แล้งพ่นพิษโรงสีผวาไม่มีข้าวขาย

17 ม.ค. 2563 | 07:25 น.

ธุรกิจโรงสี 3 แสนล้านระส่ำ หลังภัยแล้งวิกฤติหนัก รัฐส่งสัญญาณเข้มห้ามชาวนาปลูกข้าวหวั่นไม่มีข้าวขาย ชิ่งกระทบ 6 เดือนยังไม่ได้เดินเครื่อง ซ้ำยังแบกต้นทุนอื้อทั้งค่าแรงงาน ค่าใช้จ่ายประจำเดือน

แล้งพ่นพิษโรงสีผวาไม่มีข้าวขาย

นายเกรียงศักดิ์ ตาปนานนท์ นายกสมาคมโรงสีข้าวไทย เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ"ว่า  ปีนี้ประเทศไทยถือว่าแล้งเร็วกว่าทุกๆปี   คือแล้งตั้งแต่ต้นปีทำให้เกษตรกรไม่สามารถทำนาปรังครั้งที่ 1 ได้อย่างปกติ ทำให้พื้นที่การทำนาลดลงจาก 11-12 ล้านไร่ ผลผลิตจากประมาณ 7-8 ล้านตันข้าวเปลือก ลดลงกว่าครึ่งหรือประมาณ 60-70% จากปีปกติ  ซึ่งปัญหาภัยแล้งในอดีตที่ผ่านๆมาคือจะเริ่มแล้งก็ต่อเมื่อผ่านพ้นฤดูนาปรังรอบแรกไปแล้ว

แล้งพ่นพิษโรงสีผวาไม่มีข้าวขาย

แต่ในปีนี้นั้นค่อนข้างรุนแรงคือแล้งตั้งแต่ต้นปีและหากเดือนมีนาคมและเมษายนที่จะเริ่มทำนาปรังฤดูที่ 2 ในพื้นที่ลุ่มภาคกลาง และภาคเหนือบางส่วน ถ้ายังไม่มีน้ำจากเขื่อนชุดสุดท้ายก่อนที่จะเข้าสู่ฤดูฝนสำหรับทำนาอีกรอบอย่างเพียงพอ ก็จะส่งผลให้ช่วงเดือน สิงหาคมและกันยายน ผลผลิตข้าวของไทยจะหายไปอีก

แล้งพ่นพิษโรงสีผวาไม่มีข้าวขาย

หากสถานการณ์เป็นเช่นที่กล่าวข้างต้น ฝนฟ้าไม่ช่วย ภาพรวมการส่งออกปีนี้คงจะไม่ถึง 8 ล้านตันข้าวสาร แต่น่าจะอยู่ที่ประมาณ 7 ล้านตันข้าวสารเท่านั้นหรืออาจจะต่ำกว่า แต่เรื่องที่น่าเป็นห่วงคือเกษตรกรจะขาดรายได้ไปถึง 2 ฤดูนาปรัง อีกทั้งนาปีที่ผ่านมาก็ได้รับผลกระทบจากภัยธรรมชาติอีกด้วย

แล้งพ่นพิษโรงสีผวาไม่มีข้าวขาย

บวกกับสถานการณ์ที่ทางโรงสีไม่มีผลผลิตข้าวเปลือกเข้ามาป้อนก็จะมีผลกระทบต่ออุตสาหกรรมโรงสีเช่นที่ต้องแบกภาระค่าใช้จ่ายเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นค่าแรงงาน ต้นทุนการเงิน และค่าใช้จ่ายอื่นๆที่ต้องจ่ายประจำทุกเดือน เป็นต้น ไม่ต่ำกว่า 6 เดือน ซึ่งจะเห็นได้ว่าสถานการณ์ราคาข้าวเหนียวที่ปรับตัวสูงขึ้นก่อน และทุกอย่างอาจจะปรับตัวตาม

แล้งพ่นพิษโรงสีผวาไม่มีข้าวขาย

ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับกำลังซื้อจากต่างประเทศที่จะมีเข้ามา และจังหวะการซื้อขายของผู้ส่งออกกับโรงสี ร่วมถึงผู้ค้าจำหน่ายภายในประเทศ ซึ่งหากกำลังซื้อมีเข้ามาอย่างต่อเนื่องราคาก็จะปรับตัวอย่างรวดเร็ว แต่ถ้ากำลังซื้อไม่ต่อเนื่องอย่างที่คาดราคาก็อาจจะค่อยๆปรับตัวขึ้นอย่างช้าๆในหลายชนิดข้าว

แล้งพ่นพิษโรงสีผวาไม่มีข้าวขาย

อนึ่ง ธุรกิจโรงสีมีวงเงินหมุนเวียนกว่าปีละ 3แสนล้านบาท