ส.อ.ท.แนะออก พ.ร.ก. แก้ปัญญหางบ 63 ล่าช้า

27 ม.ค. 2563 | 10:40 น.

ประธาน ส.อ.ท. ชี้เอกชนมีความกังวลเรื่องการเบิกจ่ายงบประมาณ 63 ล่าช้า แย้มควรผลักดันหใออกได้ไม่เกินเดือนมีนาคม แนะออกเป็นพระราชกำหนด

นายสุพันธุ์  มงคลสุธี  ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า ภาคเอกชนมีความกังวลในเรื่องปัญหาการเบิกจ่ายงบประมาณปี 2563 ที่อาจจะต้องล่าช้าออกไป โดยมีความเห็นว่ารัฐจะต้องพยายามผลักดันงบประมาณให้ออกมาเร็วที่สุดภายในเดือนมีนาคมนี้  ซึ่งอาจจะออกเป็นพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) โดยงบประมาณที่หายไปมีมูลค่าการ 3 ล้านล้านบาท และในจำนวนนี้เป็นงบจัดซื้อจัดจ้างหลายแสนล้านบาท ซึ่งเงินจำนวนนี้หากเข้าไปหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจก็จะมีมูลค่านับล้านล้านบาท จะเข้ามาขับเคลื่อนเศรษฐกิจได้มาก  ขณะที่ในส่วนของภาครัฐควรจะเตรียมออกมาตรการขยายระยะเวลาชำระเงินกู้ออกไป 3-6 เดือน เพื่อช่วยยืดเวลาหายใจให้กับภาคธุรกิจ ลดภาระการจ่ายดอกเบี้ยในอัตราสูง ซึ่งหากเห็นว่าเกิดวิกฤตจะได้นำมาตรการเหล่านี้มาใช้ได้ทันที

ส.อ.ท.แนะออก พ.ร.ก. แก้ปัญญหางบ 63 ล่าช้า
                “ในภาวะที่การเบิกจ่ายงบประมาณอาจจะมีปัญหา ภาคเอกชนแต่ละรายจะต้องปรับตัวโดยการชะลอการใช้จ่าย และเร่งปรับเปลี่ยนรูปแบบสินค้า เพื่อทำตลาดได้มากขึ้น จะต้องช่วยเหลือตัวเองทุกทางให้ได้มากที่สุด

อย่างไรก็ดี  ยังได้เสนอต่อพลเอกประยุทธ์  จันทร์โอชา  นายกรัฐมนตรีในเรื่องการแก้ไขกฎระเบียบการจัดซื้อจัดจ้าง  เพื่อให้ผู้ประกอบการไทยโดยเฉพาะเอสเอ็มอีเข้าถึงมากขึ้น  ซึ่งในเรื่องดังกล่าวนี้นายกฯก็เข้าใจถึงปัญหาว่ามาตรการจัดซื้อจัดจ้างมีเพียงระบบเดียว  ในขณะที่ผู้ประกอบการมีหลากหลายทั้งรายใหญ่  และเล็ก  ดังนั้นระบบจัดซื้อจัดจ้างควรต่างกัน  แต่ที่สำคัญจะต้องมีความโปร่งใส โดยเห็นว่าควรจะมีคณะกรรมการที่มีตัวแทนของภาคเอกชนเข้าไปช่วยแก้ไขปัญหากฎระเบียบเหล่านี้  เพื่อให้ผู้ประกอบการรายเล็กเข้าถึงงานประมูลภาครัฐได้ง่ายขึ้น

ส.อ.ท.แนะออก พ.ร.ก. แก้ปัญญหางบ 63 ล่าช้า

นอกจากนี้  ส.อ.ท. ยังได้ผลักดันในเรื่องกองทุนนวัตกรรม ซึ่งจะเข้าไปคุยในรายละเอียดกับสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ในเร็วๆนี้ เพื่อหารือในรายละเอียดการตั้งกองทุนฯ โดยกองทุนฯนี้ ภาคเอกชนจะเป็นผู้ลงขันวงเงินทั้งหมดในเบื้องต้นประมาณ 1 พันล้านบาท และเป็นผู้บริหารกองทุน เพื่อใมห้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ได้เข้าถึงเงินทุนในการปรับเปลี่ยนเครื่องจักร และการพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต และการวิจัยพัฒนาสินค้า อย่างไรก็ตาม ภาครัฐควรสนับสนุนในเรื่องของการให้บริษัทที่สนับสนุนเงินเข้ากองทุนสามารถนำไปหักลดหย่อนภาษีได้ 3 เท่า เพื่อจูงใจให้บริษัทต่างๆเข้ามาลงเงินให้กับกองทุนนี้มากขึ้น