ภาคเหนือ-อีสาน ช้ำหนัก เผชิญทั้งภัยแล้งและฝุ่นพิษ 

19 ม.ค. 2563 | 03:31 น.

ศูนย์เตือนภัย ออกรายงานสาธารณภัย พบภาคเหนือ กลาง อีสาน เผชิญทั้งภาวะภัยแล้งและฝุ่น PM2.5

 

ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ ออกรายงานแจ้งข่าว แจ้งเตือนสาธารณภัย ประจําวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2563 เวลา 08.00 น. ระบุถึงสถานการณ์ภัยแล้ง ภาพรวมสถานการณ์ฝนของประเทศไทยที่มีค่าน้อยกว่าเกณฑ์ปกติ ทําให้ปริมาณน้ำในเขื่อนใหญ่และอ่างเก็บน้ํามีระดับน้ําน้อยในขั้นวิกฤติ (น้อยกว่าหรือเท่ากับ 30%ของความจุอ่าง) จํานวน 12 แห่ง ภาคเหนือ จ.เชียงใหม่ (แม่กวงอุดมธารา) จ.ลําปาง (แม่มอก) จ.อุทัยธานี (ทับเสลา) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.ชัยภูมิ (จุฬาภรณ์) จ.ขอนแก่น (อุบลรัตน์) จ.นครราชสีมา (ลําพระเพลิง และลําแซะ) จ.บุรีรัมย์ (ลํานางรอง) ภาคกลาง จ.สุพรรณบุรี (กระเสียว) จ.ลพบุรี (ป่าสักชลสิทธิ์) จ.ฉะเชิงเทรา (คลองสียัด) และ จ.ระยอง (หนองปลาไหล)

ปัจจุบันมีจังหวัดที่ประกาศเป็น “พื้นที่ประสบภัยแล้ง” จํานวน 20 จังหวัด ภาคเหนือ จ.เชียงราย 14 อำเภอ  จ.น่าน  2 อำเภอ จ.พะเยา  5 อำเภอ  จ.เพชรบูรณ์ 6 อำเภอ จ.อุตรดิตถ์ 4 อำเภอ จ.สุโขทัย  4 อำเภอ จ.นครสวรรค์ 5 อำเภอ อุทัยธานี  8 อำเภอ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.นครพนม 1 อำเภอ  จ.มหาสารคาม 7 อำเภอ  จ.บึงกาฬ 4 อำเภอ  จ.หนองคาย 8 อำเภอ  จ.บุรีรัมย์ 7 อำเภอ จ.กาฬสินธุ์ 1 อำเภอ จ.นครราชสีมา 5 อำเภอ จ.สกลนคร 8 อำเภอ  และภาคกลาง จ.ชัยนาท 4 อำเภอ จ.กาญจนบุรี 6 อำเภอ จ.สุพรรณบุรี 4 อำเภอ และ จ.ฉะเชิงเทรา 2 อำเภอ 

ทั้งนี้ ในช่วงฤดูร้อนของประเทศไทยซึ่งมีปริมาณฝนน้อย ทําให้พื้นที่ภัยแล้งจะขยายพื้นที่เป็นวงกว้าง โดยเฉพาะภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง

ส่วนสถานการณ์คุณภาพอากาศ ศูนย์เตือนภัยฯ ระบุว่า บริเวณความกดอากาศสูงที่แผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยในระยะนี้ ทําให้อากาศนิ่งและจมตัว อาจจะเกิดการสะสมของฝุ่นละออง เพิ่มมากขึ้น สารมลพิษทางอากาศที่ตรวจพบเกินมาตรฐาน ได้แก่ ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน ภาคเหนือ ที่ จ.ลําปาง อ.เมือง ภาคกลาง จ.กาญจนบุรี อ.เมือง กรุงเทพมหานคร เขตบางคอแหลม และเขตพระนคร

ส่วนระดับเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ (ค่า PM 51-90 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร ที่ภาคเหนือ จ.เชียงใหม่ อ.เมือง จ.ลําปาง อ.แม่เมาะ จ.ลําพูน อ.เมือง จ.น่าน อ.เมือง จ.แพร่ อ.เมือง จ.พะเยา อ.เมือง จ.ตาก อ.แม่สอด จ.นครสวรรค์ อ.เมือง 

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.เลย อ.เมือง จ.ขอนแก่น อ.เมือง จ.นครราชสีมา อ.เมือง ภาคกลาง จ.สระบุรี อ.เมือง อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.ราชบุรี อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี อ.เมือง จ.พระนครศรีอยุธยา อ.พระนครศรีอยุธยา จ.ปทุมธานี อ.คลองหลวง จ.นนทบุรี อ.บางกรวย อ.ปากเกร็ด จ.นครปฐม อ.เมือง จ.ปราจีนบุรี อ.ศรีมหาโพธิ จ.สระแก้ว อ.อรัญประเทศ จ.ฉะเชิงเทรา อ.แปลงยาว จ.ชลบุรี อ.เมือง อ.ศรีราชา จ.ระยอง อ.เมือง อ.ปลวกแดง จ.สมุทรปราการ อ.เมือง อ.พระประแดง จ.สมุทรสาคร อ.กระทุ่มแบน 

กรุงเทพมหานคร เขตธนบุรี บางขุนเทียน บางนา ดินแดง ยานนาวา ปทุมวัน วังทองหลาง พญาไท ราษฎร์บูรณะ ราชเทวี บึงกุ่ม คลองสามวา บางพลัด ป้อมปราบศัตรูพ่าย สัมพันธวงศ์ บางรัก สาทร วัฒนา สวนหลวง จตุจักร ดอนเมือง สายไหม บางกะปิ ลาดกระบัง คลองสาน บางกอกน้อย ภาษีเจริญ ห้วยขวาง คลองเตย บางซื่อ ลาดพร้าว หลักสี่ และเขตบางเขน (ข้อมูลวันที่ 19 ม.ค. 63 เวลา 05.00 น.)

ขอให้ประชาชนติดตามข้อมูลสภาวะอากาศและข่าวสารจากทางราชการ ประชาชนในพื้นที่ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ขอให้ดูแลสุขภาพ ทําให้ร่างกายอบอุ่นตลอดเวลา เนื่องจากอากาศที่หนาวเย็น และระวังอันตรายจากอัคคีภัยในการก่อไฟให้ความอบอุ่น ระวังการสัญจรผ่านบริเวณที่มีหมอก พื้นที่ที่มีสถานการณ์ภัยแล้ง ขอให้วางแผนการใช้น้ําสําหรับการอุปโภค บริโภคอย่างประหยัด เกษตรกรควรวางแผนเพาะปลูกพืชและการใช้น้ําอย่างเพียงพอ ประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากการผลิตน้ําประปา ควรใช้น้ําอย่างประหยัดเท่าที่จําเป็น ผู้ที่มีโรคประจําตัว เช่น ป่วยโรคทางสมอง ไต หัวใจ เบาหวาน ผู้สูงอายุ เด็ก ควรบริโภคตามคําแนะนําของกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข และพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากสารมลพิษทางอากาศควรลดระยะเวลาการทํากิจกรรมกลางแจ้ง และใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเองหากมีความจําเป็น เช่น หน้ากากอนามัย และถ้ามีอาการ ทางสุขภาพ ควรปรึกษาแพทย์

นอกจากนี้ ศูนย์เตือนภัย ยังแจ้งข่าว ระบุว่า ลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมภาคกลางทําให้มีฝนฟ้าคะนอง สําหรับลมตะวันออกที่พัดปกคลุมภาคใต้และอ่าวไทยตอนล่างมีกําลังแรงขึ้น ทําให้มีฝนตกบางพื้นที่ บริเวณ จ.สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยตั้งแต่ จ.นครศรีธรรมราชขึ้นมาและทะเลอันดามันมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร คลื่นลมตั้งแต่ จ.สงขลาลงไป มีคลื่นสูงประมาณ 1-2เมตร

การคาดการณ์สาธารณภัยในระยะ 1-3วัน เฝ้าระวัง วันที่ 20-22  ม.ค. 63 บริเวณความกดอากาศสูงกําลังปานกลางจะแผ่ลงมาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบกับลมตะวันตกในระดับบนพัดปกคลุม ภาคเหนือ ทําให้ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีอากาศเย็นถึงหนาว บริเวณยอดดอยและยอดภูมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด สําหรับลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมภาคกลาง ทําให้มีฝนบางพื้นที่ ส่วนภาคใต้มีฝนเพิ่มขึ้นเล็กน้อย สําหรับคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยตอนล่างมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

สถานการณ์น้ําในอ่างเก็บน้ําที่มีปริมาณน้ําน้อย (น้อยกว่าหรือเท่ากับ 30%ของความจุอ่าง) จํานวน 12 แห่ง ในพื้นที่ 11 จังหวัด ได้แก่ จ.เชียงใหม่ ลําปาง อุทัยธานี ชัยภูมิ ขอนแก่น นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุพรรณบุรี ลพบุรี ฉะเชิงเทรา และระยอง อาจเกิดภาวะน้ําน้อยหรือขาดแคลนน้ําในพื้นที่เกี่ยวเนื่องได้

พื้นที่ภาคเหนือ ภาคตะวันออกฉียงเหนือ ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ยังคงต้องเฝ้าระวังผลกระทบจากสารมลพิษทางอากาศอย่างต่อเนื่อง

พื้นที่ที่มีสถานการณ์ภัยแล้ง ขอให้วางแผนการใช้น้ําสําหรับการอุปโภค บริโภคอย่างประหยัด เกษตรกรควรวางแผนเพาะปลูกพืชและการใช้น้ําอย่างเพียงพอ และพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากสารมลพิษทางอากาศควรลดระยะเวลาการทํากิจกรรมกลางแจ้งและใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเองหากมีความจําเป็น เช่น หน้ากากอนามัย และถ้ามีอาการ ทางสุขภาพ ควรปรึกษาแพทย์

ภาคเหนือ-อีสาน ช้ำหนัก เผชิญทั้งภัยแล้งและฝุ่นพิษ 

ภาคเหนือ-อีสาน ช้ำหนัก เผชิญทั้งภัยแล้งและฝุ่นพิษ