ติดตามผลิตประปาน้ำบาดาลพลังงานแสงอาทิตย์

24 ม.ค. 2563 | 12:20 น.

"สทนช."ลงพื้นที่ติดตามการเพิ่มปริมาณน้ำต้นทุนด้วยระบบประปาน้ำบาดาลเพื่อการเกษตร โดยใช้พลังงานแสงอาทิตย์พร้อมเดินหน้า SEA ลุ่มน้ำสะแกกรังหวังใช้เป็นต้นแบบ

ติดตามผลิตประปาน้ำบาดาลพลังงานแสงอาทิตย์

วันนี้ (24 มกราคม 2563) ดร.สมเกียรติ  ประจำวงษ์ เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) เผยระหว่างลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์น้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำสะแกกรัง กล่าวว่า ลุ่มน้ำสะแกกรัง มีพื้นที่ 4,911.48 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ 3 จังหวัด คือ อุทัยธานี นครสวรรค์ และกำแพงเพชร เป็นพื้นที่ที่มักประสบปัญหาอุทกภัย ภัยแล้ง และคุณภาพน้ำ ตามลักษณะทางกายภาพของลุ่มน้ำและวิถีชีวิตของชุมชนที่อาศัยอยู่ พื้นที่ตอนบน มีลักษณะเป็นพื้นที่สูงชัน มีสภาพป่าไม้อุดมสมบูรณ์ พื้นที่ตอนกลาง มีลักษณะเป็นรูปคลื่น เนื้อดินร่วนปนทรายไม่อุ้มน้ำ ทำให้พื้นดินมีความแห้งแล้ง การกัดเซาะพังทลายสูง และเกิดตะกอนทับถมจนตื้นเขินไม่สามารถระบายน้ำได้

ติดตามผลิตประปาน้ำบาดาลพลังงานแสงอาทิตย์

ตลอดจนแหล่งเก็บกักน้ำและระบบกระจายน้ำมีไม่เพียงพอ จึงมักประสบปัญหาอุทกภัยและภัยแล้งอยู่เสมอ และพื้นที่ตอนล่าง มีลักษณะเป็นที่ราบลุ่ม เป็นจุดรวมของลำน้ำสาขาต่างๆ อีกทั้งมีสิ่งกีดขวางทางน้ำ เกิดตะกอนในลำน้ำทำให้ตื้นเขิน รวมทั้งได้รับอิทธิพลจากระดับน้ำของแม่น้ำเจ้าพระยา จึงมักเกิดปัญหาอุทกภัยเป็นประจำ นอกจากนี้ ยังเกิดปัญหาน้ำเน่าเสียจากการขยายตัวของชุมชนเมือง การใช้สารเคมีในพื้นที่การเกษตร การขาดแหล่งเก็บกักน้ำในพื้นที่ด้านบนที่จะช่วยระบายน้ำมาเจือจางและผลักดันน้ำเสียในช่วงฤดูแล้ง

ติดตามผลิตประปาน้ำบาดาลพลังงานแสงอาทิตย์

ดังนั้น การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในลุ่มน้ำสะแกกรัง จะต้องพิจารณาองค์รวมเพื่อให้เกิดความสอดคล้องร่วมกันระหว่างพื้นที่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ โดยในอดีตที่ผ่านมา การวางแผนพัฒนาแหล่งน้ำของพื้นที่ลุ่มน้ำสะแกกรัง จะพิจารณาจากมุมมองของภาครัฐเป็นรายโครงการหรือเฉพาะด้าน และอาจจะขาดการพิจารณาผลกระทบต่อเนื่องที่มีต่อภาคส่วนอื่น ๆ จนส่งผลให้เกิดความไม่เข้าใจกันระหว่างหน่วยงานภาครัฐและประชาชนในพื้นที่

ติดตามผลิตประปาน้ำบาดาลพลังงานแสงอาทิตย์

สทนช. ในฐานะองค์กรหลักด้านการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำของประเทศ ได้บูรณาการแนวทางในการแก้ไขปัญหาในพื้นที่ใหม่ โดยจัดให้มีการศึกษาประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์พื้นที่ลุ่มน้ำสะแกกรัง เพื่อประเมินศักยภาพและข้อจำกัดของสิ่งแวดล้อม และแนวทางพัฒนาและบริหารจัดการน้ำที่สามารถนำไปสู่ความสมดุลและการพัฒนาอย่างยั่งยืน ทั้งในมิติของเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม มีการพิจารณาทางเลือกทั้งจากนโยบายรัฐ และความต้องการของประชาชน ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจึงเป็นทางเลือกการพัฒนาที่สะท้อนความต้องการของกลุ่มผู้มีส่วนเกี่ยวข้องได้มากที่สุด จากการศึกษาได้ผลลัพธ์ที่สำคัญ 2 ส่วน คือ

ติดตามผลิตประปาน้ำบาดาลพลังงานแสงอาทิตย์

 1. ยุทธศาสตร์การพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำสะแกกรัง โดย “มุ่งสู่การพัฒนาเกษตรพื้นถิ่นร่วมกับการพัฒนาด้านการท่องเที่ยวตามนโยบายของรัฐ” เนื่องจากจุดแข็งของวิถีชีวิต วัฒนธรรม และทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่ จะช่วยเสริมความเข้มแข็งให้แก่ระบบเกษตรพื้นถิ่น ซึ่งต้องมีการเติมเต็มระบบบริหารจัดการน้ำ และศักยภาพความอุดมสมบูรณ์ของดิน

ติดตามผลิตประปาน้ำบาดาลพลังงานแสงอาทิตย์

 2. แผนงานตามแนวทางพัฒนาลุ่มน้ำแบบบูรณาการระดับยุทธศาสตร์ แบ่งการพัฒนาเป็น 3 ระยะ สอดคล้องกับแผนการพัฒนาลุ่มน้ำที่ประชาชนมีส่วนร่วมในการกำหนด ประกอบด้วย แผนบริหารจัดการ 8 ด้าน รวมทั้งสิ้น 20 แผนงาน ซึ่งสอดคล้องกับแผนแม่บทน้ำทั้ง 6 ด้าน

ติดตามผลิตประปาน้ำบาดาลพลังงานแสงอาทิตย์

เพิ่มเติมแผนพัฒนาการท่องเที่ยวและการพัฒนาศักยภาพการผลิตสินค้าเกษตร พร้อมมาตรการเพื่อความยั่งยืน มาตรการบรรเทาผลกระทบ และมาตรการติดตามตรวจสอบ ให้หน่วยงานที่รับผิดชอบไปจัดทำแผนให้สอดคล้องกับมาตรการดังติดตามผลิตประปาน้ำบาดาลพลังงานแสงอาทิตย์