ปชป.แพแตก ภาระหนัก‘ทีมบริหาร’ หยุดเลือดไหล

22 ม.ค. 2563 | 03:25 น.

 

“พรรคประชาธิปัตย์” (ปชป.) ประสบปัญหาเลือดไหลเมื่อต้องสูญเสียทั้งอดีตแกนนำ และอดีตส..มากฝีมือคนแล้วคนเล่าในช่วงเวลาไล่เลี่ยกัน ทั้ง หมอวรงค์ เดชกิจวิกรม อดีตส..คุณภาพ มือขุดคุ้ยโครงการรับจำนำข้าวที่ย้ายบ้านไปอยู่กับ ลุงกำนัน-สุเทพ เทือกสุบรรณ แกนนำผู้ร่วมก่อตั้งพรรครวมพลังประชาชาติไทย (รปช.)

ตามด้วย นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค อดีตรมว.ยุติธรรมในรัฐบาลของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ย้ายค่ายไปอยู่กับ พลังประชารัฐ (พปชร.) เป็นกุนซือทำงาน ให้ พล..ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม และเป็น ประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญศึกษาแก้ไขรัฐธรรมนูญของสภาผู้แทนราษฎร

ล่าสุดกับการลาออกจากสมาชิกพรรคของ นายกรณ์ จาติกวณิช อดีตขุนคลัง และอดีตรองหัวหน้าพรรค ที่ส่งสัญญาณลาออกกลางงานเลี้ยงฉลองปีใหม่ของพรรค ตามไปติดๆ กับการลาออกของ นายอรรถวิชช์ สุวรรณภักดี อดีต ..กทม.นํ้าดีอีกราย เพื่อไป ร่วมจัดตั้งพรรคการเมืองใหม่กับ นายกรณ์

ปรากฏการณ์รอบนี้อาจเป็นเพียงคลื่นเล็กๆ ลูกหนึ่งที่ถาโถมเข้าใส่พรรคประชาธิปัตย์เท่านั้น เพราะหากย้อนกลับไป ในอดีตก่อนหน้านี้ ประชาธิปัตย์ สถาบันพรรคการเมืองเก่าแก่แห่งนี้เคยเผชิญกับสึนามิลูกใหญ่ทาง การเมืองมาแล้ว เมื่อมีส..เดินออกจากพรรคทีเดียว 40 คน เพื่อ ไปก่อตั้งพรรคประชาชนขึ้น

 

ปชป.แพแตก  ภาระหนัก‘ทีมบริหาร’  หยุดเลือดไหล

 

วันที่ 10 มกราคม 2530 จุดเริ่มต้นของเหตุการณ์และชื่อกลุ่ม 10 มกราที่มีนายเฉลิมพันธ์ ศรีวิกรม์ อดีตเลขาธิการพรรค เป็นหัวหน้ากลุ่ม และ นายวีระ หรือ วีระกานต์ มุสิกพงศ์ (ในปัจจุบัน) เป็นเลขาธิการ พรรค ในขณะนั้น เป็นแกนนำ พ่ายแพ้ในการชิงเก้าอี้หัวหน้าพรรค และเลขาธิการพรรค

โรงแรมเอเชีย ในการประชุมพรรคประชาธิปัตย์วันนั้นกลุ่มของนายวีระ เลขาธิการพรรค ได้เสนอชื่อของ นายเฉลิมพันธ์ ให้ขึ้นเป็นหัวหน้าพรรค ขณะที่กลุ่มของนายชวน หลีกภัย เสนอชื่อ นายพิชัย รัตตกุล เป็นหัวหน้าพรรค โดยมี ..สนั่น ขจรประศาสน์ (ยศในขณะนั้น) เป็นเลขาธิการพรรค ได้รับเลือกให้เป็นหัวหน้าพรรคและเลขาธิการพรรคในเวลาต่อมา

ความไม่พอใจในการบริหารงานของนายพิชัย ในฐานะหัวหน้าพรรค สะสมมาต่อเนื่อง เช่น กรณีที่นายพิชัย เสนอชื่อ นายพิจิตต รัตตกุล ลูกชายของตัวเองที่เพิ่งได้รับเลือกตั้งซ่อมเป็น ..กทม. ขึ้นเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และการพลังงาน ให้แทนที่นายดำรง ลัทธพิพัฒน์ ที่ถึงแก่กรรมไป ซึ่งกลุ่ม 10 มกรา เห็นว่า ไม่เหมาะสม

พรรคประชาธิปัตย์ที่เวลานั้น เป็นพรรคร่วมรัฐบาล พล..เปรม ติณสูลานนท์ เมื่อกลุ่ม 10 มกรา ไม่ยกมือโหวตสนับสนุนร่างพ...ลิขสิทธิ์และสิทธิบัตร ส่งผลให้ พล..เปรม นายกรัฐมนตรีขณะนั้นต้อง ประกาศยุบสภา กลุ่ม 10 มกรา จึงออกมาร่วมจัดตั้ง พรรคประชาชน ขึ้นในปี 2531 ผลจากครั้งนั้นทำให้พรรคประชาธิปัตย์อ่อนแอลงมาก


 

 

พรรคประชาธิปัตย์เข้าสู่รุ่งเรืองอีกครั้ง ภายใต้การนำของ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ในการเลือกตั้งปี 2550 โดย ประชาธิปัตย์ ได้รับเสียงสนับสนุนจากประชาชนมากกว่า 14 ล้านเสียง คิดเป็น 39.63% กวาดเก้าอี้ ..มาได้มากถึง 165 ที่นั่ง จากทั้งหมด 480 ที่นั่งในสภา

ความนิยมของพรรคประชาธิปัตย์เริ่มถดถอยลงโดยการเลือกตั้งปี 2554 ประชาธิปัตย์ได้ .. จำนวน 159 ที่นั่งจากทั้งหมด 500 ที่นั่งในสภา จากคะแนนเสียงทั้งหมด 11 ล้านเสียง ได้ .. ลดลงถึง 14 ที่นั่ง

 

ปชป.แพแตก  ภาระหนัก‘ทีมบริหาร’  หยุดเลือดไหล

 

ยิ่งตอกยํ้าความถดถอยของพรรคมากขึ้นเมื่อผลการเลือกตั้งทั่วไปในวันที่ 24 มีนาคม 2562 ประชาธิปัตย์ได้ 53 ที่นั่งจากส..ทั้งหมด 500 ที่นั่งในสภา ได้คะแนนเสียงรวม 3.9 ล้านเสียง จำนวนส..ลดลงไปถึง 106 ที่นั่ง จึงเป็นที่มาของคำว่าพรรคตํ่าร้อยในทันที

ในสถานการณ์ที่มีทั้งแกนนำพรรคและส..หลายรายต่างทยอยลาออกอย่างไม่เคยมีมาก่อน จึงกลายเป็นพันธกิจหนักของพรรคโดยเฉพาะอย่างยิ่ง การแก้ปัญหาในเขตพื้นที่ที่พรรคประชาธิปัตย์มีความแข็งแกร่ง

ดังเช่น พื้นที่ กทม.ที่ปัจจุบันเหลือเพียง นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ รองหัวหน้าพรรค กทม. เป็นแกนนำหลักเพียงคนเดียว รวมถึงภาระหนักหน่วงของ นายนิพนธ์ บุญญามณี รองหัวหน้าพรรคตามภารกิจ และ นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ รองหัวหน้าพรรคภาคใต้ ซึ่งดูแลฐานที่มั่นในภาคใต้ท่ามกลางกระแสความนิยมของพรรคที่อยู่ในช่วงตกตํ่าลง

เช่นเดียวกับพื้นที่ภาคอีสาน เมื่อ นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ หัวหน้าพรรค สนับสนุนทีมของ นายไชยยศ จิรเมธากร ลงแข่งขันจนชนะโหวตได้นั่งเป็น รองหัวหน้าพรรคภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แทนที่จะให้ นายอิสระ สมชัย ซึ่งดูแลพื้นที่ภาคอีสาน มานาน กลับให้มานั่งเป็น รองเลขาธิการหัวหน้าพรรคแทน

 

ปชป.แพแตก  ภาระหนัก‘ทีมบริหาร’  หยุดเลือดไหล

 

 

อย่างไรก็ดี พรรคประชาธิปัตย์ยังมีแกนหลักและคีย์แมนคนสำคัญๆ อยู่อีกไม่น้อย ไม่ว่าจะเป็นนายชวน หลีกภัย นายบัญญัติ บรรทัดฐาน นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายจุติ ไกรฤกษ์ นายเกียรติ สิทธีอมร และ นายปริญญ์ พานิชภักดิ์ เป็นต้น

ขณะที่เมื่อดูจากโครง สร้างกรรมการบริหารพรรคชุดปัจจุบันที่มี อาทิ นายอลงกรณ์ พลบุตร รองหัว หน้าพรรคตามภารกิจ ดร.คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รองหัวหน้าพรรคตามภารกิจ ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์ รองหัวหน้าพรรคตามภารกิจ นายนราพัฒน์ แก้วทองรองหัวหน้าพรรคภาคเหนือ ก็ยังต้องทำงานกันอย่างหนักและเหนื่อยเป็นทบทวี

วันนี้พรรคประชาธิปัตย์นอกจากจะต้องหยุดเลือดไหลออกให้ได้แล้ว ยังต้องผนึกกำลังและวางยุทธศาสตร์พรรคเพื่อรับศึกเลือกตั้งท้องถิ่นที่กำลังจะ เกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้นี้ หลังจากที่ร่าง ...งบประมาณรายจ่ายปี 2563 ประกาศใช้

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เก้าอี้พ่อเมืองกทม.ที่พรรคประชาธิปัตย์ ครองแชมป์ติดต่อกันมาหลายสมัย จะสะท้อนถึงความนิยมของคนกรุงที่มีต่อพรรคเก่าแก่แห่งนี้ได้

 

หน้า 14 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 40 ฉบับที่ 3,542 วันที่ 23-25 มกราคม 2563