราคาปาล์มสดขึ้นสูงมากในช่วงนี้ขึ้นกับหลายสาเหตุ หนึ่งในนั้นคือช่วงระหว่างเดือนพฤศจิกายน ถึง กุมภาพันธ์ของปีปฎิทินเป็นช่วงที่ผลผลิตออกน้อย แต่ในช่วงไตรมาสที่ 2 ของทุกปีผลผลิตจะออกมามาก ประมาณ 4 ล้านตัน หรือ 30% ของผลผลิตปาล์มสด เฉพาะเดือนมีนาคมคาดว่าผลผลิตจะออก 9 แสนตัน  ในขณะที่ความต้องการน้ำมันปาล์มดิบเฉลี่ย 1.6 แสนตันต่อเดือน

 

นอกจากประเด็นเรื่องราคาผลปาล์มสดที่มีความผันผวนในทุกๆ ปี เกษตรกรที่เข้าร่วมสัมมนาได้แสดงความคิดเห็นว่า “เกษตรกรขนาดเล็ก (น้อยกว่า 20 ไร่)” ต้องการเงินทุนเพื่อไปขุดบ่อเก็บน้ำทำสปริงเกอร์ และให้ควบคุมลักลอบการนำเข้าน้ำมันปาล์ม “เกษตรกรขนาดกลาง (20-45 ไร่)” ต้องการช่วยเหลือในการจัดการน้ำและต้องการเครื่องมือในการวัดเปอร์เซ็นต์น้ำมันปาล์มและ “เกษตรกรขนาดใหญ่ (มากกว่า 45 ไร่)” ต้องการราคาที่มีเสถียรภาพ พ.ร.บ.น้ำมันปาล์ม มาตรฐานปาล์ม เครื่องมือวัดเปอร์เซ็นต์น้ำมัน และควบคุมการลักลอบนำเข้า

ดัน “ไบโอปาล์ม”ไทย สร้างรายได้ใหม่เกษตรกร

 

นอกจากเรื่องดังกล่าวข้างต้น หนึ่งในการพัฒนาปาล์มไทยอย่างยั่งยืนและลดต้นทุนการผลิตคือปรับเปลี่ยนและผลักดันให้การผลิตอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมันไทยเป็น “ไบโอปาล์ม (Bio Palm)” หมายความว่าในการผลิตทุกขึ้นตอนของอุตสาหกรรมสามารถนั้น มีการนำวัสดุเหลือใช้ไปแปรรูปและนำกลับมาใช้ใหม่หรือทำให้ “สิ่งเหลือใช้เป็นศูนย์ (Zero Waste)” ซึ่งเป็นไปตามแนวคิดของ “BCG” หรือ เศรษฐกิจชีวภาพ (Bio Economy : B) เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy : C) และเศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy : G)

 

ผมได้ทำการประเมินเกษตรกรสวนปาล์มที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยมีคะแนนเต็มที่ 10 คะแนนพบว่า เกษตรกรใช้ประโยชน์จากสิ่งเหลือของปาล์มเพียง 30% ที่เหลืออีก 70% ไม่นำไปใช้ประโยชน์ โดยเกษตรกรขนาดเล็กจะนำสิ่งเหลือใช้ไปใช้ประโยชน์มากกว่าเกษตรกรรายใหญ่ ในขณะที่หากคะแนน BCG 10 คะแนนพบว่าในการจัดการสวนปาล์มของเกษตรกรมีคะแนนเพียง 3 คะแนนเท่านั้น แสดงว่ามีการจัดการสวนปาล์มในระดับ “ต่ำ”  

ดัน “ไบโอปาล์ม”ไทย สร้างรายได้ใหม่เกษตรกร

 

ต้นปาล์มหนึ่งต้นเมื่อให้ผลผลิตจะมีผลพลอยได้ 7 อย่างคือ 1.ต้นปาล์มน้ำมัน  (oil palm trunks : OPT) 2. ทางใบปาล์มน้ำมัน (oil palm fronds : OPF) 3. น้ำนึ่งปาล์ม (palm oil wastewater) 4.กากปาล์มน้ำมัน (palm kernel cake : PKC) 5. เส้นใยปาล์ม (palm press fiber : PPF)  6. ทะลายปาล์ม (empty fruit brunch : EFB) 7. กะลาปาล์ม (oil palm shell)  ซึ่งทั้ง 7 ส่วนนี้สามารถนำไปแปรรูปเป็นปุ๋ยอินทรีย์แล้วสามารถนำไปปลูกต่อ หรือสามารถนำไปขาย หรือช่วยเกษตรกรในการลดต้นทุน จากการคำนวณของผมพบว่าในปี 2561 ผลพลอยได้ของปาล์มทั้ง 7 ชนิดเพิ่มจาก 13.7 ล้านตันในปี 2558 เป็น 17.3 ล้านตัน หลังจากนำไปหมักจะเหลือผลพลอยได้ที่เป็นปุ๋ยหมักเหลือ 12.5 ล้านตัน และเมื่อนำราคาปุ๋ยอินทรีย์ที่กิโลกรัมละ 5 บาท ทำให้มูลค่าผลพลอยได้ในปี 2561 มีมูลค่า 65,000 ล้านบาท

 

เมื่อคำนวณ 1 ตันของน้ำมันปาล์มดิบจะได้ผลพลอยได้ของปาล์ม 6.2 ตัน โดยแบ่งออกเป็น 4 ชนิดคือทางใบ เส้นใยและกะลา ทะลายปาล์มเปล่า และต้นปาล์ม หรือ  1 ไร่ ได้ผลพลอยได้ 2,744 ตัน ซึ่งเมื่อคำนวณเป็นรายได้พบว่าผลพลอยได้จากทางใบปาล์มทำให้เกษตรมีรายได้เพิ่มขึ้น 0.34 บาทต่อกก. เมื่อต้นทุนการผลิตของปาล์มอยู่ 3.02 บาทต่อ กก. แสดงว่า เกษตรกรมีต้นทุนอยู่ที่ 2.7 บาทต่อกก. นั้นแสดงว่าหากเกษตรกรนำผลพลอยได้ของปาล์มไปแปรูปเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม 1.จะช่วยลดต้นทุน 2.ลดขยะ และ 3.ช่วยรักษาโลกและสิ่งแวดล้อมอีกด้วย

ดัน “ไบโอปาล์ม”ไทย สร้างรายได้ใหม่เกษตรกร